ลำปาง – เหยื่อแม่เมาะ ประณาม กฟผ. ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองสั่งให้จ่ายค่าชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจากการทำโรงไฟฟ้าแม่เมาะ พร้อมสาบแช่ง ประกาศพร้อมรวมกลุ่มแฉพฤติการณ์ความไม่รับผิดชอบให้กับคนทั่วประเทศได้รับรู้ทุกพื้นที่ ที่ กฟผ.จะไปดำเนินโครงการเตรียมปรึกษาหาแนวทางการเคลื่อนไหวต่อ
นางมะลิวรรณ นาควิโรจน์ เลขาธิการเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง เปิดเผยว่า จากกรณีที่ศาลปกครองเชียงใหม่ มีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2552 ให้ กฟผ.จ่ายเงินค่าชดเชยความเสียหายเป็นค่าเสื่อมสุขภาพอนามัยและจิตใจแก่ชาวบ้านที่อยู่รอบๆ โรงไฟฟ้าแม่เมาะและเหมืองลิกไนต์แม่เมาะ จำนวน 477 ราย
โดยจำแนกตามพฤติการณ์และความร้ายแรงของการกระทำ ปริมาณและจำนวนครั้งที่ กฟผ.ปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ทำให้ได้รับผลกระทบ เพียง 131 ราย คือ 91 รายได้รับค่าชดเชย รายละ 246,900 บาท พร้อมดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 ต่อปี นับจากวันฟ้อง ซึ่งคนกลุ่มนี้พอใจ
ส่วนอีก 40 ราย ที่ศาลมีคำสั่งจ่ายเงินค่าชดเชยฯ เฉลี่ยรายละ10,000-20,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 และอีก 346 ราย ซึ่งเป็นกลุ่มที่ยื่นฟ้องทีหลัง ศาลมีคำสั่งไม่จ่ายเงินชดเชย จะขอยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลต่อไปนั้น
ปรากฏว่า ในวันนี้ (2 เม.ย.) ทาง กฟผ.ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองทุกประเด็น ทั้งๆที่ก่อนหน้านั้นทาง กฟผ.ได้ออกมาแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า จะไม่อุทธรณ์ในกรณีดังกล่าว แต่จะอุทธรณ์ในเรื่องพื้นที่ที่เป็นสนามกอล์ฟเท่านั้น ทำให้ความหวังของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบและต่อสู้กันมากว่า10 ปี ต้องยุติลง ทั้งๆ ที่ชาวบ้านที่เจ็บป่วยรอคอยเพื่อจะได้รับการเยี่ยวยา เพราะหากเป็นไปตามคำสั่งศาล วันจันทร์นี้ (6 เม.ย.) กฟผ.จะต้องนำเงินมามอบให้ศาลเพื่อจ่ายให้กับผู้เจ็บป่วยแล้ว แต่ทุกอย่างก็ต้องสลายไปทั้งหมด
“ชาวบ้านที่เจ็บป่วย มีความหวังว่าในวันจันทร์นี้จะได้รับเงิน เพื่อนำไปใช้ในการรักษาตัวเอง และบางคนก็จะโยกย้ายไปอยู่ที่อื่นเพราะอยู่ที่นี้ไม่ได้ แต่สุดท้ายความหวังเหล่านั้นก็ล่มสลายอีก ชาวบ้านขอสาบแช่งให้ผู้บริหาร กฟผ.ได้รับผลกรรม เหมือนที่พวกเขาได้รับ สงสารชาวบ้านมากเมื่อได้รับทราบข่าวนี้ถึงกับร้องให้ก็มี”
นางมะลิวรรณ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ชาวบ้านผิดหวัง บางคนถึงกับร้องไห้ เพราะไม่คิดว่า ผู้บริหาร กฟผ.จะไร้ซึ่งความรับผิดชอบ ไร้ซึ่งมนุษยธรรม เห็นเงินสำคัญกว่าคุณค่าความเป็นคนของชาวบ้าน แม้ กฟผ.จะมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามกำหมายก็ตาม ซึ่งชาวบ้านได้สาปแช่ง ขอให้ผลกรรมต่างๆจงตกไปอยู่กับผู้บริหารที่ดำเนินการเรื่องนี้ ขอให้บุคคลทั้งหลายได้รับผลกรรมมากกว่าที่ชาวบ้านได้รับ เพราะเวลานี้ความเชื่อมั่นใน กฟผ.ไม่มีอีกแล้ว
นางมะลิวรรณ บอกว่า กลุ่มผู้ป่วยฯจะนัดประชุมกันอีกครั้งในเร็วๆ นี้ เพื่อหารือถึงแนวทางการขับเคลื่อนต่อไป และต่อไปนี้หาก กฟผ.มีโครงการที่จะไปดำเนินการทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจะเดินทางไปให้ข้อเท็จจริงกับประชาชนในพื้นที่ทุกแห่ง เพื่อให้ชาวบ้านในพื้นที่ร่วมกันต่อต้าน เพราะหากปล่อยให้ กฟผ.ดำเนินการโดยขาดความรับผิดชอบเช่นนี้แล้ว สุดท้ายชาวบ้านก็ต้องประสบชะตากรรมแต่ฝ่ายเดียว โดยไม่มีใครเยียวยาและรับผิดชอบ
“อยากวิงวอนให้องค์กรสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม ลงมาช่วยชาวบ้านด้วย”
นางมะลิวรรณ นาควิโรจน์ เลขาธิการเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง เปิดเผยว่า จากกรณีที่ศาลปกครองเชียงใหม่ มีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2552 ให้ กฟผ.จ่ายเงินค่าชดเชยความเสียหายเป็นค่าเสื่อมสุขภาพอนามัยและจิตใจแก่ชาวบ้านที่อยู่รอบๆ โรงไฟฟ้าแม่เมาะและเหมืองลิกไนต์แม่เมาะ จำนวน 477 ราย
โดยจำแนกตามพฤติการณ์และความร้ายแรงของการกระทำ ปริมาณและจำนวนครั้งที่ กฟผ.ปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ทำให้ได้รับผลกระทบ เพียง 131 ราย คือ 91 รายได้รับค่าชดเชย รายละ 246,900 บาท พร้อมดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 ต่อปี นับจากวันฟ้อง ซึ่งคนกลุ่มนี้พอใจ
ส่วนอีก 40 ราย ที่ศาลมีคำสั่งจ่ายเงินค่าชดเชยฯ เฉลี่ยรายละ10,000-20,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 และอีก 346 ราย ซึ่งเป็นกลุ่มที่ยื่นฟ้องทีหลัง ศาลมีคำสั่งไม่จ่ายเงินชดเชย จะขอยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลต่อไปนั้น
ปรากฏว่า ในวันนี้ (2 เม.ย.) ทาง กฟผ.ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองทุกประเด็น ทั้งๆที่ก่อนหน้านั้นทาง กฟผ.ได้ออกมาแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า จะไม่อุทธรณ์ในกรณีดังกล่าว แต่จะอุทธรณ์ในเรื่องพื้นที่ที่เป็นสนามกอล์ฟเท่านั้น ทำให้ความหวังของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบและต่อสู้กันมากว่า10 ปี ต้องยุติลง ทั้งๆ ที่ชาวบ้านที่เจ็บป่วยรอคอยเพื่อจะได้รับการเยี่ยวยา เพราะหากเป็นไปตามคำสั่งศาล วันจันทร์นี้ (6 เม.ย.) กฟผ.จะต้องนำเงินมามอบให้ศาลเพื่อจ่ายให้กับผู้เจ็บป่วยแล้ว แต่ทุกอย่างก็ต้องสลายไปทั้งหมด
“ชาวบ้านที่เจ็บป่วย มีความหวังว่าในวันจันทร์นี้จะได้รับเงิน เพื่อนำไปใช้ในการรักษาตัวเอง และบางคนก็จะโยกย้ายไปอยู่ที่อื่นเพราะอยู่ที่นี้ไม่ได้ แต่สุดท้ายความหวังเหล่านั้นก็ล่มสลายอีก ชาวบ้านขอสาบแช่งให้ผู้บริหาร กฟผ.ได้รับผลกรรม เหมือนที่พวกเขาได้รับ สงสารชาวบ้านมากเมื่อได้รับทราบข่าวนี้ถึงกับร้องให้ก็มี”
นางมะลิวรรณ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ชาวบ้านผิดหวัง บางคนถึงกับร้องไห้ เพราะไม่คิดว่า ผู้บริหาร กฟผ.จะไร้ซึ่งความรับผิดชอบ ไร้ซึ่งมนุษยธรรม เห็นเงินสำคัญกว่าคุณค่าความเป็นคนของชาวบ้าน แม้ กฟผ.จะมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามกำหมายก็ตาม ซึ่งชาวบ้านได้สาปแช่ง ขอให้ผลกรรมต่างๆจงตกไปอยู่กับผู้บริหารที่ดำเนินการเรื่องนี้ ขอให้บุคคลทั้งหลายได้รับผลกรรมมากกว่าที่ชาวบ้านได้รับ เพราะเวลานี้ความเชื่อมั่นใน กฟผ.ไม่มีอีกแล้ว
นางมะลิวรรณ บอกว่า กลุ่มผู้ป่วยฯจะนัดประชุมกันอีกครั้งในเร็วๆ นี้ เพื่อหารือถึงแนวทางการขับเคลื่อนต่อไป และต่อไปนี้หาก กฟผ.มีโครงการที่จะไปดำเนินการทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจะเดินทางไปให้ข้อเท็จจริงกับประชาชนในพื้นที่ทุกแห่ง เพื่อให้ชาวบ้านในพื้นที่ร่วมกันต่อต้าน เพราะหากปล่อยให้ กฟผ.ดำเนินการโดยขาดความรับผิดชอบเช่นนี้แล้ว สุดท้ายชาวบ้านก็ต้องประสบชะตากรรมแต่ฝ่ายเดียว โดยไม่มีใครเยียวยาและรับผิดชอบ
“อยากวิงวอนให้องค์กรสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม ลงมาช่วยชาวบ้านด้วย”