มหาสารคาม - เกษตรจังหวัดมหาสารคาม หวั่นพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังกว่า 1 แสนไร่ เสี่ยงขาดแคลนน้ำ กำชับเจ้าหน้าที่ทุกอำเภอ/ตำบล ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งอย่างใกล้ชิด ด้าน ธ.ก.ส.มหาสารคาม คาดภัยแล้งปีนี้ยาวนาน พร้อมให้ความช่วยเหลือกับเกษตรกรที่ประสบภัย
นายวิบูลย์ วงศ์มาศา เกษตรจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า ในฤดูการทำนาปีที่ผ่านมานาข้าวเกษตรกรหลายรายในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำชีถูกน้ำท่วมเสียหาย เกษตรกรจึงได้ปลูกข้าวนาปรังทดแทนกันมาก โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอเมือง,โกสุมพิสัย, กันทรวิชัย และอำเภอเชียงยืน รวมพื้นที่กว่า 100,000 ไร่ ซึ่งจะทำให้เกษตรกรเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำสำหรับหล่อเลี้ยงต้นข้าว โดยเฉพาะในระยะแตกกอ และออกรวง
หากการบริหารจัดการน้ำไม่ดีจะสร้างความเสียหายให้แก่เกษตรกร เนื่องจากในช่วงฤดูฝนที่ผ่านมาปริมาณฝนที่ตกน้อย และไม่กระจายครอบคลุมทุกพื้นที่ ปริมาณเก็บกักน้ำในแหล่งน้ำมีน้อย เพื่อลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นเกษตรกรไม่ควรปลูกข้าวนาปรังในรุ่นที่ 2 โดยเฉพาะเกษตรกรที่อาศัยน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติที่ไม่ใช่สายหลักจะมีความเสี่ยงสูง ควรหันไปปลูกพืชผักที่ใช้น้ำน้อยแต่ให้ผลตอบแทนต่อไร่สูงสร้างรายได้ทดแทน
อย่างไรก็ตาม เพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ภัยแล้งดังกล่าวได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ทุกอำเภอ และทุกตำบล ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งอย่างใกล้ชิด หากพบพืชผลเกษตรกรที่ได้รับความเสียหายไม่ใช่เฉพาะข้าวนาปรัง แต่ยังรวมถึงพืชไร่ ไม้ผล และพืชอื่นๆที่เกษตรกรได้รับความเสียหาย ก็พร้อมที่จะทำการสำรวจและให้ความช่วยเหลือเกษตรกรตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต่อไป
ด้าน นายณรงค์ งามพริ้ง ผู้อำนวยการสำนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า ขณะนี้ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามได้แก้ปัญหาภัยแล้งขึ้นในหลายพื้นที่ ซึ่งคาดว่าภัยแล้งจะยาวนานกว่าทุกปี เนื่องจากสภาวะโลกร้อน จากการประชุมกับหัวหน้าส่วนราชการที่รับผิดชอบในเรื่องน้ำ คาดว่าน้ำที่ใช้ในการอุปโภคยังมีเพียงพอต่อการทำเกษตรกรรม
หากมีฝนตกลงมาเกษตรกรคงเริ่มลงทุนทำการเกษตรตามปกติ แต่หากเกิดปัญหาฝนทิ้งช่วง หรือภัยแล้งอย่างหนัก พื้นที่การเกษตรเสียหายเกินร้อยละ 50 ทาง ธ.ก.ส.จะเข้าไปสำรวจ และรายงานส่วนกลาง เพื่อขอความช่วยเหลือ และดำเนินการพักชำระหนี้ให้แก่เกษตรกรเป็นระยะเวลา 3 ปี โดยไม่คิดดอกเบี้ย และจะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้พิจารณา
ทั้งนี้ หากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้ต้องการเงินลงทุนก็ยังสามารถกู้เงินจากธนาคารนำไปลงทุนเพิ่มได้ตามปกติ โดยธนาคารพร้อมให้ความช่วยเหลือการประกอบอาชีพของเกษตรกรอย่างเต็มที่
นายวิบูลย์ วงศ์มาศา เกษตรจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า ในฤดูการทำนาปีที่ผ่านมานาข้าวเกษตรกรหลายรายในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำชีถูกน้ำท่วมเสียหาย เกษตรกรจึงได้ปลูกข้าวนาปรังทดแทนกันมาก โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอเมือง,โกสุมพิสัย, กันทรวิชัย และอำเภอเชียงยืน รวมพื้นที่กว่า 100,000 ไร่ ซึ่งจะทำให้เกษตรกรเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำสำหรับหล่อเลี้ยงต้นข้าว โดยเฉพาะในระยะแตกกอ และออกรวง
หากการบริหารจัดการน้ำไม่ดีจะสร้างความเสียหายให้แก่เกษตรกร เนื่องจากในช่วงฤดูฝนที่ผ่านมาปริมาณฝนที่ตกน้อย และไม่กระจายครอบคลุมทุกพื้นที่ ปริมาณเก็บกักน้ำในแหล่งน้ำมีน้อย เพื่อลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นเกษตรกรไม่ควรปลูกข้าวนาปรังในรุ่นที่ 2 โดยเฉพาะเกษตรกรที่อาศัยน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติที่ไม่ใช่สายหลักจะมีความเสี่ยงสูง ควรหันไปปลูกพืชผักที่ใช้น้ำน้อยแต่ให้ผลตอบแทนต่อไร่สูงสร้างรายได้ทดแทน
อย่างไรก็ตาม เพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ภัยแล้งดังกล่าวได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ทุกอำเภอ และทุกตำบล ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งอย่างใกล้ชิด หากพบพืชผลเกษตรกรที่ได้รับความเสียหายไม่ใช่เฉพาะข้าวนาปรัง แต่ยังรวมถึงพืชไร่ ไม้ผล และพืชอื่นๆที่เกษตรกรได้รับความเสียหาย ก็พร้อมที่จะทำการสำรวจและให้ความช่วยเหลือเกษตรกรตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต่อไป
ด้าน นายณรงค์ งามพริ้ง ผู้อำนวยการสำนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า ขณะนี้ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามได้แก้ปัญหาภัยแล้งขึ้นในหลายพื้นที่ ซึ่งคาดว่าภัยแล้งจะยาวนานกว่าทุกปี เนื่องจากสภาวะโลกร้อน จากการประชุมกับหัวหน้าส่วนราชการที่รับผิดชอบในเรื่องน้ำ คาดว่าน้ำที่ใช้ในการอุปโภคยังมีเพียงพอต่อการทำเกษตรกรรม
หากมีฝนตกลงมาเกษตรกรคงเริ่มลงทุนทำการเกษตรตามปกติ แต่หากเกิดปัญหาฝนทิ้งช่วง หรือภัยแล้งอย่างหนัก พื้นที่การเกษตรเสียหายเกินร้อยละ 50 ทาง ธ.ก.ส.จะเข้าไปสำรวจ และรายงานส่วนกลาง เพื่อขอความช่วยเหลือ และดำเนินการพักชำระหนี้ให้แก่เกษตรกรเป็นระยะเวลา 3 ปี โดยไม่คิดดอกเบี้ย และจะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้พิจารณา
ทั้งนี้ หากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้ต้องการเงินลงทุนก็ยังสามารถกู้เงินจากธนาคารนำไปลงทุนเพิ่มได้ตามปกติ โดยธนาคารพร้อมให้ความช่วยเหลือการประกอบอาชีพของเกษตรกรอย่างเต็มที่