เชียงราย - กรรมการ อบต.โอดพิษ “ไทยรักไทย” ยังหลอนอยู่ ร้องทุจริตผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอมเงินโบนัสพนักงานข้ามปีไม่มีคืบ สาวพบเส้นใหญ่เป็นเด็กในสังกัด 111 ทรท.ในพื้นที่ วอน ปปช.ยื่นมือสอบทุจริตช่วยอีกทาง
นายยรรยงค์ พรหมใจ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการองค์การบริหารส่วนตำบล จ.เชียงราย เปิดเผยว่า ตนได้ตรวจสอบพบความไม่ชอบมาพากลในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เมืองพาน อ.พาน จ.เชียงราย ดังนั้นจึงได้ทำหนังสือไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ตั้งแต่วันที่ 20 ก.พ.2551 แต่ปรากฏว่าจนถึงปัจจุบันยังไม่มีการดำเนินเอาผิดกับบุคคลใด
ความไม่ชอบมาพากลดังกล่าวเกิดจากการที่ผู้บริหารโรงเรียนบ้านดอยตัน ซึ่งสังกัด อบต.เมืองพาน ร้องเรียนว่าหลังจากผู้บริหารท้องถิ่นได้อนุมัติให้จ่ายเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษ หรือเงินโบนัส ให้กับพนักงานและลูกจ้างในระดับต่างๆ โดยมีการประชุมกันในองค์กรเพื่อให้ผู้บริหารได้ 3 เท่าแต่จะหัก 10% เพื่อนำไปจ่ายให้กับพนักงานและลูกจ้างที่ไม่เข้าข่ายได้รับโบนัส ซึ่งหลังการหัก 10% แล้ว จึงมีการนำเงินไปมอบให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเคราะห์นโยบายและแผนเป็นจำนวนเงินรวม 130,646 บาท เพื่อให้นำไปมอบให้กับพนักงานและลูกจ้างดังกล่าวต่อไป
นายยรรยงค์ กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบไปยังลูกจ้าง ปรากฏว่าพวกเขายังไม่ได้รับเงินโบนัสดังกล่าวแต่อย่างใด เมื่อสอบถามไปยังเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบก็อ้างว่าได้นำไปมอบให้กับผู้บริหารจนหมดแล้ว ดังนั้น ตนจึงยื่นหนังสือถึงจังหวัดและขอให้มีการย้ายเจ้าหน้าที่บางคน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องให้ออกไปจากพื้นที่ก่อน เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบและป้องกันการข่มขู่
ปรากฏว่าจังหวัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ และมอบหมายให้อ.พาน เป็นฝ่ายดำเนินการ ซึ่งได้ผลสรุปเพียงว่าเรื่องนี้เกิดจากความเข้าใจผิด และน่าสังเกตว่า การตรวจสอบกลับไม่ได้มีการเรียกให้ผู้ร้องไปสอบปากคำเลยแม้แต่คนเดียว ดังนั้น ตนจึงได้คัดค้านคำตัดสินและขอสำเนาการตรวจสอบ เพื่อจะนำส่งต่อไปให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.ให้ช่วยเข้าไปตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งแล้ว
นายยรรยงค์ กล่าวอีกว่า ฝ่ายบริหาร อบต.เมืองพาน บางคนได้รับการสนับสนุนจากนักการเมืองระดับชาติซึ่งเป็นอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ซึ่งแม้จะถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมืองไปแล้ว แต่ก็ยังมีบทบาทโดยสังเกตได้ จากกรรมการที่เข้ามาตรวจสอบเรื่องนี้บางคนเป็นผู้ที่ได้รับการสนับสนุนจากนักการเมืองคนนี้ ทำให้น่าสงสัยว่าเรื่องนี้มีการช่วยเหลือกันหรือไม่ ตนจึงหวังว่า ป.ป.ช.จะเป็นที่พึ่งสุดท้าย ในการตรวจสอบการทุจริตในระดับท้องถิ่นดังกล่าว
นายยรรยงค์ พรหมใจ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการองค์การบริหารส่วนตำบล จ.เชียงราย เปิดเผยว่า ตนได้ตรวจสอบพบความไม่ชอบมาพากลในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เมืองพาน อ.พาน จ.เชียงราย ดังนั้นจึงได้ทำหนังสือไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ตั้งแต่วันที่ 20 ก.พ.2551 แต่ปรากฏว่าจนถึงปัจจุบันยังไม่มีการดำเนินเอาผิดกับบุคคลใด
ความไม่ชอบมาพากลดังกล่าวเกิดจากการที่ผู้บริหารโรงเรียนบ้านดอยตัน ซึ่งสังกัด อบต.เมืองพาน ร้องเรียนว่าหลังจากผู้บริหารท้องถิ่นได้อนุมัติให้จ่ายเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษ หรือเงินโบนัส ให้กับพนักงานและลูกจ้างในระดับต่างๆ โดยมีการประชุมกันในองค์กรเพื่อให้ผู้บริหารได้ 3 เท่าแต่จะหัก 10% เพื่อนำไปจ่ายให้กับพนักงานและลูกจ้างที่ไม่เข้าข่ายได้รับโบนัส ซึ่งหลังการหัก 10% แล้ว จึงมีการนำเงินไปมอบให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเคราะห์นโยบายและแผนเป็นจำนวนเงินรวม 130,646 บาท เพื่อให้นำไปมอบให้กับพนักงานและลูกจ้างดังกล่าวต่อไป
นายยรรยงค์ กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบไปยังลูกจ้าง ปรากฏว่าพวกเขายังไม่ได้รับเงินโบนัสดังกล่าวแต่อย่างใด เมื่อสอบถามไปยังเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบก็อ้างว่าได้นำไปมอบให้กับผู้บริหารจนหมดแล้ว ดังนั้น ตนจึงยื่นหนังสือถึงจังหวัดและขอให้มีการย้ายเจ้าหน้าที่บางคน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องให้ออกไปจากพื้นที่ก่อน เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบและป้องกันการข่มขู่
ปรากฏว่าจังหวัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ และมอบหมายให้อ.พาน เป็นฝ่ายดำเนินการ ซึ่งได้ผลสรุปเพียงว่าเรื่องนี้เกิดจากความเข้าใจผิด และน่าสังเกตว่า การตรวจสอบกลับไม่ได้มีการเรียกให้ผู้ร้องไปสอบปากคำเลยแม้แต่คนเดียว ดังนั้น ตนจึงได้คัดค้านคำตัดสินและขอสำเนาการตรวจสอบ เพื่อจะนำส่งต่อไปให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.ให้ช่วยเข้าไปตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งแล้ว
นายยรรยงค์ กล่าวอีกว่า ฝ่ายบริหาร อบต.เมืองพาน บางคนได้รับการสนับสนุนจากนักการเมืองระดับชาติซึ่งเป็นอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ซึ่งแม้จะถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมืองไปแล้ว แต่ก็ยังมีบทบาทโดยสังเกตได้ จากกรรมการที่เข้ามาตรวจสอบเรื่องนี้บางคนเป็นผู้ที่ได้รับการสนับสนุนจากนักการเมืองคนนี้ ทำให้น่าสงสัยว่าเรื่องนี้มีการช่วยเหลือกันหรือไม่ ตนจึงหวังว่า ป.ป.ช.จะเป็นที่พึ่งสุดท้าย ในการตรวจสอบการทุจริตในระดับท้องถิ่นดังกล่าว