ตราด -จังหวัดตราดแก้ปัญหาราคาผลไม้ตกต่ำ สร้างตลาดผลไม้ตราดสู่ตลาดภายในและนอกประเทศ
นายประทีป จงสืบธรรม รองผู้ว่าราชการ จ.ตราด ที่ดุแลและรับผิดชอบในเรื่องเศรษฐกิจได้เปิดเผยถึง แนวทางการรับมือกับปัญหาราคาผลไม้ตกต่ำไว้ในหลายรูปแบบ แต่รูปแบบหนึ่งที่ประสบผลสำเร็จมากก็คือ การส่งผลไม้ไปจำหน่ายในประเทศเพื่อนบ้านและในจังหวัดต่างๆ ของประเทศไทย
“ผมและคณะจากจังหวัดตราดนำโดยพาณิชย์จังหวัด การค้าภายใน เกษตรจังหวัด หรือภาคเอกชน ทั้งหอการค้าจังหวัด รวมทั้งชาวสวนผลไม้เดินทางไปที่จังหวัดในภาคใต้ เช่น สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และนครปฐม เพื่อไปทำสัญญาค้าขายล่วงหน้ากับกลุ่มนักธุรกิจและภาคราชการของแต่ละจังหวัด ในการเสนอขายผลไม้จาก จ.ตราด ซึ่งในแต่ละจังหวัดก็มีผลไม้ที่เหมือนและคล้ายกับของ จ.ตราด แต่ช่วงเวลาออกผลผลิตจะล่าช้ากว่าของ จ.ตราด ทำให้สามารถซื้อ-ขาย ช่วยกันได้ ปรากฏว่าสามารถทำสัญญาขายได้ถึง 200 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลสำเร็จที่น่า พอใจ”
นายประทีปกล่าวอีกว่า ในปลายเดือนมีนาคมนี้ก็จะเป็นหัวหน้าคณะนำส่วนราชการและภาคเอกชนไป ที่กัมพูชาเพื่อเจรจาการค้าผลไม้เหมือนทุกปีที่ได้เคยกระทำมา ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เดินทางไปใน 5 จังหวัดของกัมพูชา ก็ได้รับคำสั่งซื้อมา 2,00-3,000 ตัน แต่ปัญหาที่พบก็คือ ชาวสวนผลไม้ไม่รักษาคุณภาพของผลไม้ มีการปลอมปน ผลไม้ที่ยังไม่สุกมาขายปนกับผลไม้ที่มีคุณภาพทำให้เสียภาพลักษณ์ และความเชื่อ ถือจากพ่อค้าที่รับซื้อไปมาก ซึ่งอยากเตือนไปยังชาวสวนว่าอย่าเห็นแก่ตัว หากทำเช่นนี้จะทำให้ จ.ตราด เสียชื่อ เพราะไม่สามารถรู้ได้ว่าผลไม้ที่ไม่มีคุณภาพเป็นของใคร จึงส่งภาพเสียในส่วนรวมก็คือจังหวัดตราดนั่นเอง
นายประทีป จงสืบธรรม รองผู้ว่าราชการ จ.ตราด ที่ดุแลและรับผิดชอบในเรื่องเศรษฐกิจได้เปิดเผยถึง แนวทางการรับมือกับปัญหาราคาผลไม้ตกต่ำไว้ในหลายรูปแบบ แต่รูปแบบหนึ่งที่ประสบผลสำเร็จมากก็คือ การส่งผลไม้ไปจำหน่ายในประเทศเพื่อนบ้านและในจังหวัดต่างๆ ของประเทศไทย
“ผมและคณะจากจังหวัดตราดนำโดยพาณิชย์จังหวัด การค้าภายใน เกษตรจังหวัด หรือภาคเอกชน ทั้งหอการค้าจังหวัด รวมทั้งชาวสวนผลไม้เดินทางไปที่จังหวัดในภาคใต้ เช่น สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และนครปฐม เพื่อไปทำสัญญาค้าขายล่วงหน้ากับกลุ่มนักธุรกิจและภาคราชการของแต่ละจังหวัด ในการเสนอขายผลไม้จาก จ.ตราด ซึ่งในแต่ละจังหวัดก็มีผลไม้ที่เหมือนและคล้ายกับของ จ.ตราด แต่ช่วงเวลาออกผลผลิตจะล่าช้ากว่าของ จ.ตราด ทำให้สามารถซื้อ-ขาย ช่วยกันได้ ปรากฏว่าสามารถทำสัญญาขายได้ถึง 200 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลสำเร็จที่น่า พอใจ”
นายประทีปกล่าวอีกว่า ในปลายเดือนมีนาคมนี้ก็จะเป็นหัวหน้าคณะนำส่วนราชการและภาคเอกชนไป ที่กัมพูชาเพื่อเจรจาการค้าผลไม้เหมือนทุกปีที่ได้เคยกระทำมา ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เดินทางไปใน 5 จังหวัดของกัมพูชา ก็ได้รับคำสั่งซื้อมา 2,00-3,000 ตัน แต่ปัญหาที่พบก็คือ ชาวสวนผลไม้ไม่รักษาคุณภาพของผลไม้ มีการปลอมปน ผลไม้ที่ยังไม่สุกมาขายปนกับผลไม้ที่มีคุณภาพทำให้เสียภาพลักษณ์ และความเชื่อ ถือจากพ่อค้าที่รับซื้อไปมาก ซึ่งอยากเตือนไปยังชาวสวนว่าอย่าเห็นแก่ตัว หากทำเช่นนี้จะทำให้ จ.ตราด เสียชื่อ เพราะไม่สามารถรู้ได้ว่าผลไม้ที่ไม่มีคุณภาพเป็นของใคร จึงส่งภาพเสียในส่วนรวมก็คือจังหวัดตราดนั่นเอง