xs
xsm
sm
md
lg

เลือกอุดรฯนำร่องปศุสัตว์น้อยเตือนภัย ใส่ใจผู้บริโภค

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

อุดรธานี-กรมปศุสัตว์เลือกจังหวัดอุดรฯนำร่องโครงการประชาสัมพันธ์อาหารศึกษา สร้างเครือข่ายปศุสัตว์น้อยเตือนภัยใส่ใจผู้บริโภค รณรงค์ในครอบครัวเพื่อนรอบตัวให้เลือกบริโภคผลิตภัณฑ์สินค้าสัตว์ได้มาตรฐานปลอดภัย

นายทศพร ศรีศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที่ 4 กล่าวถึงปัญหาพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนคนไทย ว่า เป็นปัญหาสำคัญของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้ความสนใจ โดยเฉพาะการเลือกซื้อเนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์ เนื่องจากปัจจุบันประชาชนผู้บริโภคยังความขาดความรู้ ความเข้าใจในการเลือกซื้อ ทำให้ไม่คำนึงถึงที่มาที่ไปและภัยอันตรายที่ติดหรือปนเปื้อนมากับสินค้าดังกล่าว ซึ่งถ้าพฤติกรรมของผู้บริโภคยังเป็นเช่นนี้อยู่ต่อไปย่อมจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพที่จะนำไปสู่สภาวะโรคต่างๆ ในอนาคต

สำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที่ 4 ซึ่งมีพื้นที่ดูแล 10 จังหวัดภาคอีสานตอนบน ประกอบด้วย อุดรธานี ขอนแก่น หนองคาย หนองบัวลำภู เลย สกลนคร นครพนม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ และมหาสารคาม จึงได้จัดทำโครงการประชาสัมพันธ์อาหารศึกษา (Food Education) ขึ้น

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเยาวชนซึ่งเป็นผู้บริโภคยุคใหม่ให้มีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการผลิตปศุสัตว์ได้มาตรฐาน และมีจิตอาสาเป็นปศุสัตว์น้อย เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่และเตือนภัยให้กับเพื่อนๆ ครอบครัว และประชาชนผู้บริโภคทั่วไป

ทั้งนี้ มีเป้าหมายให้เกิดการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม ชมรม และขยายเป็นเครือข่ายต่อไป ตามนโยบายของกรมปศุสัตว์ ที่ว่า “การให้ความรู้ ความเข้าใจด้านอาหารศึกษาแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่อาหารด้านการปศุสัตว์ เป็นการสนับสนุนการผลิตสินค้าปศุสัตว์ ที่มีคุณภาพปลอดภัย และเตรียมรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงและภาวะวิกฤตอาหารและพลังงานของโลก”

กิจกรรมที่ปศุสัตว์น้อยทำ ได้แก่ การให้ความรู้แก่เพื่อนนักเรียน ในรูแบบต่างๆ เช่น จัดบอร์ดความรู้ จัดเสียงตามสาย กิจกรรมการแสดง เป็นต้น การรณรงค์ให้ความรู้แก่ผู้บริโภคทั่วไ ป เช่น การเดินรณรงค์ การแจกเอกสารความรู้ การให้ความรู้ทางหอกระจายข่าวหรือวิทยุชมชน เป็นต้น

การทำกิจกรรนอกจากปศุสัตว์น้อยจะได้รับความรู้ด้านกระบวนการผลิตปศุสัตว์ที่ได้มาตรฐาน และตระหนักถึงภัยอันตรายที่มาจากสัตว์อย่างถูกต้องแล้ว ยังช่วยให้เพื่อนๆ ครอบครัวและผู้บริโภคทั่วไปมีความรู้ เกิดความตระหนัก ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาการเลือกซื้อสินค้าปศุสัตว์ที่มีคุณภาพปลอดภัย และกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเกิดความตื่นตัวในการผลิตหรือประกอบการในด้านสินค้าปศุสัตว์ให้มีคุณภาพได้มาตรฐานมากขึ้น

นอกจากนั้น ปศุสัตว์น้อยยังได้รับการพัฒนาเรื่องการคิด การวางแผนการทำงาน การแสดงออก และการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนปศุสัตว์น้อย ในโรงเรียนอื่นๆ ทำให้เกิดป็นเครือข่ายขึ้น ในปี 2552 ถือเป็นปีแรกที่มีการดำเนินโครงการโดยเลือก จังหวัดอุดรธานีเป็นจังหวัดนำร่อง จะเป็นการประชาสัมพันธ์รูปแบบของโครงการสู่สาธาณชนก่อนที่ปีต่อๆ ไป จะได้ดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบต่อไป
กำลังโหลดความคิดเห็น