นครปฐม- สำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดนครปฐม จัดทำโครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ
นายประยุทธ เรืองแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดนครปฐม กล่าวว่า กรมทางหลวงชนบทมีถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบ ระยะทาง 38,400 กม.กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศและมีจุดตัดผ่านทางรถไฟประมาณ 119 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นจุดตัดผ่านทางราบ
แต่เนื่องจากปริมาณการจราจรที่สูงขึ้นทำให้จุดตัดผ่านรถไฟบางแห่งมีการจราจรที่ติดขัดและเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง เพื่อความปลอดภัยของประชาชนที่สัญจรไปมา กรมทางหลวงชนบท จึงมีแผนที่จะทำการปรับปรุงจุดตัดผ่านทางรถไฟดังกล่าว โดยให้ก่อสร้างทางผ่านเป็นทางต่างระดับ และเนื่องจากการก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟในแต่ละแห่งจะต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก มีผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อม และความเป็นอยู่ของประชาชนที่อยู่สองข้างทาง
ดังนั้น การพิจารณาก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟจะต้องทำการศึกษาความเหมาะสมทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สภาพแวดล้อม และความต้องการของประชาชน ประกอบกับงบประมาณที่กรมทางหลวงชนบทได้รับในแต่ละปีมีจำนวนจำกัด จึงต้องมีการจัดทำแผนแม่บทการก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ เพื่อใช้เป็นแผนในการขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างต่อไป
กรมทางหลวงชนบทจึงได้จัดการประชุมปฐมนิเทศ โครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ ขึ้น โดยมีตัวแทนหน่วยงานราชการ ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตัวแทนชุมชน สื่อมวลชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมฯ
นายประยุทธ เรืองแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดนครปฐม กล่าวว่า กรมทางหลวงชนบทมีถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบ ระยะทาง 38,400 กม.กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศและมีจุดตัดผ่านทางรถไฟประมาณ 119 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นจุดตัดผ่านทางราบ
แต่เนื่องจากปริมาณการจราจรที่สูงขึ้นทำให้จุดตัดผ่านรถไฟบางแห่งมีการจราจรที่ติดขัดและเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง เพื่อความปลอดภัยของประชาชนที่สัญจรไปมา กรมทางหลวงชนบท จึงมีแผนที่จะทำการปรับปรุงจุดตัดผ่านทางรถไฟดังกล่าว โดยให้ก่อสร้างทางผ่านเป็นทางต่างระดับ และเนื่องจากการก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟในแต่ละแห่งจะต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก มีผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อม และความเป็นอยู่ของประชาชนที่อยู่สองข้างทาง
ดังนั้น การพิจารณาก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟจะต้องทำการศึกษาความเหมาะสมทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สภาพแวดล้อม และความต้องการของประชาชน ประกอบกับงบประมาณที่กรมทางหลวงชนบทได้รับในแต่ละปีมีจำนวนจำกัด จึงต้องมีการจัดทำแผนแม่บทการก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ เพื่อใช้เป็นแผนในการขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างต่อไป
กรมทางหลวงชนบทจึงได้จัดการประชุมปฐมนิเทศ โครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ ขึ้น โดยมีตัวแทนหน่วยงานราชการ ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตัวแทนชุมชน สื่อมวลชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมฯ