xs
xsm
sm
md
lg

โรงเรียนห้วยเม็ก จ.กาฬสินธุ์ปลูกข้าวโพดวิจัยสู้ภัยแล้งสำเร็จ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายวีระศักดิ์ กุญชนะรงค์ ผอ.ร.ร.หัวหินวัฒนาลัย อ.ห้วยเม็ก จ.กาฬสินธุ์ นายอิทธิพล พลโคกก่อง หัวหน้ากลุ่มสาระเรียนรู้เทคโนโลยี่ประจำโรงเรียน นำนักเรียนทำการวิจัยปลูกข้าวโพดประจำฤดูแล้ง โดยใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ ที่ค้นพบว่าใช้ปุ๋ยคอกจากมูลสุกรจะให้ผลผลิตเร็ว ที่จะเป็นการสร้างงานสร้างรายได้ นำความรู้ขยายผลสู่ชุมชน แก้ปัญหาความยากจนและการว่างงานในฤดูแล้งได้สำเร็จ
กาฬสินธุ์ - ครูและนักเรียนในถิ่นทุรกันดารที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ทำการวิจัยปลูกพืชฤดูแล้งโดยใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ ที่ค้นพบว่าใช้ปุ๋ยคอกจากมูลสุกรจะให้ผลผลิตเร็ว ที่จะเป็นการสร้างงานสร้างรายได้ นำความรู้ขยายผลสู่ชุมชน แก้ปัญหาความยากจนและการว่างงานในฤดูแล้งได้สำเร็จ สนองพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่โรงเรียนหัวหินวัฒนาลัย อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ นายวีระศักดิ์ กุญชนะรงค์ ผู้อำนวยการโรงเรียนฯ นายอิทธิพล พลโคกก่อง หัวหน้ากลุ่มสาระเรียนรู้เทคโนโลยี่ประจำโรงเรียนฯ นำนักเรียนทำการวิจัยการใช้ปุ๋ยคอกในแปลงปลูกข้าวโพด เพื่อนำประโยชน์ขยายผลสู่ชุมชน ที่เป็นการประหยัดรายจ่าย สร้างรายได้ในฤดูแล้ง สนองพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

นายวีระศักดิ์ กุญชนะรงค์ ผู้อำนวยการโรงเรียนหัวหินวัฒนาลัยกล่าวว่า เนื่องจากเป็นพื้นที่ในโซนแห้งแล้ง นอกเขตชลประทาน ทำให้ผู้ปกครองของนักเรียนฯเกิดการว่างงานในฤดูแล้ง มีหลายครอบครัวที่ต้องทิ้งบุตรหลานไว้ที่บ้าน ไปขายแรงงานที่ต่างจังหวัด ที่อาจเป็นปัญหาต่อเนื่องถึงคุณภาพชีวิตและการศึกษาเล่าเรียนของบุตรหลาน จึงสนับสนุนให้กลุ่มสาระเรียนรู้เทคโนโลยี่ฯ ทำการวิจัยปลูกพืชเศรษฐกิจประจำฤดูแล้ง ที่ใช้น้ำน้อยและให้ผลผลิตเร็ว เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน ที่จะเป็นแนวทางแก้ปัญหาการว่างงานและสร้างรายได้เสริมอย่างยั่งยืน

นายอิทธิพล พลโคกก่อง หัวหน้ากลุ่มฯครูผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวว่า ข้าวโพดเป็นพืชเศรษฐกิจประจำฤดูแล้ง ที่นิยมปลูกกันมาก เนื่องจากมีอายุสั้น ต้องการน้ำน้อย ให้ผลผลิตเร็ว และเพื่อเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน แก้ปัญหาความยากจนให้กับพ่อแม่ผู้ปกครอง โดยเฉพาะเป็นการลดต้นทุนการผลิต ตามแนวพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ให้ผลผลิตที่ปลอดภัย ไร้สารพิษตกค้าง จึงได้ทำการวิจัยการให้ปุ๋ยต่างชนิดกัน 5 ชนิด ประกอบด้วยปุ๋ยคอกมูลวัว มูลควาย มูลสุกร มูลไก่พื้นบ้าน และปุ๋ยเคมี

ทั้งนี้เพื่อการเปรียบเทียบ ผลการวิจัยพบว่าแปลงข้าวโพดที่ใช้ปุ๋ยมูลสุกร จะให้ผลผลิตที่รวดเร็วกว่าปุ๋ยชนิดอื่น โดยอายุเท่ากันจะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน การปลูกข้าวโดยใช้มูลสุกรบำรุง จึงเป็นทางเลือกใหม่ของการใช้ปุ๋ยที่ประหยัด ให้ผลผลิตเร็ว สามารถที่จะนำไปใช้ในการปลูกพืชหน้าแล้งชนิดอื่นๆได้ ในอนาคตเชื่อว่าเกษตรกรจะหันมาใช้ปุ๋ยคอกจากมูลสุกรมากขึ้น โดยโรงเรียนจะเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน เพื่อช่วยแก้ปัญหาความยากจนและปัญหาการว่างงานในฤดูแล้งให้กับผู้ปกครองนักเรียนต่อไป
กำลังโหลดความคิดเห็น