ศูนย์ข่าวภูเก็ต - เทศบาลตำบลรัษฏาร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรม จัดงานสืบสานประเพณี ลอยเรือ ชาวไทยใหม่ บ้านแหลมตุ๊กแกภูเก็ต
วันนี้ (7 พ.ค.52) ณ ศาลาอาคารอเนกประสงค์บ้านแหลมตุ๊กแก หมู่ที่ 4 ตำบลรัษฏา อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายอำพล โอ่อาจ รองนายกเทศมนตรีตำบลรัษฏาเป็นประธานเปิดงานโครงการสืบสานวัฒนธรรมประเพณี ลอยเรือ ชาวไทยใหม่ โดยมีนางนิชมน เกศมณี ผอ.กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยประชาชนชาวไทยใหม่เข้าร่วม
นางนิชมน กล่าวว่า การจัดงานลอยเรือถือเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาเป็นเวลานาน เพื่อเป็นการเคารพบูชา ขอบคุณแม่ย่านางเรือ ขอบคุณท้องทะเลที่เป็นแหล่งทำมาหากินเลี้ยงชีพ และเป็นการสะเดาะเคราะห์ อีกทั้งเป็นการสืบสานงานประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นให้ดำรงคงอยู่ไม่สูญหาย เป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมของชาวไทยใหม่ให้คงคู่กับหมู่บ้าน และเป็นวัฒนธรรมตัวอย่างที่ดีงามให้แก่ลูกหลานสืบสานต่อไป
สำหรับการจัดงานสืบสานวัฒนธรรมประเพณี ลอยเรือ ชาวไทยใหม่ นั้นจัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง ในวันที่ 15ค่ำ เดือน6 และวันขึ้น15 ค่ำเดือน 11 ครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 2 โดยจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 6-8 พฤษภาคม 52 เพื่อให้คนในชุมชนได้มีโอกาสพบปะ หาคู่ของหนุ่มสาว และร่วมมือกันต่อเรือและตกแต่งเรือ
ด้านนางจิ้ว ประโมงกิจ ศิลปินแห่งชาติ ซึ่งเป็นชาวไทยใหม่บ้านแหลมตุ๊กแก กล่าวว่า ชาวเลเชื่อกันว่าวิญญาณที่ศักดิ์สิทธิ์สามารถดลบันดาลให้เกิดเป็นสิริมงคล อำนวยความสะดวกในการทำมาหากิน คุ้มครองชาวเลให้พ้นจากสิ่งชั่วร้าย จุดมุ่งหมายในการทำพิธีลอยเรือ คือการลอยบาป สะเดาะเคราะห์ เป็นการเสี่ยงทายในการอาชีพว่าจะเจริญก้าวหน้าหรือขาดแคลนดูได้จากเรือที่ลอยไปแล้ว ไม่ถูกคลื่นซัดเข้าฝั่งอย่างเดิม แสดงว่าชาวเลทั้งเกาะเป็นผู้โชคดีจับปลาได้ ทำมาหากินคล่อง ถ้าหากเรือที่ลอยไปถูกซัดเข้าหาฝั่งเหมือนเดิม แสดงว่าการทำมาหากินฝืดเคือง ประสบอุบัติเหตุถึงชีวิต
วันนี้ (7 พ.ค.52) ณ ศาลาอาคารอเนกประสงค์บ้านแหลมตุ๊กแก หมู่ที่ 4 ตำบลรัษฏา อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายอำพล โอ่อาจ รองนายกเทศมนตรีตำบลรัษฏาเป็นประธานเปิดงานโครงการสืบสานวัฒนธรรมประเพณี ลอยเรือ ชาวไทยใหม่ โดยมีนางนิชมน เกศมณี ผอ.กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยประชาชนชาวไทยใหม่เข้าร่วม
นางนิชมน กล่าวว่า การจัดงานลอยเรือถือเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาเป็นเวลานาน เพื่อเป็นการเคารพบูชา ขอบคุณแม่ย่านางเรือ ขอบคุณท้องทะเลที่เป็นแหล่งทำมาหากินเลี้ยงชีพ และเป็นการสะเดาะเคราะห์ อีกทั้งเป็นการสืบสานงานประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นให้ดำรงคงอยู่ไม่สูญหาย เป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมของชาวไทยใหม่ให้คงคู่กับหมู่บ้าน และเป็นวัฒนธรรมตัวอย่างที่ดีงามให้แก่ลูกหลานสืบสานต่อไป
สำหรับการจัดงานสืบสานวัฒนธรรมประเพณี ลอยเรือ ชาวไทยใหม่ นั้นจัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง ในวันที่ 15ค่ำ เดือน6 และวันขึ้น15 ค่ำเดือน 11 ครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 2 โดยจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 6-8 พฤษภาคม 52 เพื่อให้คนในชุมชนได้มีโอกาสพบปะ หาคู่ของหนุ่มสาว และร่วมมือกันต่อเรือและตกแต่งเรือ
ด้านนางจิ้ว ประโมงกิจ ศิลปินแห่งชาติ ซึ่งเป็นชาวไทยใหม่บ้านแหลมตุ๊กแก กล่าวว่า ชาวเลเชื่อกันว่าวิญญาณที่ศักดิ์สิทธิ์สามารถดลบันดาลให้เกิดเป็นสิริมงคล อำนวยความสะดวกในการทำมาหากิน คุ้มครองชาวเลให้พ้นจากสิ่งชั่วร้าย จุดมุ่งหมายในการทำพิธีลอยเรือ คือการลอยบาป สะเดาะเคราะห์ เป็นการเสี่ยงทายในการอาชีพว่าจะเจริญก้าวหน้าหรือขาดแคลนดูได้จากเรือที่ลอยไปแล้ว ไม่ถูกคลื่นซัดเข้าฝั่งอย่างเดิม แสดงว่าชาวเลทั้งเกาะเป็นผู้โชคดีจับปลาได้ ทำมาหากินคล่อง ถ้าหากเรือที่ลอยไปถูกซัดเข้าหาฝั่งเหมือนเดิม แสดงว่าการทำมาหากินฝืดเคือง ประสบอุบัติเหตุถึงชีวิต