กาฬสินธุ์- สาธารณสุขกาฬสินธุ์เตือนประชาชน ระวังไข้เลือดออกและโรคฉีหนูในช่วงหน้าฝนหลังพบพบผู้ป่วยแล้ว 396 ราย เสียชีวิต 1 ราย ขณะที่โรคฉี่หนูพบผู้ป่วยแล้ว 160 ราย เสียชีวิตแล้ว 7 รายพร้อมระดมเข้มอสม.กว่า 1.8 หมื่นคนทั่วประเทศออกให้ความรู้ เพื่อใช้ชีวิตปลอดภัยโรคทุกหมู่บ้าน
นายแพทย์ พิสิทธิ์ เอื้อวงศ์กูล นายแพทย์สาธารณสุข จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า ในช่วงฤดูฝนทุกๆ ปี มักมีการระบาดของโรคไข้เลือดออก ซึ่งไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี โดยมียุงลายเป็นพาหะ ซึ่งพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ จากข้อมูลของงานระบาดวิทยากลุ่มงานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุข จ.กาฬสินธุ์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 จากถึงวันที่ 7 กันยายน 2552 พบผู้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกแล้ว 396 ราย เสียชีวิตแล้ว 1 ราย ซึ่งเป็นเด็กอายุ 7 ปี อยู่ในพื้นที่ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์
ทั้งนี้ หลังพบผู้เสียชีวิตได้ส่งเจ้าหน้าที่ทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วออกดำเนินการควบคุมโรคโดยการใส่ทรายอะเบท พร้อมทั้งออกพ่นหมอกควัน เพื่อกำจัดยุงลายในหมู่บ้านแล้ว สำหรับพื้นที่ที่พบผู้ป่วยมากที่สุดคือพื้นที่ อ.เขาวง รองลงมาคือ อ.กมลาไสย และ อ.ฆ้องชัย
นายแพทย์ พิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า แนวทางการป้องกันและควบคุมโรคนั้น ทางสำนักงานสาธารณสุขจ.กาฬสินธุ์ได้จัดให้มีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัว การป้องกัน และการควบคุมโรคให้กับ อสม.ซึ่งมีทั้งหมดกว่า 18,000 คนทั่ว จ.กาฬสินธุ์ เพื่อให้นำความรู้ไปเผยแพร่ต่อกับเพื่อบ้าน โดยเฉพาะการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
นอกจากนี้ ยังตั้งทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว เพื่อออกไปควบคุมโรคหากเกิดการระบาด และยังได้กำชับให้โรงพยาบาลประจำอำเภอ และสถานีอนามัยทุกแห่งช่วยกันประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนได้ตระหนักถึงอันตรายของโรค ซึ่งหากประชาชนพบบุตรหลานของตัวเองมีอาการซึม อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง กระหายน้ำ เลือดกำเดาไหล หน้าแดง เบื่ออาหารให้รีบนำตัวมาพบแพทย์ทันที
นายแพทย์พิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า สำหรับสถานการณ์ของโรคเลปโตสไปโรซีสหรือโรคฉี่หนูในช่วงนี้ในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ มักพบผู้ป่วยจำนวนมาก และมากที่สุดในภาคอีสาน ซึ่งถือเป็นโรคประจำถิ่นไปแล้ว เนื่องจากพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ ค่อนข้างมากน้ำท่วมขังตลอดทั้งปี จากข้อมูลขณะนี้พบผู้ป่วยแล้ว 160 ราย จากข้อมูลอย่างเป็นทางการมีผู้เสียแล้ว 3 ราย และข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการซึ่งอยู่ระหว่างการยืนยันอีก 4 ราย รวมเสียชีวิต 7 ราย
อย่างไรก็ตาม อยากฝากเตือนประชาชนควรสวมรองเท้า หรือถุงมือที่ป้องกันการเกิดแผล เพราะหากเป็นแผลจะทำให้ติดเชื้อง่าย และหากเป็นแผลควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำ ดินเปียกชื้น โคลน ซึ่งหากจำเป็นควรสมรองเท้าบูตและถุงมือขณะทำงานในไร่นา ไม่ควรแช่น้ำนานเกิน 6 ชั่วโมง และเมื่อกลับจากทำงานในไร่นาให้อาบน้ำและล้างมือทันที ทั้งนี้ เมื่อมีอาการไข้ ปวดศรีษะ ปวดกล้ามเนื้อ ตาแดง ให้เดินทางไปพบแพทย์ทันที
