ศูนย์ข่าวขอนแก่น-อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมหนุนธุรกิจทุกภาคส่วนใช้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือพัฒนาธุรกิจสร้างศักยภาพการแข่งขันและผลักดันธุรกิจในภูมิภาคเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยการอาศัยงานวิจัยเป็นตัวช่วย
เมื่อเร็วๆนี้ ที่ศูนย์ประชุมอเนกประสงค์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยขอนแก่น อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดงาน “INSPIRED BY NORTHEASTERN SCIENCE PARK” ขึ้น เพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานในระยะที่ 1 และแสดงศักยภาพความพร้อมสู่แผนงานระยะที่ 2 ต่อหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสาธารณชนให้ได้รับทราบถึงผลการดำเนินงานขององค์กร อันส่งผลกระทบต่อท้องถิ่นให้เกิดการพัฒนาธุรกิจ และช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภูมิภาคอย่างมั่นคง
รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อนุกรรมการและเลขานุการโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในฐานะตัวแทนอุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวถึงการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือว่า เป็นการจัดตั้งขึ้นตามนโยบายคณะรัฐมนตรี ในสมัย พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีมติให้ความเห็นชอบให้มีการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขึ้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 และได้มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ทำหน้าที่ประสานและให้คำแนะนำในการดำเนินงาน
ทั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อการส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมโดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งจะนำไปสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพการแข็งขันของประเทศ โดยได้ขยายศูนย์กลางการดำเนินงานมายังภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และได้ให้สถาบันอุดมศึกษา 4 แห่ง อันคือมหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมมือกันใช้ความสามารถในเชิงวิจัยเข้าไปส่งเสริมสนับสนุนอุตสาหกรรม และบ่มเพาะผู้ประกอบการใหม่ โดยการสนับสนุนงบประมาณเบื้องต้นในการจัดตั้งจากรัฐบาล
รศ.ดร.กิตติชัย เปิดเผยว่าปัจจุบันอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ดำเนินการวิจัย และพัฒนาเพื่อยกระดับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 3 ปี (ปีพ.ศ. 2549-2552) ซึ่งเป็นช่วงสิ้นสุดของการดำเนินงานในระยะที่ 1 จึงได้จัดงาน “INSPIRED BY NORTHEASTERN SCIENCE PARK” ขึ้น ซึ่งมี นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดงาน พร้อมเชิญผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้บริหาร ผู้ประกอบการ นักวิชาการ สื่อมวลชน นักเรียน นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไป เข้าร่วมงาน
การจัดงานครั้งนี้ ได้รับเกียรติในการบรรยายพิเศษจากที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) และรองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาเครือเบทาโกร ได้มาบรรยายพิเศษเกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจไทย พร้อมการเสวนาจากอดีตผู้บริหาร โซนี่มิวสิค (ประเทศไทย) และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทไทยแอร์เอเชีย จำกัด ที่มาร่วมเปิดมุมมองแบบฉบับคิดให้ต่าง เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ
ปิดท้ายด้วยการเสวนาวิสัยทัศน์ของนักธุรกิจรุ่นใหม่ โดยรองผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัทผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายปลากระป๋องตราปลายิ้ม และรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท แมพพ้อยท์เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด
นอกจากนี้ ในงานยังให้บริการให้คำปรึกษาด้านการตลาด ด้านตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การจัดทำแผนธุรกิจ การจับคู่ทางธุรกิจ การหาผู้ร่วมทุน และกิจกรรมอื่นๆ ที่จะเป็นผู้ช่วยจุดประกายธุรกิจในทุกอุตสาหกรรมของภูมิภาคสู่ประตูที่ 9 เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข็งขัน และยกระดับเทคโนโลยี นำไปสู่ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจต่อไป
เมื่อเร็วๆนี้ ที่ศูนย์ประชุมอเนกประสงค์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยขอนแก่น อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดงาน “INSPIRED BY NORTHEASTERN SCIENCE PARK” ขึ้น เพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานในระยะที่ 1 และแสดงศักยภาพความพร้อมสู่แผนงานระยะที่ 2 ต่อหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสาธารณชนให้ได้รับทราบถึงผลการดำเนินงานขององค์กร อันส่งผลกระทบต่อท้องถิ่นให้เกิดการพัฒนาธุรกิจ และช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภูมิภาคอย่างมั่นคง
รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อนุกรรมการและเลขานุการโครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในฐานะตัวแทนอุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวถึงการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือว่า เป็นการจัดตั้งขึ้นตามนโยบายคณะรัฐมนตรี ในสมัย พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีมติให้ความเห็นชอบให้มีการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขึ้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 และได้มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ทำหน้าที่ประสานและให้คำแนะนำในการดำเนินงาน
ทั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อการส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมโดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งจะนำไปสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพการแข็งขันของประเทศ โดยได้ขยายศูนย์กลางการดำเนินงานมายังภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และได้ให้สถาบันอุดมศึกษา 4 แห่ง อันคือมหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมมือกันใช้ความสามารถในเชิงวิจัยเข้าไปส่งเสริมสนับสนุนอุตสาหกรรม และบ่มเพาะผู้ประกอบการใหม่ โดยการสนับสนุนงบประมาณเบื้องต้นในการจัดตั้งจากรัฐบาล
รศ.ดร.กิตติชัย เปิดเผยว่าปัจจุบันอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ดำเนินการวิจัย และพัฒนาเพื่อยกระดับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 3 ปี (ปีพ.ศ. 2549-2552) ซึ่งเป็นช่วงสิ้นสุดของการดำเนินงานในระยะที่ 1 จึงได้จัดงาน “INSPIRED BY NORTHEASTERN SCIENCE PARK” ขึ้น ซึ่งมี นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดงาน พร้อมเชิญผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้บริหาร ผู้ประกอบการ นักวิชาการ สื่อมวลชน นักเรียน นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไป เข้าร่วมงาน
การจัดงานครั้งนี้ ได้รับเกียรติในการบรรยายพิเศษจากที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) และรองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาเครือเบทาโกร ได้มาบรรยายพิเศษเกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจไทย พร้อมการเสวนาจากอดีตผู้บริหาร โซนี่มิวสิค (ประเทศไทย) และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทไทยแอร์เอเชีย จำกัด ที่มาร่วมเปิดมุมมองแบบฉบับคิดให้ต่าง เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ
ปิดท้ายด้วยการเสวนาวิสัยทัศน์ของนักธุรกิจรุ่นใหม่ โดยรองผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัทผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายปลากระป๋องตราปลายิ้ม และรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท แมพพ้อยท์เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด
นอกจากนี้ ในงานยังให้บริการให้คำปรึกษาด้านการตลาด ด้านตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การจัดทำแผนธุรกิจ การจับคู่ทางธุรกิจ การหาผู้ร่วมทุน และกิจกรรมอื่นๆ ที่จะเป็นผู้ช่วยจุดประกายธุรกิจในทุกอุตสาหกรรมของภูมิภาคสู่ประตูที่ 9 เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข็งขัน และยกระดับเทคโนโลยี นำไปสู่ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจต่อไป