ระนอง-เทศบาลเมืองระนองจับมือโรงเรียนสาธิตจุฬาฯฝ่ายประถม จัดโครงการความร่วมมือทางวิชาการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ครูผู้สอนของเทศบาล
นายสมชาย ข้ามสมุทร รองนายกเทศมนตรีเมืองระนองผู้รับผิดชอบดูแลกองการศึกษากล่าวว่าเทศบาลเมืองระนองได้จัดโครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฝ่ายประถม กับโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองระนองเพื่อพัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูเทศบาลเมืองระนองให้มีมาตรฐานตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ระหว่างครูที่ร่วมกิจกรรมการศึกษาเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
เนื่องจากโรงเรียนสาธิตจุฬาเป็นโรงเรียนที่มีรูปแบบการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพทั้งด้านการบริหาร การเรียนการสอน และคุณภาพของนักเรียน รวมทั้งมีการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและทันสมัยอยู่เสมอ
นายสมชาย กล่าวว่า โครงการดังกล่าวได้เริ่มมาตั้งแต่มีการศึกษา 2550 โดยเทศบาลเมืองระนอง ได้ส่งครูในสังกัดจำนวน 4คนเข้าศึกษาดูงานที่โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ แบบมีส่วนร่วมในช่วงชั้นที่ 1และที่ 2 และในปี 2551 ได้จัดส่งครูอีกจำนวน 20 คนในสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาต่างประเทศและสังคมศึกษาฯ ซึ่งหลังจากที่ได้ศึกษาดูงานแล้วครูได้นำประสบการณ์และความรู้มาพัฒนาระบบการเรียนการสอน และการบริหารจัดการด้านอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อวันที่ 24-25 พฤษภาคม 2552 รองศาตราจารย์ ลัดดา ภู่เกียรติผู้อำนวยการและรองคณบดีโรงเรียนสาธิตจุฬาฯพร้อมด้วยคณะได้มานิเทศ ติดตามและประเมินผลการพัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูที่ได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว รวมทั้งร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ และมอบประกาศนียบัตรแก่ครูที่ได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว
นายสมชาย ข้ามสมุทร รองนายกเทศมนตรีเมืองระนองผู้รับผิดชอบดูแลกองการศึกษากล่าวว่าเทศบาลเมืองระนองได้จัดโครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฝ่ายประถม กับโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองระนองเพื่อพัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูเทศบาลเมืองระนองให้มีมาตรฐานตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ระหว่างครูที่ร่วมกิจกรรมการศึกษาเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
เนื่องจากโรงเรียนสาธิตจุฬาเป็นโรงเรียนที่มีรูปแบบการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพทั้งด้านการบริหาร การเรียนการสอน และคุณภาพของนักเรียน รวมทั้งมีการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและทันสมัยอยู่เสมอ
นายสมชาย กล่าวว่า โครงการดังกล่าวได้เริ่มมาตั้งแต่มีการศึกษา 2550 โดยเทศบาลเมืองระนอง ได้ส่งครูในสังกัดจำนวน 4คนเข้าศึกษาดูงานที่โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ แบบมีส่วนร่วมในช่วงชั้นที่ 1และที่ 2 และในปี 2551 ได้จัดส่งครูอีกจำนวน 20 คนในสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาต่างประเทศและสังคมศึกษาฯ ซึ่งหลังจากที่ได้ศึกษาดูงานแล้วครูได้นำประสบการณ์และความรู้มาพัฒนาระบบการเรียนการสอน และการบริหารจัดการด้านอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อวันที่ 24-25 พฤษภาคม 2552 รองศาตราจารย์ ลัดดา ภู่เกียรติผู้อำนวยการและรองคณบดีโรงเรียนสาธิตจุฬาฯพร้อมด้วยคณะได้มานิเทศ ติดตามและประเมินผลการพัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูที่ได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว รวมทั้งร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ และมอบประกาศนียบัตรแก่ครูที่ได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว