ฉะเชิงเทรา- เตรียมชมปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงที่ยาวนานที่สุดได้ในประเทศจีน ส่วนในไทยเห็นได้เพียงบางส่วน นักดาราศาสตร์ระบุหากพลาดโอกาส ต้องรอไปอีกนานกว่า 123 ปี
นายวรวิทย์ ตันวุฒิบัณฑิต นักดาราศาสตร์ท้องถิ่น กล่าวว่า ในช่วงเช้าของวันพุธที่ 22 ก.ค.52 จะเกิดปรากฏการณ์ สุริยุปราคาเต็มดวงที่ยาวนานมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ทางดาราศาสตร์ เมื่อดวงจันทร์โคจรเข้ามาอยู่ระหว่างกลางระหว่างโลก กับดวงอาทิตย์เป็นแนวเดียวกัน และเงามืดของดวงจันทร์ จะทอดลงมาสู่โลกเราให้เห็นในกลางวัน มีความยาวนานของคราสเต็มดวง กว่า 6 นาที มีแถบความกว้างของเงามืดบนพื้นโลกกว่า 240 กม.
ส่วนในทางยาวจะเริ่มต้นปรากฏการณ์ การพาดผ่านของสุริยุปราคาเต็มดวง(Saros 136) ที่ประเทศอินเดีย ผ่านประเทศจีน ปากีสถาน ทางตอนเหนือของประเทศพม่า เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นตอนใต้ และเข้าสู่มหาสมุทรแปซิฟิก
นอกจากนี้จะเห็นสุริยุปราคาบางส่วนได้ทั่วทวีปเอเชีย รวมถึงประเทศไทยด้วย โดยที่ประเทศไทยในภาคเหนือ จะเห็นส่วนเว้าแหว่งมากที่สุดถึงกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ ภาคใต้ตอนบนจะเห็น 30 เปอร์เซ็นต์ ที่เวลาของการเกิดปรากฏการณ์แตกต่างกันในแต่ละจังหวัด โดยเฉลี่ยในประเทศ ระหว่างเวลา 07.00 น.-09.30 น. เป็นต้นไป
สำหรับเวลาในการเกิดปรากฏการณ์ ในแต่ละจังหวัดมีดังนี้ ที่จังหวัด เชียงใหม่ เริ่มคราสเวลา 7 นาฬิกา 2 นาที 24 วินาที คราสลึกที่สุด เวลา 8 นาฬิกา 2 นาที 56 วินาที สิ้นสุดปรากฏการณ์ 9 นาฬิกา 11 นาที 47 วินาที ดวงอาทิตย์ ถูกบังไป 63.6 เปอร์เซ็นต์ จังหวัด อุตรดิตถ์ เริ่มคราสเวลา 7 นาฬิกา 3 นาที 33 วินาที คราสลึกที่สุด เวลา 8 นาฬิกา 3 นาที 53 วินาที สิ้นสุดปรากฏการณ์ 9 นาฬิกา 12 นาที 27 วินาที ดวงอาทิตย์ ถูกบังไป 57.9เปอร์เซ็นต์
ที่จังหวัด หนองคาย เริ่มคราสเวลา 7 นาฬิกา 5 นาที 21วินาที คราสลึกที่สุด เวลา 8 นาฬิกา 7 นาที 06 วินาที สิ้นสุดปรากฏการณ์ 9 นาฬิกา 17 นาที 20 วินาที ดวงอาทิตย์ ถูกบังไป 56.7 เปอร์เซ็นต์ จังหวัด ขอนแก่น เริ่มคราสเวลา 7 นาฬิกา 6นาที 24 วินาที คราสลึกที่สุด เวลา 8 นาฬิกา 7 นาที 03 วินาที สิ้นสุดปรากฏการณ์ 9 นาฬิกา 16นาที 01 วินาที ดวงอาทิตย์ ถูกบังไป 50.8 เปอร์เซ็นต์
