สระแก้ว - จังหวัดสระแก้วหวั่นเลือกตั้ง อบต.ในพื้นที่ไม่เป็นธรรม เพราะผู้ควบคุมการเลือกตั้งไม่เป็นกลาง
จากสถานการณ์การเลือกตั้งนายกฯและสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล โดยเฉพาะชายแดนจังหวัดสระแก้ว มีการเลือกตั้งทั้งนายกและสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 43 อบต. ในพื้นที่ 7 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอเมืองสระแก้ว อำเภอเขาฉกรรจ์ อำเภอวัฒนานคร อำเภอคลองหาด อำเภออรัญประเทศ อำเภอโคกสูง และอำเภอตาพระยา โดยมีการจัดการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 40 แห่ง มีผู้สมัครรับการเลือกตั้งจำนวน 81 คน ผู้สมัครสมาชิก 2,079 คน
สำหรับองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งต่ำสุดคือ 1 คน สูงสุด 4 คน ส่วน อบต.ที่มีผู้สมัคร 1 คน จำนวน 13 แห่ง, อบต. ที่มีผู้สมัครฯ 2 คน จำนวน 17 แห่ง, อบต.ที่มีผู้สมัคร 3 คน จำนวน 6 แห่ง, อบต.มีผู้สมัคร 4 คน จำนวน 4 แห่ง ในการแข่งขันนั้นจะต้องได้รับสิทธิ์การเลือกตั้งอย่างน้อยร้อยละ 10% โดยจะมีการแข่งขันในวันอาทิตย์ที่ 6 ก.ย.นี้ทั่วประเทศ
สาเหตุเกิดจากความขัดแย้งอย่างรุนแรง และมีผลกระทบสร้างความแตกแยกกับประชาชนในหมู่บ้านเดียวกัน โดยแยกออกเป็นกลุ่มตามเสียงของผู้สมัครทั้ง นายกและสมาชิก อบต. ที่มาจากความไม่ไว้วางใจ ที่ปลัดประจำแต่ละ อบต.ที่ต้องทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการการเลือกตั้งครั้งนี้ ที่มีความใกล้ชิดกับนักการเมืองท้องถิ่นและการเมืองของชาติ ที่อาจมีส่วนร่วมรู้เห็นเป็นใจ และมีผลทำให้ผู้สมัคร ที่เป็นทั้งคนเก่าลูกหลานญาติสนิทกับนักการเมือง มีส่วนเข้ามาชิงช่วงยึดครองตำแหน่งเดิมตามใบสั่ง ทำให้ปลัด อบต.ได้รับการร้องเรียนหรือถูกขับไล่ตามกระแสเสียงเรียกร้องของชาวบ้านของผู้สมัครแต่ละฝ่าย
ในขณะเดียวกัน ความเห็นชาวบ้านบางกลุ่มมีความเห็นว่า หากไม่ยอมให้ปลัด อบต.เป็นผู้อำนวยการการเลือกตั้งแล้ว จะให้ใครมาเป็น ผอ.ตามกฎหมายระเบียบรัฐธรรมนูญ ซึ่งถือเป็นความหนักใจของชาวบ้านแต่ละกลุ่มพวกพ้องของผู้สมัครที่กำลังเข้าโค้งสุดท้ายก่อนการใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งนายกและ อบต. แบบไม่โปร่งใสเกิดขึ้น
ด้าน นายยุทธนา นุชนารถ นายอำเภอโคกสูง และประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดสระแก้ว กล่าวเปิดเผยว่า ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งทั้งนายกฯและสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้บริหารท้องถิ่น พุทธศักราช 2545 มีผลบังคับใช้ระบุหัวหน้าพนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งหมายถึงปลัด องค์การบริหารส่วนตำบล ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการการเลือกตั้งท้องถิ่นนั้นๆ จึงทำให้ชาวบ้านบางกลุ่มเกิดความไม่โปร่งใสด้วยวิธีกลโกงจาก ผู้อำนวยการการเลือกตั้งที่มาจากปลัดของ อบต.เอง เพื่อช่วยเหลือผู้สมัคร จากนักการเมืองท้องถิ่น และระดับชาติ ด้วยวิธีการต่างๆแบบ แยบยล ที่สามารถกระทำกันได้ในช่วงกลางคืน ที่มีการทำกันได้ทั้งนั้น และทุกอย่างคือการโกง
