ศูนย์ข่าวศรีราชา - ผู้จัดการประปาส่วนภูมิภาคพัทยา ยืนยันสถานการณ์น้ำดิบพอใช้จนถึงกลางปีหน้า เผยข้อเสนอจากเมืองพัทยา กรณีนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดมาทำน้ำดิบเข้าสู่ระบบการผลิต ไม่ใช่ทางเลือกที่จำเป็น
นายธานี ทองประชุม ผู้จดการสำนักงานการประปาส่วนภูมิภาค เมืองพัทยา เปิดเผยว่าสถานการณ์ฯดิบในปัจจุบันถือว่าเพียงพอต่อการใช้อุปโภคบริโภคไปจนถึงกลางปีหน้าอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม สำหรับแนวทางในการแก้ไขปัญหาในระยะยาวการประปาฯ เองปัจจุบันก็ได้กู้เงินจำนวน 803 ล้านบาท เพื่อมาเพิ่มระบบกำลังผลิตที่โรงกรองน้ำหนองกลางดง และบางละมุงอีก 1 เท่าตัว รวมทั้งการวางท่อส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำบางพระมายังโรงกรองน้ำหนองกลางดงอีก ซึ่งจะทำให้เมืองพัทยาได้น้ำดิบมาเพิ่มเติมอีกจำนวนมาก โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงปลายปี 2553
นายธานีกล่าวต่อไปว่า สำหรับกรณีที่มีการนำเสนอแนวความคิดที่จะทำการศึกษาความเป็นไปได้ ในการนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดของเมืองพัทยา โดยเฉลี่ยวันละ 84,000 ลบ.ม.มาป้อนลงสู่แหล่งน้ำดิบ ก่อนนำมาผลิตเป็นน้ำประปา ทั้งนี้ เนื่องจากหวั่นเกรงว่าอาจเกิดปัญหาภาวะภัยแล้งขึ้นอีกในอนาคตนั้น เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องเก่าที่เคยหารือกันมาก่อนและก็เคยมาดูงาน พร้อมตรวจวัดคุณภาพน้ำของเมืองพัทยาแล้ว ซึ่งยืนยันว่ายังมีสารแขวนลอยบางอย่างที่ยังไม่ผ่านคุณภาพ
ทั้งนี้ หากจะต้องมาทำการกลั่นกรองอีกขั้นก็จะทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้นไปด้วย ส่วนที่ว่าจะทำได้หรือไม่นั้นคงให้คำตอบไม่ได้ เพราะต้องถือเป็นเรื่องของนโยบายส่วนกลางว่าจะรับได้หรือไม่ อย่างไรก็ดีปัจจุบันทราบว่าเมืองพัทยามีระบบในการสูบน้ำฝนที่ตกลงมาไปเก็บไว้ที่แก้มลิง ต.ห้วยใหญ่ ซึ่งโครงการนี้จะมีการผันน้ำไปกักเก็บที่อ่างเก็บน้ำชากนอก ก่อนนำมาผลิตน้ำประปา ซึ่งมองแล้วน่าจะเป็นไปได้มากกว่าโครงการอื่นๆ
นายธานี ทองประชุม ผู้จดการสำนักงานการประปาส่วนภูมิภาค เมืองพัทยา เปิดเผยว่าสถานการณ์ฯดิบในปัจจุบันถือว่าเพียงพอต่อการใช้อุปโภคบริโภคไปจนถึงกลางปีหน้าอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม สำหรับแนวทางในการแก้ไขปัญหาในระยะยาวการประปาฯ เองปัจจุบันก็ได้กู้เงินจำนวน 803 ล้านบาท เพื่อมาเพิ่มระบบกำลังผลิตที่โรงกรองน้ำหนองกลางดง และบางละมุงอีก 1 เท่าตัว รวมทั้งการวางท่อส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำบางพระมายังโรงกรองน้ำหนองกลางดงอีก ซึ่งจะทำให้เมืองพัทยาได้น้ำดิบมาเพิ่มเติมอีกจำนวนมาก โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงปลายปี 2553
นายธานีกล่าวต่อไปว่า สำหรับกรณีที่มีการนำเสนอแนวความคิดที่จะทำการศึกษาความเป็นไปได้ ในการนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดของเมืองพัทยา โดยเฉลี่ยวันละ 84,000 ลบ.ม.มาป้อนลงสู่แหล่งน้ำดิบ ก่อนนำมาผลิตเป็นน้ำประปา ทั้งนี้ เนื่องจากหวั่นเกรงว่าอาจเกิดปัญหาภาวะภัยแล้งขึ้นอีกในอนาคตนั้น เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องเก่าที่เคยหารือกันมาก่อนและก็เคยมาดูงาน พร้อมตรวจวัดคุณภาพน้ำของเมืองพัทยาแล้ว ซึ่งยืนยันว่ายังมีสารแขวนลอยบางอย่างที่ยังไม่ผ่านคุณภาพ
ทั้งนี้ หากจะต้องมาทำการกลั่นกรองอีกขั้นก็จะทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้นไปด้วย ส่วนที่ว่าจะทำได้หรือไม่นั้นคงให้คำตอบไม่ได้ เพราะต้องถือเป็นเรื่องของนโยบายส่วนกลางว่าจะรับได้หรือไม่ อย่างไรก็ดีปัจจุบันทราบว่าเมืองพัทยามีระบบในการสูบน้ำฝนที่ตกลงมาไปเก็บไว้ที่แก้มลิง ต.ห้วยใหญ่ ซึ่งโครงการนี้จะมีการผันน้ำไปกักเก็บที่อ่างเก็บน้ำชากนอก ก่อนนำมาผลิตน้ำประปา ซึ่งมองแล้วน่าจะเป็นไปได้มากกว่าโครงการอื่นๆ