พัทลุง - ชาวบ้านพัทลุงแห่เข้าโรงพยาบาลหวั่น “ชิคุนกุนยา” เกรงกินยาผิดถึงตาย พร้อมวอนเจ้าหน้าที่เร่งลงพื้นที่ให้ความรู้และวิธีป้องกันโรคดังกล่าว
วันนี้ (14 พ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดพัทลุง ว่า หลังจากชาวบ้านทราบข่าวการแพร่ระบาดของโรคชิคุนกุนยาในพื้นที่ของจังหวัดพัทลุง ชาวบ้านในพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ และมีอาการป่วยของโรค เช่น ต.นาโหนด ต.ท่าแค อ.เมืองพัทลุง อ.กงหรา อ.ตะโหมด และ อ.เขาชัยสน ต่างแห่เข้าตรวจรับการรักษาที่โรงพยาบาลเป็นจำนวนมาก เมื่อพบมีอาการไข้สูง เป็นผื่นแดง และปวดข้อ ซึ่งเป็นอาการคล้ายลักษณะของโรคชิคุนกุนยา
โดยในขณะนี้พบว่าโรคดังกล่าวเป็นที่หวั่นเกรงของชาวบ้านเป็นอย่างมากกลัวติดเชื้อ และไม่เข้าใจในสถานการณ์ของโรคที่กำลังระบาดอยู่จนอาจซื้อยารับประทานเองจนช็อกเสียชีวิตเหมือนผู้ป่วยในอำเภอตะโหมดได้
โดยผู้ป่วยรายหนึ่ง เปิดเผยว่า จนถึงขณะนี้คาดว่าการแพร่ระบาดของโรคชิคุนกุนยาระบาดในทุกอำเภอของจังหวัดพัทลุง แต่ยังไม่มีเจ้าหน้าที่สาธารณะสุขออกมารณรงค์ให้คำแนะนำแต่อย่างได และบางพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดยังไม่มีการพ่นหมอกควันแต่อย่างใด ซึ่งคาดว่าผู้ป่วยมีจำนวนมากไม่ต่ำกว่า 500 รายทั่วทั้งจังหวัด
ขณะที่ทางเจ้าหน้าที่สาธารณสุขรายหนึ่ง เปิดเผยว่า ที่ผ่านมามีผู้ป่วยชิคุนกุนยายในพื้นที่เข้ารักษาและรับการตรวจเพียง 33 รายเท่านั้น ซึ่งผู้ป่วยรายอื่นไม่เข้ารักษาตัวตามระบบ เช่นหายารับประทานเอง หาแพทย์ตามคลินิก จึงยากต่อการสำรวจในการระบาดของโรคได้
วันนี้ (14 พ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดพัทลุง ว่า หลังจากชาวบ้านทราบข่าวการแพร่ระบาดของโรคชิคุนกุนยาในพื้นที่ของจังหวัดพัทลุง ชาวบ้านในพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ และมีอาการป่วยของโรค เช่น ต.นาโหนด ต.ท่าแค อ.เมืองพัทลุง อ.กงหรา อ.ตะโหมด และ อ.เขาชัยสน ต่างแห่เข้าตรวจรับการรักษาที่โรงพยาบาลเป็นจำนวนมาก เมื่อพบมีอาการไข้สูง เป็นผื่นแดง และปวดข้อ ซึ่งเป็นอาการคล้ายลักษณะของโรคชิคุนกุนยา
โดยในขณะนี้พบว่าโรคดังกล่าวเป็นที่หวั่นเกรงของชาวบ้านเป็นอย่างมากกลัวติดเชื้อ และไม่เข้าใจในสถานการณ์ของโรคที่กำลังระบาดอยู่จนอาจซื้อยารับประทานเองจนช็อกเสียชีวิตเหมือนผู้ป่วยในอำเภอตะโหมดได้
โดยผู้ป่วยรายหนึ่ง เปิดเผยว่า จนถึงขณะนี้คาดว่าการแพร่ระบาดของโรคชิคุนกุนยาระบาดในทุกอำเภอของจังหวัดพัทลุง แต่ยังไม่มีเจ้าหน้าที่สาธารณะสุขออกมารณรงค์ให้คำแนะนำแต่อย่างได และบางพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดยังไม่มีการพ่นหมอกควันแต่อย่างใด ซึ่งคาดว่าผู้ป่วยมีจำนวนมากไม่ต่ำกว่า 500 รายทั่วทั้งจังหวัด
ขณะที่ทางเจ้าหน้าที่สาธารณสุขรายหนึ่ง เปิดเผยว่า ที่ผ่านมามีผู้ป่วยชิคุนกุนยายในพื้นที่เข้ารักษาและรับการตรวจเพียง 33 รายเท่านั้น ซึ่งผู้ป่วยรายอื่นไม่เข้ารักษาตัวตามระบบ เช่นหายารับประทานเอง หาแพทย์ตามคลินิก จึงยากต่อการสำรวจในการระบาดของโรคได้