พิษณุโลก - มทภ.3 ระบุสถานการณ์ชายแดงไม่รุนแรง แค่รบประปราย ไม่ถึงขั้นแตกหัก ห่วงผู้หนีภัยสงคราม ที่ทะลักเข้าไทยแล้ว 3,000 คน ล่าสุดส่งแพทย์-ทหารเสนารักษ์เข้าดูแล หวั่นโรคระบาดเข้าไทย
วันนี้ (8 มิ.ย.) ที่กองบัญชาการกองทัพภาคที่ 3 จ.พิษณุโลก พล.ท.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน แม่ทัพภาคที่ 3 เปิดเผยถึงสถานการณ์การสู้รบระหว่างทหารพม่ากับทหารกะเหรี่ยงบริเวณชายแดนไทยพม่าด้าน อ.ท่าสองยาง จ.ตาก ว่า เหตุการณ์ยังไม่รุนแรง มีการรบประปราย ไม่ถึงขั้นแตกหัก เป็นการสู้รบกันธรรมดาระหว่างทหารพม่ากับทหารกระเหรี่ยงดีเคบีเอ ที่รวมกันโจมตีกองกำลังกะเหรี่ยงเคเอ็นยู หรือกระเหรี่ยงคริสต์ ล่าสุดยังไม่มีกระสุนข้ามมายังฝั่งไทย
ผลกระทบต่อไทย คือ ผู้หนีภัยจากการสู้รบก็มีเข้ามาในฝั่งไทยด้าน อ.ท่าสองยาง จ.ตาก อาจแบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่รู้ว่าทหารพม่าจะเข้าตี พวกนี้รู้ล่วงหน้า พวกนี้หนีเข้ามาก่อนที่จะมีการสู้รบ หวั่นว่าจะถูกกวาดต้อนไปเป็นลูกหาบ อีกกลุ่มคือ กลัวจะถูกลูกหลง โดยกลุ่มทั้งสอง เข้ามาในฝั่งไทยรวมแล้วประมาณ 3,000 คน
ขณะที่เรื่อง “ยูเอ็นเอชซีอาร์” เป็นเรื่องของอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ที่กำลังดำเนินการอยู่เพื่อหลักสิทธิมนุษยชน เมื่อผู้อพยพเขาเข้ามาแล้ว หลักสิทธิมนุษยชนก็ต้องดูแลด้านสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน หาที่หลับที่นอน อาหารการกิน ตามศาลาวัดบ้าง กางเต็นท์บ้าง
แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ โรคระบาด ล่าสุดกองทัพภาคที่ 3 ส่งแพทย์ และทหารเสนารักษ์ เข้าตรวจผู้หนีภัยจากการสู้รบ แต่ยังไม่พบโรคระบาด มีผู้เจ็บป่วยบ้างเป็นโรคท้องเสีย ส่วนใหญ่เป็นเด็กเท่านั้น
วันนี้ (8 มิ.ย.) ที่กองบัญชาการกองทัพภาคที่ 3 จ.พิษณุโลก พล.ท.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน แม่ทัพภาคที่ 3 เปิดเผยถึงสถานการณ์การสู้รบระหว่างทหารพม่ากับทหารกะเหรี่ยงบริเวณชายแดนไทยพม่าด้าน อ.ท่าสองยาง จ.ตาก ว่า เหตุการณ์ยังไม่รุนแรง มีการรบประปราย ไม่ถึงขั้นแตกหัก เป็นการสู้รบกันธรรมดาระหว่างทหารพม่ากับทหารกระเหรี่ยงดีเคบีเอ ที่รวมกันโจมตีกองกำลังกะเหรี่ยงเคเอ็นยู หรือกระเหรี่ยงคริสต์ ล่าสุดยังไม่มีกระสุนข้ามมายังฝั่งไทย
ผลกระทบต่อไทย คือ ผู้หนีภัยจากการสู้รบก็มีเข้ามาในฝั่งไทยด้าน อ.ท่าสองยาง จ.ตาก อาจแบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่รู้ว่าทหารพม่าจะเข้าตี พวกนี้รู้ล่วงหน้า พวกนี้หนีเข้ามาก่อนที่จะมีการสู้รบ หวั่นว่าจะถูกกวาดต้อนไปเป็นลูกหาบ อีกกลุ่มคือ กลัวจะถูกลูกหลง โดยกลุ่มทั้งสอง เข้ามาในฝั่งไทยรวมแล้วประมาณ 3,000 คน
ขณะที่เรื่อง “ยูเอ็นเอชซีอาร์” เป็นเรื่องของอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ที่กำลังดำเนินการอยู่เพื่อหลักสิทธิมนุษยชน เมื่อผู้อพยพเขาเข้ามาแล้ว หลักสิทธิมนุษยชนก็ต้องดูแลด้านสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน หาที่หลับที่นอน อาหารการกิน ตามศาลาวัดบ้าง กางเต็นท์บ้าง
แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ โรคระบาด ล่าสุดกองทัพภาคที่ 3 ส่งแพทย์ และทหารเสนารักษ์ เข้าตรวจผู้หนีภัยจากการสู้รบ แต่ยังไม่พบโรคระบาด มีผู้เจ็บป่วยบ้างเป็นโรคท้องเสีย ส่วนใหญ่เป็นเด็กเท่านั้น