อุดรธานี - กรมควบคุมมลพิษติวเข้มองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น-สถานพยาบาลในพื้นที่อุดรธานี เรียนรู้การจัดการขยะมูลฝอยติดเชื้อ เผยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น 12 แห่งทั่วประเทศที่นำร่องจัดการขยะติดเชื้อและมีเตาเผาขนาดใหญ่ยังประสบปัญหาการจัดการ เหตุขาดงบประมาณและองค์ความรู้ด้านการจัดการ
เมื่อเวลา 09.30 น.วันนี้ (26 ส.ค.) ที่ห้องประชุมโรงแรมต้นคูณ อ.เมืองอุดรธานี นางสุณี ปิยะพันธุ์พงศ์ ผู้อำนวยการสำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดสัมมนาเผยแพร่แนวทางและรูปแบบการบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อแบบศูนย์รวม ให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาล สถานพยาบาล สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่จังหวัดนำร่อง 2 กลุ่ม ประกอบด้วย จ.นครสวรรค์ ตาก อุทัยธานี กำแพงเพชร พิจิตร ชัยนาท ซึ่งเป็นกลุ่มศึกษาที่ยังไม่มีระบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ และกลุ่มพื้นที่ จ.อุดรธานี หนองคาย หนองบัวลำภู เลย สกลนคร นครพนม เป็นกลุ่มศึกษาที่มีระบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ รวม 80 คน
นางสุณีกล่าวว่า พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 และพระราชบัญญิติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ในการกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยที่เกิดในเขตท้องถิ่น ครอบคลุมถึงมูลฝอยติดเชื้อด้วย ประกอบกับกระทรวงสาธารณสุขได้ออกกฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ.2545 กำหนดห้ามถ่ายเททิ้งมูลฝอยติดเชื้อในที่สาธารณะ
โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควบคุมดูแลและบริหารจัดการให้สถานบริการสาธารณสุขจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมอย่างถูกต้อง
นางสุณีระบุว่า ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจพบว่า มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการจัดการมูลฝอยติดเชื้อและมีเตาเผาขนาดใหญ่แล้ว 12 แห่ง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วน จ.ชลบุรี องค์การบริหารส่วน จ.นนทบุรี เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี เทศบาลนครเชียงใหม่ เทศบาลนครพิษณุโลก เทศบาลนครสมุทรสาคร เทศบาลนครหาดใหญ่ เทศบาลนครยะลา เทศบาลนครขอนแก่น และเทศบาลนครอุดรธานี แต่พบว่ามีปัญหาอุปสรรคในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ
ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการขาดแคลนงบประมาณ ไม่สามารถจัดเก็บค่าธรรมเนียมได้ ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญด้านการบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อ เกิดปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเหตุเดือดร้อนรำราญและการร้องเรียน
ด้วยเหตุนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษ จึงได้จัดทำโครงการจัดการมูลฝอยติดเชื้อแบบศูนย์รวมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทาง รูปแบบ และวิธีการบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อแบบศูนย์รวมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพอย่างเป็นระบบครบวงจร
ตั้งแต่ระบบการคัดแยกและเก็บรวบรวม ณ แหล่งกำเนิดระบบเก็บขน ระบบกำจัดและระบบควบคุมมลพิษ และศึกษารูปแบบความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในกลุ่มพื้นที่หรือกลุ่มจังหวัดในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นรูปธรรม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อแบบศูนย์รวมในกลุ่มพื้นที่จังหวัดอื่น โดยภายใต้โครงการฯได้ศึกษาข้อมูลการจัดการมูลฝอยติดเชื้อทั่วประเทศ พร้อมทั้งกำหนดเกณฑ์เบื้องต้นในการจัดกลุ่มพื้นที่ และทำการคัดเลือกพื้นที่ที่มีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นศูนย์กลางการให้บริการในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ
เมื่อเวลา 09.30 น.วันนี้ (26 ส.ค.) ที่ห้องประชุมโรงแรมต้นคูณ อ.เมืองอุดรธานี นางสุณี ปิยะพันธุ์พงศ์ ผู้อำนวยการสำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดสัมมนาเผยแพร่แนวทางและรูปแบบการบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อแบบศูนย์รวม ให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาล สถานพยาบาล สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่จังหวัดนำร่อง 2 กลุ่ม ประกอบด้วย จ.นครสวรรค์ ตาก อุทัยธานี กำแพงเพชร พิจิตร ชัยนาท ซึ่งเป็นกลุ่มศึกษาที่ยังไม่มีระบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ และกลุ่มพื้นที่ จ.อุดรธานี หนองคาย หนองบัวลำภู เลย สกลนคร นครพนม เป็นกลุ่มศึกษาที่มีระบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ รวม 80 คน
นางสุณีกล่าวว่า พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 และพระราชบัญญิติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ในการกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยที่เกิดในเขตท้องถิ่น ครอบคลุมถึงมูลฝอยติดเชื้อด้วย ประกอบกับกระทรวงสาธารณสุขได้ออกกฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ.2545 กำหนดห้ามถ่ายเททิ้งมูลฝอยติดเชื้อในที่สาธารณะ
โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควบคุมดูแลและบริหารจัดการให้สถานบริการสาธารณสุขจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมอย่างถูกต้อง
นางสุณีระบุว่า ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจพบว่า มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการจัดการมูลฝอยติดเชื้อและมีเตาเผาขนาดใหญ่แล้ว 12 แห่ง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วน จ.ชลบุรี องค์การบริหารส่วน จ.นนทบุรี เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี เทศบาลนครเชียงใหม่ เทศบาลนครพิษณุโลก เทศบาลนครสมุทรสาคร เทศบาลนครหาดใหญ่ เทศบาลนครยะลา เทศบาลนครขอนแก่น และเทศบาลนครอุดรธานี แต่พบว่ามีปัญหาอุปสรรคในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ
ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการขาดแคลนงบประมาณ ไม่สามารถจัดเก็บค่าธรรมเนียมได้ ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญด้านการบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อ เกิดปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเหตุเดือดร้อนรำราญและการร้องเรียน
ด้วยเหตุนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษ จึงได้จัดทำโครงการจัดการมูลฝอยติดเชื้อแบบศูนย์รวมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทาง รูปแบบ และวิธีการบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อแบบศูนย์รวมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพอย่างเป็นระบบครบวงจร
ตั้งแต่ระบบการคัดแยกและเก็บรวบรวม ณ แหล่งกำเนิดระบบเก็บขน ระบบกำจัดและระบบควบคุมมลพิษ และศึกษารูปแบบความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในกลุ่มพื้นที่หรือกลุ่มจังหวัดในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นรูปธรรม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อแบบศูนย์รวมในกลุ่มพื้นที่จังหวัดอื่น โดยภายใต้โครงการฯได้ศึกษาข้อมูลการจัดการมูลฝอยติดเชื้อทั่วประเทศ พร้อมทั้งกำหนดเกณฑ์เบื้องต้นในการจัดกลุ่มพื้นที่ และทำการคัดเลือกพื้นที่ที่มีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นศูนย์กลางการให้บริการในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