พะเยา - ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยาแนะเกษตรกรที่ทำการเกษตรหันมาปลูกพืชอายุสั้นและใช้น้ำน้อยแทนการปลูกข้าวนาปรัง หลังปริมาณแหล่งน้ำที่สำคัญของจังหวัดพะเยาเริ่มมีปริมาณลดลง
นางสาวเรืองวรรณ บัวนุช ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา เปิดเผยว่า จากการที่ได้มีการประกาศพื้นที่ประสบภัยแล้งในหลายอำเภอ ทางจังหวัดก็ได้มีการเร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือ โดยเฉพาะเรื่องของแหล่งน้ำ ซึ่งถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะจากการตรวจวัดปริมาณแหล่งน้ำกว๊านพะเยา โดยชลประทานจังหวัดพะเยาได้มีการรายงานว่า มีปริมาณน้ำคงเหลือทั้งหมดขณะนี้จำนวน 391.89 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยตามมาตรฐานจะต้องไม่ต่ำกว่า 390 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเห็นได้ว่ามีอัตราส่วนที่ใกล้เคียงจึงมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีการบริหารจัดการให้ดี เพื่อจะได้มีน้ำไว้ใช้เมื่อถึงช่วงฤดูแล้งอย่างเพียงพอ
สำหรับวิธีการแก้ไขปัญหาด้านการเพาะปลูกให้แก่เกษตรกรในกรณีที่แหล่งน้ำมีปริมาณน้อยลง คือ การให้เกษตรกรหันมาปลูกพืชที่มีอายุสั้นตลอดจนใช้น้ำน้อย ทดแทนการปลูกข้าวนาปรัง ที่สามารถสร้างรายได้ ซึ่งพืชที่แนะนำได้แก่ ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ข้าวโพด ทานตะวัน และพืชผักต่าง ๆ เพราะพืชไร่อายุสั้นเหล่านี้ใช้น้ำน้อยเพียง 300-400 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ แต่ถ้าทำนาข้าวจะต้องใช้น้ำมากถึง 5 เท่า คือ 1,500-2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่
ทั้งนี้การปลูกพืชอายุสั้น
นอกจากจะแก้ปัญหาเรื่องขาดแคลนน้ำโดยตรงแล้ว ยังมีประโยชน์อีกมากมาย คือ เป็นการตัดวงจรชีวิตของศัตรูข้าว เช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคไหม้คอรวง เป็นต้น เป็นการปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพของดินให้ดีขึ้น ตลอดจนลดการเสี่ยงเนื่องจากผลผลิตนาปรังอาจเสียหายเมื่อน้ำไม่เพียงพอเกษตรกรจะมีรายได้ชดเชย หรือได้มากกว่าการทำนาปรัง นอกจากนี้ขอเตือนให้ประชาชนและเกษตรกรใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อให้มีน้ำใช้ในการอุปโภค บริโภค และทำการเกษตรเพียงพอตลอดฤดูแล้ง
นางสาวเรืองวรรณ บัวนุช ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา เปิดเผยว่า จากการที่ได้มีการประกาศพื้นที่ประสบภัยแล้งในหลายอำเภอ ทางจังหวัดก็ได้มีการเร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือ โดยเฉพาะเรื่องของแหล่งน้ำ ซึ่งถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะจากการตรวจวัดปริมาณแหล่งน้ำกว๊านพะเยา โดยชลประทานจังหวัดพะเยาได้มีการรายงานว่า มีปริมาณน้ำคงเหลือทั้งหมดขณะนี้จำนวน 391.89 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยตามมาตรฐานจะต้องไม่ต่ำกว่า 390 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเห็นได้ว่ามีอัตราส่วนที่ใกล้เคียงจึงมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีการบริหารจัดการให้ดี เพื่อจะได้มีน้ำไว้ใช้เมื่อถึงช่วงฤดูแล้งอย่างเพียงพอ
สำหรับวิธีการแก้ไขปัญหาด้านการเพาะปลูกให้แก่เกษตรกรในกรณีที่แหล่งน้ำมีปริมาณน้อยลง คือ การให้เกษตรกรหันมาปลูกพืชที่มีอายุสั้นตลอดจนใช้น้ำน้อย ทดแทนการปลูกข้าวนาปรัง ที่สามารถสร้างรายได้ ซึ่งพืชที่แนะนำได้แก่ ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ข้าวโพด ทานตะวัน และพืชผักต่าง ๆ เพราะพืชไร่อายุสั้นเหล่านี้ใช้น้ำน้อยเพียง 300-400 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ แต่ถ้าทำนาข้าวจะต้องใช้น้ำมากถึง 5 เท่า คือ 1,500-2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่
ทั้งนี้การปลูกพืชอายุสั้น
นอกจากจะแก้ปัญหาเรื่องขาดแคลนน้ำโดยตรงแล้ว ยังมีประโยชน์อีกมากมาย คือ เป็นการตัดวงจรชีวิตของศัตรูข้าว เช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคไหม้คอรวง เป็นต้น เป็นการปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพของดินให้ดีขึ้น ตลอดจนลดการเสี่ยงเนื่องจากผลผลิตนาปรังอาจเสียหายเมื่อน้ำไม่เพียงพอเกษตรกรจะมีรายได้ชดเชย หรือได้มากกว่าการทำนาปรัง นอกจากนี้ขอเตือนให้ประชาชนและเกษตรกรใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อให้มีน้ำใช้ในการอุปโภค บริโภค และทำการเกษตรเพียงพอตลอดฤดูแล้ง