กาญจนบุรี - สาธารณสุขกาญจนบุรี ออกโรงแนะวิธีป้องกันโรคชิคุนกุนยาให้กับชาวกาญจนบุรี
นพ.บุญนำ ชัยวิสุทธิ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผยว่า โรคชิคุนกุนยา เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค มีอาการคล้ายโรคไข้เลือดออก แต่ต่างกันที่ไม่มีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือด จึงไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากจนถึงมีการช็อก จังหวัดกาญจนบุรี ยังไม่มีรายงานผู้ป่วยโรคนี้
สำหรับการติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ เมื่อยุงลายกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้สูง ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุงและเพิ่มจำนวนมากขึ้น แล้วเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลาย เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา ไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัด ทำให้คนนั้นเกิดอาการของโรคได้ ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงอย่างฉับพลัน มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย และอาจมีอาการคันร่วมด้วย พบตาแดง แต่ไม่ค่อยพบจุดเลือดออกในตาขาว ส่วนใหญ่แล้วในเด็กจะมีอาการไม่รุนแรงเท่าในผู้ใหญ่ ในผู้ใหญ่อาการที่เด่นชัดคืออาการปวดข้อ อาจพบข้ออักเสบได้ ส่วนใหญ่จะเป็นที่ข้อเล็กๆ
เช่น ข้อมือ ข้อเท้า อาการปวดข้อจะพบได้หลายๆ ข้อเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ อาการจะรุนแรงมากจนบางครั้งขยับข้อไม่ได้ อาการจะหายภายใน 1-12 สัปดาห์ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดข้อเกิดขึ้นได้อีกภายใน 2-3 สัปดาห์ต่อมา และบางรายอาการปวดข้อจะอยู่ได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปี ไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงถึงช็อก ซึ่งแตกต่างจากโรคไข้เลือดออก อาจพบจุดเลือดออกบริเวณผิวหนังได้
นพ.บุญนำ กล่าวต่อว่า โรคนี้จะพบมากในฤดูฝน เมื่อประชากรยุงเพิ่มขึ้นและมีการติดเชื้อในยุงลายมากขึ้น พบโรคนี้ได้ในทุกกลุ่มอายุ ซึ่งต่างจากไข้เลือดออกที่ส่วนมากพบในผู้อายุน้อยกว่า 15 ปี การป้องกันและควบคุมโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ดำเนินการเช่นเดียวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก ดังนี้ มาตรการหลัก คือ การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ดังนี้คือ
1.วิธีทางกายภาพ โดยการปิดฝาภาชนะกักเก็บน้ำ ในชั้นแรกต้องใช้ผ้ามุ้ง ผ้ายางหรือพลาสติกมัดไว้ให้แน่น เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงลายลอดเข้าไปวางไข่ 2.วิธีทางชีวภาพ โดยการปล่อยปลากินลูกน้ำลงในภาชนะ 2-4 ตัว วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายประหยัดและปลอดภัย เหมาะสมสำหรับภาชนะเก็บน้ำใช้ที่ไม่สามารถปิดฝาได้ 3.วิธีทางเคมี โดยการใส่สารเคมีฆ่าลูกน้ำยุงลาย ซึ่งองค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้และรับรองความปลอดภัย ได้แก่ ทรายทีมีฟอส ควรใช้เฉพาะกับภาชนะเก็บน้ำที่ไม่สามารถปิดฝา หรือใส่ปลากินลูกน้ำได้ เพื่อเป็นการประหยัด
นพ.บุญนำ กล่าวท้ายสุดว่า มาตรการเสริม ได้แก่ การกำจัดยุงตัวเต็มวัยด้วยการพ่นเคมีกำจัดยุงตัวเต็มวัยเป็นวิธีควบคุมยุงลายที่มีประสิทธิภาพสูง แต่ให้ผลระยะสั้นเหมาะสำหรับช่วงที่เกิดการระบาดของโรค หากควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ได้อย่างสมบูรณ์แล้ว อาจไม่จำเป็นต้องพ่นเคมีกำจัดยุงตัวเต็มวัย การพ่นเคมีกำจัดยุงลาย จะมีผลลดจำนวนยุงได้เพียงระยะสั้นเท่านั้น
นอกจากนี้ ประชาชนควรจัดบ้านเรือนและสภาพแวดล้อมไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านและชุมชนและเพื่อป้องกันบุตรหลานของท่านมิให้ป่วยเป็นโรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรืออาจหาซื้อเคมีภัณฑ์กำจัดยุงที่มีขายตามท้องตลาดมาใช้ฉีดฆ่ายุงในบ้าน และรอบบริเวณบ้านเป็นครั้งคราว วิธีการใช้และเก็บรักษาควรปฏิบัติตามคำแนะนำที่แนบมากับเคมีภัณฑ์อย่างเคร่งครัด หากมีไข้ควรกินยาลดไข้ ห้ามกินยาจำพวกแอสไพรินเป็นอันขาด เพราะจะทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ง่าย ควรป้องกันไม่ให้ยุงกัดโดยสวมเสื้อกางเกง ขายาวเวลาเข้าสวน หรือทายากันยุง หากมีไข้สูง ปวดหรือบวมตามข้อเฉียบพลันและมีผื่นแดงตามร่างกายขอให้รีบพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันที
นพ.บุญนำ ชัยวิสุทธิ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผยว่า โรคชิคุนกุนยา เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค มีอาการคล้ายโรคไข้เลือดออก แต่ต่างกันที่ไม่มีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือด จึงไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากจนถึงมีการช็อก จังหวัดกาญจนบุรี ยังไม่มีรายงานผู้ป่วยโรคนี้
สำหรับการติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ เมื่อยุงลายกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้สูง ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุงและเพิ่มจำนวนมากขึ้น แล้วเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลาย เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา ไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัด ทำให้คนนั้นเกิดอาการของโรคได้ ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงอย่างฉับพลัน มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย และอาจมีอาการคันร่วมด้วย พบตาแดง แต่ไม่ค่อยพบจุดเลือดออกในตาขาว ส่วนใหญ่แล้วในเด็กจะมีอาการไม่รุนแรงเท่าในผู้ใหญ่ ในผู้ใหญ่อาการที่เด่นชัดคืออาการปวดข้อ อาจพบข้ออักเสบได้ ส่วนใหญ่จะเป็นที่ข้อเล็กๆ
เช่น ข้อมือ ข้อเท้า อาการปวดข้อจะพบได้หลายๆ ข้อเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ อาการจะรุนแรงมากจนบางครั้งขยับข้อไม่ได้ อาการจะหายภายใน 1-12 สัปดาห์ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดข้อเกิดขึ้นได้อีกภายใน 2-3 สัปดาห์ต่อมา และบางรายอาการปวดข้อจะอยู่ได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปี ไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงถึงช็อก ซึ่งแตกต่างจากโรคไข้เลือดออก อาจพบจุดเลือดออกบริเวณผิวหนังได้
นพ.บุญนำ กล่าวต่อว่า โรคนี้จะพบมากในฤดูฝน เมื่อประชากรยุงเพิ่มขึ้นและมีการติดเชื้อในยุงลายมากขึ้น พบโรคนี้ได้ในทุกกลุ่มอายุ ซึ่งต่างจากไข้เลือดออกที่ส่วนมากพบในผู้อายุน้อยกว่า 15 ปี การป้องกันและควบคุมโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ดำเนินการเช่นเดียวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก ดังนี้ มาตรการหลัก คือ การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ดังนี้คือ
1.วิธีทางกายภาพ โดยการปิดฝาภาชนะกักเก็บน้ำ ในชั้นแรกต้องใช้ผ้ามุ้ง ผ้ายางหรือพลาสติกมัดไว้ให้แน่น เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงลายลอดเข้าไปวางไข่ 2.วิธีทางชีวภาพ โดยการปล่อยปลากินลูกน้ำลงในภาชนะ 2-4 ตัว วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายประหยัดและปลอดภัย เหมาะสมสำหรับภาชนะเก็บน้ำใช้ที่ไม่สามารถปิดฝาได้ 3.วิธีทางเคมี โดยการใส่สารเคมีฆ่าลูกน้ำยุงลาย ซึ่งองค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้และรับรองความปลอดภัย ได้แก่ ทรายทีมีฟอส ควรใช้เฉพาะกับภาชนะเก็บน้ำที่ไม่สามารถปิดฝา หรือใส่ปลากินลูกน้ำได้ เพื่อเป็นการประหยัด
นพ.บุญนำ กล่าวท้ายสุดว่า มาตรการเสริม ได้แก่ การกำจัดยุงตัวเต็มวัยด้วยการพ่นเคมีกำจัดยุงตัวเต็มวัยเป็นวิธีควบคุมยุงลายที่มีประสิทธิภาพสูง แต่ให้ผลระยะสั้นเหมาะสำหรับช่วงที่เกิดการระบาดของโรค หากควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ได้อย่างสมบูรณ์แล้ว อาจไม่จำเป็นต้องพ่นเคมีกำจัดยุงตัวเต็มวัย การพ่นเคมีกำจัดยุงลาย จะมีผลลดจำนวนยุงได้เพียงระยะสั้นเท่านั้น
นอกจากนี้ ประชาชนควรจัดบ้านเรือนและสภาพแวดล้อมไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านและชุมชนและเพื่อป้องกันบุตรหลานของท่านมิให้ป่วยเป็นโรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรืออาจหาซื้อเคมีภัณฑ์กำจัดยุงที่มีขายตามท้องตลาดมาใช้ฉีดฆ่ายุงในบ้าน และรอบบริเวณบ้านเป็นครั้งคราว วิธีการใช้และเก็บรักษาควรปฏิบัติตามคำแนะนำที่แนบมากับเคมีภัณฑ์อย่างเคร่งครัด หากมีไข้ควรกินยาลดไข้ ห้ามกินยาจำพวกแอสไพรินเป็นอันขาด เพราะจะทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ง่าย ควรป้องกันไม่ให้ยุงกัดโดยสวมเสื้อกางเกง ขายาวเวลาเข้าสวน หรือทายากันยุง หากมีไข้สูง ปวดหรือบวมตามข้อเฉียบพลันและมีผื่นแดงตามร่างกายขอให้รีบพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันที