กาฬสินธุ์ - ชาวนาจังหวัดกาฬสินธุ์ แห่ทำนาหยอดเมล็ด เพื่อลดต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูง ป้องกันปัญหาเมล็ดข้าวปลอมปน คาดว่าจะได้ผลผลิตเพิ่มมากกว่าทำนาหว่านหรือนาดำหลายเท่า
ช่วงที่ฤดูกาลเพาะปลูกเริ่มขึ้น ชาวนาที่จังหวัดกาฬสินธุ์ต่างมองหาวิธีการทำนาที่จะช่วยลดต้นทุนการผลิตที่นับวันจะสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาปุ๋ยเคมีที่วันนี้ปรับขึ้นราคาถุงละ 1,280 บาท น้ำมันลิตรละกว่า 30 บาท และค่าแรงวันละ 150 บาท และยังมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นราคาอีกตลอดฤดูกาลผลิตปีนี้
นางเดินมา ญาณสิทธิ์ อายุ 56 ปี บ้านเลขที่ 95 หมู่ 4 ชาวนาบ้านบึงวิชัย อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า ตนมีที่นาจำนวน 7 ไร่ ทุกปีที่ผ่านมาจะทำนาดำ โดยจ้างแรงงานในพื้นที่วันละ 120 บาท แต่สำหรับปีนี้ที่เริ่มต้นฤดู มีการจ้างแรงงานสูงถึงวันละ 150 บาท และราคาปุ๋ยเคมีที่จำเป็นต้องใช้ เพื่อเร่งการเจริญเติบโตให้กับต้นข้าวยังมีการปรับราคาขึ้นถึงถุงละ 1,280 บาท
ขณะที่ค่าจ้างรถไถนาก็แพงขึ้นไร่ละ 600 บาท ที่เมื่อต้นทุนการทำนาสูงดังกล่าว จึงทำให้เสี่ยงต่อการขาดทุน ที่หากประสบปัญหาฝนแล้ง ผลผลิตตกต่ำก็จะทำให้ขาดทุนกว่าเดิม
เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดทุนจึงได้หันมาทำนาหยอด โดยการไถพรวนและไถนำร่อง ก่อนหยอดเมล็ดข้าวเปลือกจุดละประมาณ 10 เมล็ด ระยะแถวหรือระยะห่างจุดละ 15 เซนติเมตร หยอดเมล็ดแล้วกลบดิน ป้องกันนกหรือแมลงทำลาย การทำนาหยอดดังกล่าว ที่นอกจากจะประหยัดทั้งค่าจ้างแรงงานและเวลา โดยไม่เปลืองค่าจ้างและเสียเวลาจ้างถอนกล้าและปักดำแล้วยังจะเป็นการคัดพันธุ์ข้าวด้วย ที่หากพบว่าต้นกล้าต้นใดผิดพันธุ์ ก็สามารถถอนและทำลายโดยง่าย การดูแลก็ง่าย มีความต้านทานโรคได้ดี จึงมีเพื่อนชาวนาหลายคน หันมาทำนาหยอดเหมือนตน
ทั้งนี้ยังคาดว่าจะได้ผลผลิตที่เกินคุ้ม ได้เมล็ดข้าวที่มีคุณภาพ ไม่มีเมล็ดข้าวปลอมปน และได้ปริมาณมากกว่าทำนาหว่านหรือนาดำหลายเท่าอีกด้วย
ช่วงที่ฤดูกาลเพาะปลูกเริ่มขึ้น ชาวนาที่จังหวัดกาฬสินธุ์ต่างมองหาวิธีการทำนาที่จะช่วยลดต้นทุนการผลิตที่นับวันจะสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาปุ๋ยเคมีที่วันนี้ปรับขึ้นราคาถุงละ 1,280 บาท น้ำมันลิตรละกว่า 30 บาท และค่าแรงวันละ 150 บาท และยังมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นราคาอีกตลอดฤดูกาลผลิตปีนี้
นางเดินมา ญาณสิทธิ์ อายุ 56 ปี บ้านเลขที่ 95 หมู่ 4 ชาวนาบ้านบึงวิชัย อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า ตนมีที่นาจำนวน 7 ไร่ ทุกปีที่ผ่านมาจะทำนาดำ โดยจ้างแรงงานในพื้นที่วันละ 120 บาท แต่สำหรับปีนี้ที่เริ่มต้นฤดู มีการจ้างแรงงานสูงถึงวันละ 150 บาท และราคาปุ๋ยเคมีที่จำเป็นต้องใช้ เพื่อเร่งการเจริญเติบโตให้กับต้นข้าวยังมีการปรับราคาขึ้นถึงถุงละ 1,280 บาท
ขณะที่ค่าจ้างรถไถนาก็แพงขึ้นไร่ละ 600 บาท ที่เมื่อต้นทุนการทำนาสูงดังกล่าว จึงทำให้เสี่ยงต่อการขาดทุน ที่หากประสบปัญหาฝนแล้ง ผลผลิตตกต่ำก็จะทำให้ขาดทุนกว่าเดิม
เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดทุนจึงได้หันมาทำนาหยอด โดยการไถพรวนและไถนำร่อง ก่อนหยอดเมล็ดข้าวเปลือกจุดละประมาณ 10 เมล็ด ระยะแถวหรือระยะห่างจุดละ 15 เซนติเมตร หยอดเมล็ดแล้วกลบดิน ป้องกันนกหรือแมลงทำลาย การทำนาหยอดดังกล่าว ที่นอกจากจะประหยัดทั้งค่าจ้างแรงงานและเวลา โดยไม่เปลืองค่าจ้างและเสียเวลาจ้างถอนกล้าและปักดำแล้วยังจะเป็นการคัดพันธุ์ข้าวด้วย ที่หากพบว่าต้นกล้าต้นใดผิดพันธุ์ ก็สามารถถอนและทำลายโดยง่าย การดูแลก็ง่าย มีความต้านทานโรคได้ดี จึงมีเพื่อนชาวนาหลายคน หันมาทำนาหยอดเหมือนตน
ทั้งนี้ยังคาดว่าจะได้ผลผลิตที่เกินคุ้ม ได้เมล็ดข้าวที่มีคุณภาพ ไม่มีเมล็ดข้าวปลอมปน และได้ปริมาณมากกว่าทำนาหว่านหรือนาดำหลายเท่าอีกด้วย