ที่จังหวัด อุบลราชธานี เริ่มคราสเวลา 7 นาฬิกา 9 นาที 15 วินาที คราสลึกที่สุด เวลา 8 นาฬิกา 9 นาที 46 วินาที สิ้นสุดปรากฏการณ์ 9 นาฬิกา 18 นาที 33 วินาที ดวงอาทิตย์ ถูกบังไป 44.8เปอร์เซ็นต์ จังหวัด นครราชสีมา เริ่มคราสเวลา 7 นาฬิกา 6 นาที 56 วินาที คราสลึกที่สุด เวลา 8 นาฬิกา 5 นาที 59 วินาที สิ้นสุดปรากฏการณ์ 9นาฬิกา 13 นาที 02 วินาที ดวงอาทิตย์ ถูกบังไป 45.8 เปอร์เซ็นต์
ที่จังหวัด นครสวรรค์ เริ่มคราสเวลา 7 นาฬิกา 4 นาที 50วินาที คราสลึกที่สุด เวลา 8 นาฬิกา 3 นาที 36 วินาที สิ้นสุดปรากฏการณ์ 9 นาฬิกา 10 นาที 28 วินาที ดวงอาทิตย์ ถูกบังไป 50.1 เปอร์เซ็นต์ ส่วนกรุงเทพฯมหานคร เริ่มคราสเวลา 7 นาฬิกา 6 นาที 50 วินาที คราสลึกที่สุด เวลา 8 นาฬิกา 3 นาที 53 วินาที สิ้นสุดปรากฏการณ์ 9 นาฬิกา 8 นาที 42 วินาที ดวงอาทิตย์ ถูกบังไป 42.2 เปอร์เซ็นต์ จังหวัด ชลบุรี เริ่มคราสเวลา 7 นาฬิกา 7 นาที 32 วินาที คราสลึกที่สุด เวลา 8 นาฬิกา 4 นาที 30 วินาที สิ้นสุดปรากฏการณ์ 9 นาฬิกา 9 นาที 02 วินาที ดวงอาทิตย์ ถูกบังไป 40.6 เปอร์เซ็นต์
ที่จังหวัดชุมพร เริ่มคราสเวลา 7 นาฬิกา 9 นาที 28 วินาที คราสลึกที่สุด เวลา 8 นาฬิกา 2 นาที 23 วินาที สิ้นสุดปรากฏการณ์ 9 นาฬิกา 9 นาที 02 วินาที ดวงอาทิตย์ ถูกบังไป 40.6 เปอร์เซ็นต์ จังหวัดสงขลา เริ่มคราสเวลา 7 นาฬิกา 16 นาที 28 วินาที คราสลึกที่สุด เวลา 8 นาฬิกา 4 นาที 31 วินาที สิ้นสุดปรากฏการณ์ 8 นาฬิกา 57 นาที 48 วินาที ดวงอาทิตย์ ถูกบังไป 19.8 เปอร์เซ็นต์
จังหวัดปัตตานี เริ่มคราสเวลา 7 นาฬิกา 18 นาที 12 วินาที คราสลึกที่สุด เวลา 8 นาฬิกา 5 นาที 25 วินาที สิ้นสุดปรากฏการณ์ 8 นาฬิกา 58นาที 08 วินาที ดวงอาทิตย์ ถูกบังไป 18.4 เปอร์เซ็นต์
ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา บริเวณหอดูดาวบัณฑิต เริ่มคราสเวลา 7 นาฬิกา 7 นาที 34 วินาที คราสลึกที่สุด เวลา 8 นาฬิกา 4 นาที 51 วินาที สิ้นสุดปรากฏการณ์ 9 นาฬิกา 9 นาที 45 วินาที ดวงอาทิตย์ ถูกบังไป 41.1 เปอร์เซ็นต์
การสังเกตปรากฏการณ์สุริยุปราคานั้น ห้ามสังเกตด้วยตาเปล่า ต้องใช้แผ่นกรองแสงไมร่า ในการสังเกต หากไม่มีแผ่นไมร่า ให้ใช้กระดาษแข็งเจาะรูเล็กๆ แล้วส่องลงไปที่พื้น แสงจะผ่านรูและเว้าแหว่งตามการเกิดปรากฏการณ์