xs
xsm
sm
md
lg

เผยความดันโลหิตสูงคร่าชีวิตคนไทยเฉียด 5 หมื่นรายต่อปี

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ศูนย์ข่าวขอนแก่น - เผยคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคความดันหิต สูงถึงปีละ 4.8 หมื่นราย เฉลี่ยชั่วโมงละ 5 ราย ทั้งยังพบเป็นอัมพฤกษ์- อัมพาต แล้วกว่า 250,000 คน แนะออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดอาหารเค็ม-แอลกอฮอล์ ไม่เคร่งเครียด

ศ.นพ.วิรุฬห์ เหล่าภัทรเกษม ผู้อำนวยการศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยถึงโรคความดันโลหิตสูง ว่า เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับคนทั่วไป หากไม่ได้รับการรักษาหรือควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ จะมีผลทำให้หลอดเลือดแดงตีบแคบลง มีผลร้ายแรงต่อ อวัยวะสำคัญ คือ ไต หัวใจ สมอง โดยมีโอกาสเสียชีวิตจากหัวใจวาย ถึงร้อยละ 60-75 เนื่องจากหัวใจต้องทำงานหนักในการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย มีโอกาสเสียชีวิตจากเส้นเลือดสมองแตกหรืออุดตันร้อยละ 20-30

ทั้งยังมีโอกาสเสียชีวิตจากไตวายร้อยละ 5-10 ส่วนคนที่รอดชีวิตจะมีโอกาสเป็นอัมพาตมาก กว่าคนที่ความดันโลหิตปกติถึง 5 เท่า เนื่องจากเนื้อสมองตาย โดยมีคนไทยเสียชีวิตจากผลพวงของโรคความดันโลหิตสูงปีละ 48,000 ราย เฉลี่ยชั่วโมงละ 5 ราย และมีคนไทยเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ประมาณ 250,000 คน ซึ่งตัวเลขดังกล่าวถือเป็นข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขที่ส่งสัญญาณว่าคนไทยต้องตระหนักกับโรคดังกล่าวนี้เพิ่มมากขึ้น

ศ.นพ.วิรุฬห์ กล่าวต่อว่า สำหรับกลุ่มที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ ผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปี ผู้ที่กินอาหารรสเค็ม กินผักผลไม้น้อย ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ไม่ออกกำลังกาย หรือผู้ที่มีความครียดเรื้อรัง คนอ้วน สำหรับผู้ที่เป็นโรคนี้แล้ว ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่มียารักษาให้หายขาด มีเพียงยาควบคุมอาการ ซึ่งมีคนจำนวนมากที่เข้าใจผิดว่า โรคนี้รักษาหายขาด พอกินยาจนความดันโลหิตเป็นปกติแล้วก็เลิกกินยา

สำหรับตัวเลขผู้ป่วยความดันโลหิตทั่วทั้งโลก คือ สูงกว่าระดับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท อยู่ที่ประมาณ 1,000 ล้านคน และมีแนวโน้มที่เชื่อได้ว่าในอีก 17 ปีข้างหน้า จะมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มเป็น 1,600 ล้านคน

ขณะที่ประเทศไทยจากผลของการสำรวจสุขภาพครั้งล่าสุดในปี 2547 พบว่า ผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปที่มีประมาณ 51 ล้านคน มีความดันโลหิตสูงเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 22 หรือมีผู้ป่วยโรคความดัน โลหิตสูง รวม 11 ล้านคน ซึ่งพอที่จะสรุปได้ว่า คนไทยจะป่วยด้วยโรค ความดันโลหิตสูง ในอัตรา 5 ต่อ 1 และจากการซุ่มตรวจพบว่าร้อยละ 71 ไม่เคยตรวจวัดความดันโลหิตมาก่อน

ส่วนผู้ที่พบว่าตัวเองป่วยและมีอัตราในการดูแลตัวเอง และควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ระดับปกติไม่ถึงร้อยละ 20 ของจำนวนผู้ป่วยทั้งประเทศ
กำลังโหลดความคิดเห็น