แม่ฮ่องสอน – หอการค้าฯ แม่ฮ่องสอน เตรียมเปิดเวทีสัมมนาการค้าไทย-พม่า 16-19 ก.ย.นี้ ดึงตัวแทนรัฐ-เอกชนทั้ง 2 ประเทศตลอดแนวพรมแดนร่วมถกทิศทางการพัฒนาในอนาคต หวังช่วยดันเปิดด่านถาวรแห่งที่ 4 ขึ้น
นายสุพจน์ กลิ่นปราณีต ประธานหอการค้าจังหวัดแม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า หอการค้าจังหวัดฯ มีโครงการจัดสัมมนาสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับพม่า เพื่อเปิดประตูการค้าไปสู่ประเทศที่สาม ขึ้นระหว่างวันที่ 16 – 19 กันยายน 2552 ที่โรงแรมโกลเด้นปาย รีสอร์ท ต.ปางหมู อ.เมืองแม่ฮ่องสอน โดยเชิญฝ่ายพม่าประกอบไปด้วย ผู้อำนวยการสำนักการค้าชายแดน กระทรวงพาณิชย์ของพม่า ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ของพม่า 1 คน ประธานสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติของพม่า นักธุรกิจจากกรุงย่างกุ้ง 3 คน นักธุรกิจจากเมืองลอยก่อ 3 คน นักธุรกิจจากเมืองมัณฑะเลย์ 3 คน และตัวแทนทูตพาณิชย์
ส่วนฝ่ายไทยประกอบไปด้วยนิติกรผู้เชี่ยวชาญด้านชายแดนจากกรุมศุลกากร ผู้แทนกองกิจการระหว่างประเทศ สำนักปลัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งดูแลพื้นที่ชายแดน ผู้แทนกรมการค้าระหว่างประเทศ ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนสภาความมั่นคงแห่งชาติ ทูตพาณิชย์ประจำประเทศไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประธานหอการค้าจังหวัดแม่ฮ่องสอน -เชียงราย -ตาก -ระนอง และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน และนักธุรกิจไทย
เพื่อร่วมหาแนวทางพัฒนาการค้าชายแดนด้านจังหวัดแม่ฮ่องสอนกับประเทศพม่า โดยจะนำคณะทั้งสองฝ่าย (ไทย-พม่ ) เข้าไปสังเกตการณ์ในพื้นที่การค้าชายแดนเฉพาะช่องทางการค้าผ่านจุดผ่อนปรน 4 แห่ง คือ 1.ด่านศุลกากรบ้านน้ำเพียงดิน ต.ผาบ่อง อ.เมืองแม่ฮ่องสอน - บ้านน้ำคำ ผาห่มน้ำ รัฐคะยา ประเทศพม่า 2.จุดผ่อนปรนบ้านห้วยต้นนุ่น ต.แม่เงา อ.ขุนยวม - บ้านน้ำมาง รัฐคะยา ประเทศพม่า 3.จุดผ่อนปรนบ้านเสาหิน ต.เสาหิน อ.แม่สะเรียง - อำเภอแม่แจ๊ะ รัฐคะยา ประเทศพม่า และ 4.จุดผ่อนปรนท่าข้ามน้ำสาละวินบ้านแม่สามแลบ ต.แม่สามแลบ อ.สยเมย จ.แม่ฮ่องสอน
เขาหวังว่า หลังการดูพื้นที่แล้ว ตัวแทนส่วนราชการ – เอกชน ทั้งฝ่ายไทยและพม่า จะหาทางแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เพื่อให้การค้าชายแดนระหว่างไทยกับพม่าเป็นรูปธรรมและชัดเจน และก้าวไปสู่ความร่วมมือในการยกระดับจุดผ่อนปรนทางการค้าจังหวัด เป็นด่านถาวรระหว่างไทยกับพม่า แห่งที่ 4 นอกเหนือจากด่านแม่สาย ด่านแม่สอด และด่านระนอง
ทั้งนี้ได้เปิดโอกาสให้หารือกับฝ่ายราชการพม่า เพื่อทราบสถานการณ์ ปัญหาอุปสรรและโอกาศการค้าและการลงทุน อันนำไปสู่การหารือในเวทีการเจรจาระหว่างประเทศไทยกับพม่า ในการร่วมมืออย่างจริงจังเพื่อหาแนวทางความร่วมมือสร้างกลไกเพื่อขยายมูลค่าการค้าชายแดนของทั้งสองประเทศ และยังเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้ทูตพาณิชย์ของไทยและทูตพาณิชย์ของพม่าได้รับทราบสถานการณ์ ปัญหาและอุปสรรและโอกาสความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับพม่า นำไปสู่การผลักดันเวทีการเจรจาระหว่างประเทศของภาครัฐทั้งสองฝ่าย และเวทีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย และยังเพิ่มโอกาสให้นักธุรกิจ พบปะหารือ แลกเปลี่ยน และจับคู่พันธมิตรทางธุรกิจในสาขาธุรกิจใหม่ ๆ เพิ่มเติม และกระชับความสัมพันธ์ทางธุรกิจในสาขาเดิมในเชิงลึกมากขึ้น โดยทั้งสองฝ่ายจะรับทราบความต้องการของแต่ละฝ่าย และร่วมกันลงทุนต่อไป
นอกจากนั้นยังให้ทุกภาคส่วนได้เข้าใจถึงความสำคัญของการค้าการลงทุนระหว่างไทย โดยเฉพาะกับตลาดพม่าและจับมือกับพม่าทั้งในภาคของรัฐและภาคส่วนเอกชนนำไปสู่การขยายการค้าระหว่างจังหวัดแม่ฮ่องสอนกับตลาดพม่าในเชิงกว้าง และลึก รวมทั้งจับมือกับพม่าไปสู่การเข้าสู่ตลาดในประเทศที่สาม เช่น จีน อินเดีย และบังกลาเทศ ซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่และมีระยะทางที่ใกล้กับจังหวัดแม่ฮ่องสอน และประเทศพม่าโดยเป็นโอกาสทางการค้าของนักธุรกิจทั้งสองประเทศ
นายสุพจน์ กล่าวอีกว่า ที่จริงแล้วยุทธศาสตร์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 51-53 มุ่งเน้นการส่งเสริมการค้าชายแดนระหว่างจังหวัดแม่ฮ่องสอนกับพม่า เพื่อส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศ ในเดือนกรกฎาคม 52 มูลค่าการค้ารวมของจังหวัดแม่ฮ่องสอนเกิดขึ้น 11.10 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.26 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมาที่มีอยู่ 10.84 ล้านบาท ทั้งนี้เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝนการคมนาคมลำบาก ทำให้มีการส่งออก-นำเข้า สินค้าจำเป็นแก่การดำรงชีพลดลง
ประเภทสินค้าที่มีการส่งออกมาก 10 อันดับ ได้แก่ หลอดฟลูออเรสเซนต์ รองเท้าแตะฟองน้ำ สินค้าอุปโภค-บริโภค ข้าวเจ้าชัยนาท 35%เสื่อพาสสติก น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันพืช ผงชูรส ผงซักฟอก ขนม ส่วนสินค้าที่นำเข้าได้แก่ โค-กระบือมีชีวิต สินแร่พลวง วงล้อเกวียน น้ำมันงา พริกแห้ง สินค้าอุปโภค บริโภค ใบตองปามันมวนคล้ายบุหรี่ โดยไทยได้ดุลการค้า 9.13 ล้านบาท ลดลง 0.43 ล้านบาท ส่วนสินค้าถ่ายลำมีการส่งออกผ่านด่านศุลกากรแม่ฮ่องสอนและด่านศุลกากรแม่สะเรียง เดือนกรกฎาคม 2552 มูลค่ารวม 41.16ล้านบาท
นายสุพจน์ กลิ่นปราณีต ประธานหอการค้าจังหวัดแม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า หอการค้าจังหวัดฯ มีโครงการจัดสัมมนาสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับพม่า เพื่อเปิดประตูการค้าไปสู่ประเทศที่สาม ขึ้นระหว่างวันที่ 16 – 19 กันยายน 2552 ที่โรงแรมโกลเด้นปาย รีสอร์ท ต.ปางหมู อ.เมืองแม่ฮ่องสอน โดยเชิญฝ่ายพม่าประกอบไปด้วย ผู้อำนวยการสำนักการค้าชายแดน กระทรวงพาณิชย์ของพม่า ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ของพม่า 1 คน ประธานสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติของพม่า นักธุรกิจจากกรุงย่างกุ้ง 3 คน นักธุรกิจจากเมืองลอยก่อ 3 คน นักธุรกิจจากเมืองมัณฑะเลย์ 3 คน และตัวแทนทูตพาณิชย์
ส่วนฝ่ายไทยประกอบไปด้วยนิติกรผู้เชี่ยวชาญด้านชายแดนจากกรุมศุลกากร ผู้แทนกองกิจการระหว่างประเทศ สำนักปลัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งดูแลพื้นที่ชายแดน ผู้แทนกรมการค้าระหว่างประเทศ ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนสภาความมั่นคงแห่งชาติ ทูตพาณิชย์ประจำประเทศไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประธานหอการค้าจังหวัดแม่ฮ่องสอน -เชียงราย -ตาก -ระนอง และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน และนักธุรกิจไทย
เพื่อร่วมหาแนวทางพัฒนาการค้าชายแดนด้านจังหวัดแม่ฮ่องสอนกับประเทศพม่า โดยจะนำคณะทั้งสองฝ่าย (ไทย-พม่ ) เข้าไปสังเกตการณ์ในพื้นที่การค้าชายแดนเฉพาะช่องทางการค้าผ่านจุดผ่อนปรน 4 แห่ง คือ 1.ด่านศุลกากรบ้านน้ำเพียงดิน ต.ผาบ่อง อ.เมืองแม่ฮ่องสอน - บ้านน้ำคำ ผาห่มน้ำ รัฐคะยา ประเทศพม่า 2.จุดผ่อนปรนบ้านห้วยต้นนุ่น ต.แม่เงา อ.ขุนยวม - บ้านน้ำมาง รัฐคะยา ประเทศพม่า 3.จุดผ่อนปรนบ้านเสาหิน ต.เสาหิน อ.แม่สะเรียง - อำเภอแม่แจ๊ะ รัฐคะยา ประเทศพม่า และ 4.จุดผ่อนปรนท่าข้ามน้ำสาละวินบ้านแม่สามแลบ ต.แม่สามแลบ อ.สยเมย จ.แม่ฮ่องสอน
เขาหวังว่า หลังการดูพื้นที่แล้ว ตัวแทนส่วนราชการ – เอกชน ทั้งฝ่ายไทยและพม่า จะหาทางแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เพื่อให้การค้าชายแดนระหว่างไทยกับพม่าเป็นรูปธรรมและชัดเจน และก้าวไปสู่ความร่วมมือในการยกระดับจุดผ่อนปรนทางการค้าจังหวัด เป็นด่านถาวรระหว่างไทยกับพม่า แห่งที่ 4 นอกเหนือจากด่านแม่สาย ด่านแม่สอด และด่านระนอง
ทั้งนี้ได้เปิดโอกาสให้หารือกับฝ่ายราชการพม่า เพื่อทราบสถานการณ์ ปัญหาอุปสรรและโอกาศการค้าและการลงทุน อันนำไปสู่การหารือในเวทีการเจรจาระหว่างประเทศไทยกับพม่า ในการร่วมมืออย่างจริงจังเพื่อหาแนวทางความร่วมมือสร้างกลไกเพื่อขยายมูลค่าการค้าชายแดนของทั้งสองประเทศ และยังเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้ทูตพาณิชย์ของไทยและทูตพาณิชย์ของพม่าได้รับทราบสถานการณ์ ปัญหาและอุปสรรและโอกาสความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับพม่า นำไปสู่การผลักดันเวทีการเจรจาระหว่างประเทศของภาครัฐทั้งสองฝ่าย และเวทีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย และยังเพิ่มโอกาสให้นักธุรกิจ พบปะหารือ แลกเปลี่ยน และจับคู่พันธมิตรทางธุรกิจในสาขาธุรกิจใหม่ ๆ เพิ่มเติม และกระชับความสัมพันธ์ทางธุรกิจในสาขาเดิมในเชิงลึกมากขึ้น โดยทั้งสองฝ่ายจะรับทราบความต้องการของแต่ละฝ่าย และร่วมกันลงทุนต่อไป
นอกจากนั้นยังให้ทุกภาคส่วนได้เข้าใจถึงความสำคัญของการค้าการลงทุนระหว่างไทย โดยเฉพาะกับตลาดพม่าและจับมือกับพม่าทั้งในภาคของรัฐและภาคส่วนเอกชนนำไปสู่การขยายการค้าระหว่างจังหวัดแม่ฮ่องสอนกับตลาดพม่าในเชิงกว้าง และลึก รวมทั้งจับมือกับพม่าไปสู่การเข้าสู่ตลาดในประเทศที่สาม เช่น จีน อินเดีย และบังกลาเทศ ซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่และมีระยะทางที่ใกล้กับจังหวัดแม่ฮ่องสอน และประเทศพม่าโดยเป็นโอกาสทางการค้าของนักธุรกิจทั้งสองประเทศ
นายสุพจน์ กล่าวอีกว่า ที่จริงแล้วยุทธศาสตร์จังหวัดแม่ฮ่องสอน 51-53 มุ่งเน้นการส่งเสริมการค้าชายแดนระหว่างจังหวัดแม่ฮ่องสอนกับพม่า เพื่อส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศ ในเดือนกรกฎาคม 52 มูลค่าการค้ารวมของจังหวัดแม่ฮ่องสอนเกิดขึ้น 11.10 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.26 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมาที่มีอยู่ 10.84 ล้านบาท ทั้งนี้เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝนการคมนาคมลำบาก ทำให้มีการส่งออก-นำเข้า สินค้าจำเป็นแก่การดำรงชีพลดลง
ประเภทสินค้าที่มีการส่งออกมาก 10 อันดับ ได้แก่ หลอดฟลูออเรสเซนต์ รองเท้าแตะฟองน้ำ สินค้าอุปโภค-บริโภค ข้าวเจ้าชัยนาท 35%เสื่อพาสสติก น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันพืช ผงชูรส ผงซักฟอก ขนม ส่วนสินค้าที่นำเข้าได้แก่ โค-กระบือมีชีวิต สินแร่พลวง วงล้อเกวียน น้ำมันงา พริกแห้ง สินค้าอุปโภค บริโภค ใบตองปามันมวนคล้ายบุหรี่ โดยไทยได้ดุลการค้า 9.13 ล้านบาท ลดลง 0.43 ล้านบาท ส่วนสินค้าถ่ายลำมีการส่งออกผ่านด่านศุลกากรแม่ฮ่องสอนและด่านศุลกากรแม่สะเรียง เดือนกรกฎาคม 2552 มูลค่ารวม 41.16ล้านบาท