นายยุทธนากล่าวต่ออีกว่า ปัญหาดังกล่าวจะลดน้อยลงได้ คือ ต้องประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตื่นตัวเข้ามามีส่วนร่วมกับการเลือกตั้งให้มากที่สุด ซึ่งถือว่าเป็นกิจกรรมของขบวนการมีส่วนร่วม ของประชาชน ถ้าให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากเท่าไร ก็จะทำให้การเลือกตั้งโปร่งใสมากขึ้น และสามารถตรวจสอบได้มากขึ้น จึงได้แนะนำปลัก อบต.แต่ละ อบต. อย่างได้กังวนหวั่นวิตกกับภารกิจที่ตัวเองต้องปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายบังคับให้ทำ
ปัจจุบันความขัดแย้งในเรื่องของการจัดการเลือกตั้ง ยังเป็นปัญหาใหญ่กับการปฏิบัติหน้าที่ของปลัด อบต.ที่มีวิธีกลโกงช่วยเหลือผู้สมัครสายเลือดนักการเมืองท้องถิ่น และระดับชาติ กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ทำหน้าที่กำกับดูแลเท่านั้น ความโปร่งใส ทำหน้าที่ของปลัด อบต.ที่อาจถูกตั้งข้อสังเกตจากประชาชนได้ตลอดเวลา ว่า มีส่วนร่วมได้เสียกับการเลือกตั้งในท้องถิ่น เนื่องจาก กกต.จังหวัด หรือคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ถูกกำหนดกำกับดูแลการเลือกตั้ง แทนที่จะเป็นฝ่ายจัดการเลือกตั้งอย่างการเลือกตั้งระดับประเทศ ที่มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ส่งผลให้มีผลกระทบกับการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นครั้งนี้
จากสถานการณ์การเลือกตั้งนายกฯและสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล โดยเฉพาะชายแดนจังหวัดสระแก้ว มีการเลือกตั้งทั้งนายกและสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 43 อบต. ในพื้นที่ 7 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอเมืองสระแก้ว อำเภอเขาฉกรรจ์ อำเภอวัฒนานคร อำเภอคลองหาด อำเภออรัญประเทศ อำเภอโคกสูง และอำเภอตาพระยา โดยมีการจัดการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 40 แห่ง มีผู้สมัครรับการเลือกตั้งจำนวน 81 คน ผู้สมัครสมาชิก 2,079 คน
สำหรับองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งต่ำสุดคือ 1 คน สูงสุด 4 คน ส่วน อบต.ที่มีผู้สมัคร 1 คน จำนวน 13 แห่ง, อบต. ที่มีผู้สมัครฯ 2 คน จำนวน 17 แห่ง, อบต.ที่มีผู้สมัคร 3 คน จำนวน 6 แห่ง, อบต.มีผู้สมัคร 4 คน จำนวน 4 แห่ง ในการแข่งขันนั้นจะต้องได้รับสิทธิ์การเลือกตั้งอย่างน้อยร้อยละ 10% โดยจะมีการแข่งขันในวันอาทิตย์ที่ 6 ก.ย.นี้ทั่วประเทศ
สาเหตุเกิดจากความขัดแย้งอย่างรุนแรง และมีผลกระทบสร้างความแตกแยกกับประชาชนในหมู่บ้านเดียวกัน โดยแยกออกเป็นกลุ่มตามเสียงของผู้สมัครทั้ง นายกและสมาชิก อบต. ที่มาจากความไม่ไว้วางใจ ที่ปลัดประจำแต่ละ อบต.ที่ต้องทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการการเลือกตั้งครั้งนี้ ที่มีความใกล้ชิดกับนักการเมืองท้องถิ่นและการเมืองของชาติ ที่อาจมีส่วนร่วมรู้เห็นเป็นใจ และมีผลทำให้ผู้สมัคร ที่เป็นทั้งคนเก่าลูกหลานญาติสนิทกับนักการเมือง มีส่วนเข้ามาชิงช่วงยึดครองตำแหน่งเดิมตามใบสั่ง ทำให้ปลัด อบต.ได้รับการร้องเรียนหรือถูกขับไล่ตามกระแสเสียงเรียกร้องของชาวบ้านของผู้สมัครแต่ละฝ่าย
ในขณะเดียวกัน ความเห็นชาวบ้านบางกลุ่มมีความเห็นว่า หากไม่ยอมให้ปลัด อบต.เป็นผู้อำนวยการการเลือกตั้งแล้ว จะให้ใครมาเป็น ผอ.ตามกฎหมายระเบียบรัฐธรรมนูญ ซึ่งถือเป็นความหนักใจของชาวบ้านแต่ละกลุ่มพวกพ้องของผู้สมัครที่กำลังเข้าโค้งสุดท้ายก่อนการใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งนายกและ อบต. แบบไม่โปร่งใสเกิดขึ้น
ด้าน นายยุทธนา นุชนารถ นายอำเภอโคกสูง และประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดสระแก้ว กล่าวเปิดเผยว่า ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งทั้งนายกฯและสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้บริหารท้องถิ่น พุทธศักราช 2545 มีผลบังคับใช้ระบุหัวหน้าพนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งหมายถึงปลัด องค์การบริหารส่วนตำบล ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการการเลือกตั้งท้องถิ่นนั้นๆ จึงทำให้ชาวบ้านบางกลุ่มเกิดความไม่โปร่งใสด้วยวิธีกลโกงจาก ผู้อำนวยการการเลือกตั้งที่มาจากปลัดของ อบต.เอง เพื่อช่วยเหลือผู้สมัคร จากนักการเมืองท้องถิ่น และระดับชาติ ด้วยวิธีการต่างๆแบบ แยบยล ที่สามารถกระทำกันได้ในช่วงกลางคืน ที่มีการทำกันได้ทั้งนั้น และทุกอย่างคือการโกง
นายยุทธนากล่าวต่ออีกว่า ปัญหาดังกล่าวจะลดน้อยลงได้ คือ ต้องประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตื่นตัวเข้ามามีส่วนร่วมกับการเลือกตั้งให้มากที่สุด ซึ่งถือว่าเป็นกิจกรรมของขบวนการมีส่วนร่วม ของประชาชน ถ้าให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากเท่าไร ก็จะทำให้การเลือกตั้งโปร่งใสมากขึ้น และสามารถตรวจสอบได้มากขึ้น จึงได้แนะนำปลัก อบต.แต่ละ อบต. อย่างได้กังวนหวั่นวิตกกับภารกิจที่ตัวเองต้องปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายบังคับให้ทำ
ปัจจุบันความขัดแย้งในเรื่องของการจัดการเลือกตั้ง ยังเป็นปัญหาใหญ่กับการปฏิบัติหน้าที่ของปลัด อบต.ที่มีวิธีกลโกงช่วยเหลือผู้สมัครสายเลือดนักการเมืองท้องถิ่น และระดับชาติ กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ทำหน้าที่กำกับดูแลเท่านั้น ความโปร่งใส ทำหน้าที่ของปลัด อบต.ที่อาจถูกตั้งข้อสังเกตจากประชาชนได้ตลอดเวลา ว่า มีส่วนร่วมได้เสียกับการเลือกตั้งในท้องถิ่น เนื่องจาก กกต.จังหวัด หรือคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ถูกกำหนดกำกับดูแลการเลือกตั้ง แทนที่จะเป็นฝ่ายจัดการเลือกตั้งอย่างการเลือกตั้งระดับประเทศ ที่มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ส่งผลให้มีผลกระทบกับการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นครั้งนี้