พิจิตร - อาหารกลางวันพิจิตรเจอปัญหาของแพง ผอ.สพท.แนะ นร.ห่อข้าวมากินโรงเรียน ผ่านกลุ่มโรงเรียนต้นแบบ
ดร.สุรเสน ทั่งทอง ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิจิตร เขต 1 เปิดเผยถึงผลกระทบของราคาสินค้า อาหารและพืชผักรวมถึงเนื้อสุกร เนื้อไก่ เนื้อปลา ไข่ไก่ น้ำมันพืช น้ำปลา น้ำตาล ที่มีราคาสูงขึ้นว่า มีผลกระทบต่อโครงการอาหารกลางวันของเด็กนักเรียนที่อยู่ชนบทและมีฐานะยากจนฝากท้องไว้กับโรงเรียน ตามที่รัฐบาลอุดหนุนงบประมาณมาให้เด็กนักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึง ป.6 คนละ 10 บาทต่อมื้อ เพราะราคาสินค้ารวมถึงสิ่งของต่างๆ มีราคาแพงขึ้นมาก จึงทำให้โครงการอาหารกลางวันของเด็กนักเรียนต่างๆ ในชนบท ทำได้ยากลำบากมากในขณะนี้ และบางแห่งบางมื้อก็ไม่พอกิน เนื่องจากของแพง
ขณะนี้ได้หาทางแก้ไขด้วยการให้โรงเรียนต่างๆ นำเงินที่มีอยู่ไปเพิ่มมูลค่า ด้วยการลงทุนเลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ ปลูกผัก แล้วนำวัตถุดิบมาปรุงเป็นอาหารกลางวันแก่เด็กนักเรียน อีกทั้งร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและคณะกรรมการผู้ปกครองสถานศึกษาที่ ร.ร.ตั้งอยู่ให้ช่วยอีกแรงหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญเลี้ยงอาหารกลางวัน หรือโครงการพระบิณฑบาตเพื่อน้อง เพื่อนำอาหารมาแบ่งปัน ทำเป็นอาหารกลางวัน เป็นการแก้ไขปัญหาได้ระดับหนึ่ง
ส่วนโรงเรียนระดับมัธยม และอาชีวะ ก็มีการควบคุมราคาและปริมาณอาหารที่จำหน่ายให้เหมาะสม โดยขายไม่เกินจานละ 15 บาท แต่เด็กชนบทส่วนใหญ่กินจานเดียวก็ไม่อิ่ม อีกทั้งผู้ปกครองมีฐานะยากจนก็ให้เงินมากินอาหารกลางวันที่โรงเรียนเพียงคนละ 20-30 บาท ก็ถือว่ามาก สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้ปกครอง ซึ่งบางคนมีลูก 2-3 คน เช้าขึ้นมาก็ต้องจ่ายอย่างน้อย 100 บาท ดังนั้นจึงมีการส่งเสริมให้เด็กนักเรียนระดับมัธยม และระดับอาชีวะห่อข้าวกลางวันหรือนำแกงถุงมากินที่โรงเรียน และแบ่งปันกันในหมู่นักเรียนซึ่งเป็นการสร้างความสัมพันธ์กันในหมู่เพื่อนฝูง ในห้องเรียนด้วย
ล่าสุดขณะนี้มีโรงเรียนต้นแบบกว่า 30% ในพิจิตรที่ทำลักษณะเช่นนี้ และพบว่าเด็กนักเรียนประมาณ 40% นำข้าวใส่ปิ่นโตหรือห่อข้าวมากินกันที่โรงเรียนมากขึ้น เพราะทั้งได้กินอิ่มท้อง และช่วยผู้ปกครองประหยัด ซึ่งประสบความสำเร็จแล้วด้วย นอกจากนี้ยังได้ฝึกเด็ก ว่าไม่ต้องเขินอายที่จะห่อข้าวมากินโรงเรียน บางครั้งกับข้าวเป็นแค่ไข่ต้ม ไข่เจียว หรือผักน้ำพริกปลาร้า แต่ถ้ามาตั้งวงกินรวมกันก็จะมีกับข้าวหลากหลาย ได้อิ่มท้องในมื้อกลางวันอีกด้วย
ดร.สุรเสน ทั่งทอง ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิจิตร เขต 1 เปิดเผยถึงผลกระทบของราคาสินค้า อาหารและพืชผักรวมถึงเนื้อสุกร เนื้อไก่ เนื้อปลา ไข่ไก่ น้ำมันพืช น้ำปลา น้ำตาล ที่มีราคาสูงขึ้นว่า มีผลกระทบต่อโครงการอาหารกลางวันของเด็กนักเรียนที่อยู่ชนบทและมีฐานะยากจนฝากท้องไว้กับโรงเรียน ตามที่รัฐบาลอุดหนุนงบประมาณมาให้เด็กนักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึง ป.6 คนละ 10 บาทต่อมื้อ เพราะราคาสินค้ารวมถึงสิ่งของต่างๆ มีราคาแพงขึ้นมาก จึงทำให้โครงการอาหารกลางวันของเด็กนักเรียนต่างๆ ในชนบท ทำได้ยากลำบากมากในขณะนี้ และบางแห่งบางมื้อก็ไม่พอกิน เนื่องจากของแพง
ขณะนี้ได้หาทางแก้ไขด้วยการให้โรงเรียนต่างๆ นำเงินที่มีอยู่ไปเพิ่มมูลค่า ด้วยการลงทุนเลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ ปลูกผัก แล้วนำวัตถุดิบมาปรุงเป็นอาหารกลางวันแก่เด็กนักเรียน อีกทั้งร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและคณะกรรมการผู้ปกครองสถานศึกษาที่ ร.ร.ตั้งอยู่ให้ช่วยอีกแรงหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญเลี้ยงอาหารกลางวัน หรือโครงการพระบิณฑบาตเพื่อน้อง เพื่อนำอาหารมาแบ่งปัน ทำเป็นอาหารกลางวัน เป็นการแก้ไขปัญหาได้ระดับหนึ่ง
ส่วนโรงเรียนระดับมัธยม และอาชีวะ ก็มีการควบคุมราคาและปริมาณอาหารที่จำหน่ายให้เหมาะสม โดยขายไม่เกินจานละ 15 บาท แต่เด็กชนบทส่วนใหญ่กินจานเดียวก็ไม่อิ่ม อีกทั้งผู้ปกครองมีฐานะยากจนก็ให้เงินมากินอาหารกลางวันที่โรงเรียนเพียงคนละ 20-30 บาท ก็ถือว่ามาก สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้ปกครอง ซึ่งบางคนมีลูก 2-3 คน เช้าขึ้นมาก็ต้องจ่ายอย่างน้อย 100 บาท ดังนั้นจึงมีการส่งเสริมให้เด็กนักเรียนระดับมัธยม และระดับอาชีวะห่อข้าวกลางวันหรือนำแกงถุงมากินที่โรงเรียน และแบ่งปันกันในหมู่นักเรียนซึ่งเป็นการสร้างความสัมพันธ์กันในหมู่เพื่อนฝูง ในห้องเรียนด้วย
ล่าสุดขณะนี้มีโรงเรียนต้นแบบกว่า 30% ในพิจิตรที่ทำลักษณะเช่นนี้ และพบว่าเด็กนักเรียนประมาณ 40% นำข้าวใส่ปิ่นโตหรือห่อข้าวมากินกันที่โรงเรียนมากขึ้น เพราะทั้งได้กินอิ่มท้อง และช่วยผู้ปกครองประหยัด ซึ่งประสบความสำเร็จแล้วด้วย นอกจากนี้ยังได้ฝึกเด็ก ว่าไม่ต้องเขินอายที่จะห่อข้าวมากินโรงเรียน บางครั้งกับข้าวเป็นแค่ไข่ต้ม ไข่เจียว หรือผักน้ำพริกปลาร้า แต่ถ้ามาตั้งวงกินรวมกันก็จะมีกับข้าวหลากหลาย ได้อิ่มท้องในมื้อกลางวันอีกด้วย