นายแพทย์ พิสิทธิ์ เอื้อวงศ์กูล นายแพทย์สาธารณสุข จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า ในช่วงฤดูฝนทุกๆ ปี มักมีการระบาดของโรคไข้เลือดออก ซึ่งไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี โดยมียุงลายเป็นพาหะ ซึ่งพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ จากข้อมูลของงานระบาดวิทยากลุ่มงานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุข จ.กาฬสินธุ์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 จากถึงวันที่ 7 กันยายน 2552 พบผู้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกแล้ว 396 ราย เสียชีวิตแล้ว 1 ราย ซึ่งเป็นเด็กอายุ 7 ปี อยู่ในพื้นที่ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์
ทั้งนี้ หลังพบผู้เสียชีวิตได้ส่งเจ้าหน้าที่ทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วออกดำเนินการควบคุมโรคโดยการใส่ทรายอะเบท พร้อมทั้งออกพ่นหมอกควัน เพื่อกำจัดยุงลายในหมู่บ้านแล้ว สำหรับพื้นที่ที่พบผู้ป่วยมากที่สุดคือพื้นที่ อ.เขาวง รองลงมาคือ อ.กมลาไสย และ อ.ฆ้องชัย
นายแพทย์ พิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า แนวทางการป้องกันและควบคุมโรคนั้น ทางสำนักงานสาธารณสุขจ.กาฬสินธุ์ได้จัดให้มีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัว การป้องกัน และการควบคุมโรคให้กับ อสม.ซึ่งมีทั้งหมดกว่า 18,000 คนทั่ว จ.กาฬสินธุ์ เพื่อให้นำความรู้ไปเผยแพร่ต่อกับเพื่อบ้าน โดยเฉพาะการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
นอกจากนี้ ยังตั้งทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว เพื่อออกไปควบคุมโรคหากเกิดการระบาด และยังได้กำชับให้โรงพยาบาลประจำอำเภอ และสถานีอนามัยทุกแห่งช่วยกันประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนได้ตระหนักถึงอันตรายของโรค ซึ่งหากประชาชนพบบุตรหลานของตัวเองมีอาการซึม อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง กระหายน้ำ เลือดกำเดาไหล หน้าแดง เบื่ออาหารให้รีบนำตัวมาพบแพทย์ทันที
นายแพทย์พิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า สำหรับสถานการณ์ของโรคเลปโตสไปโรซีสหรือโรคฉี่หนูในช่วงนี้ในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ มักพบผู้ป่วยจำนวนมาก และมากที่สุดในภาคอีสาน ซึ่งถือเป็นโรคประจำถิ่นไปแล้ว เนื่องจากพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ ค่อนข้างมากน้ำท่วมขังตลอดทั้งปี จากข้อมูลขณะนี้พบผู้ป่วยแล้ว 160 ราย จากข้อมูลอย่างเป็นทางการมีผู้เสียแล้ว 3 ราย และข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการซึ่งอยู่ระหว่างการยืนยันอีก 4 ราย รวมเสียชีวิต 7 ราย
อย่างไรก็ตาม อยากฝากเตือนประชาชนควรสวมรองเท้า หรือถุงมือที่ป้องกันการเกิดแผล เพราะหากเป็นแผลจะทำให้ติดเชื้อง่าย และหากเป็นแผลควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำ ดินเปียกชื้น โคลน ซึ่งหากจำเป็นควรสมรองเท้าบูตและถุงมือขณะทำงานในไร่นา ไม่ควรแช่น้ำนานเกิน 6 ชั่วโมง และเมื่อกลับจากทำงานในไร่นาให้อาบน้ำและล้างมือทันที ทั้งนี้ เมื่อมีอาการไข้ ปวดศรีษะ ปวดกล้ามเนื้อ ตาแดง ให้เดินทางไปพบแพทย์ทันที