ฉะเชิงเทรา - “รมว.พลังงาน” เป็นประธานในพิธีขนานเครื่องโรงไฟฟ้าบางปะกงชุดที่ 5 รองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เติบโตขึ้น เสริมศักยภาพความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศ ขณะที่ผู้ว่าการ กฟผ.ย้ำเป็นโรงงานไฟฟ้าที่ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม รวมถึงให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตสังคมและสิ่งแวดล้อมของชุมชนตลอดไป
วันนี้ (30 ม.ค.) นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีขนานเครื่องโรงไฟฟ้าบางปะกงชุดที่ 5 เข้าสู่ระบบการจ่ายไฟฟ้า โดยมีนายพรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงาน และประธานกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) นายสมบัติ ศานติจารี ผู้ว่าการ กฟผ.ให้การต้อนรับและมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชนที่เกี่ยวข้อง สื่อมวลชน ตลอดจนชุมชนบริเวณรอบโรงไฟฟ้าบางปะกง ร่วมเป็นสักขีพยานในงานพิธี
นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล กล่าวว่า โรงไฟฟ้าบางปะกงชุดที่ 5 เป็นโครงการที่บรรจุอยู่ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2547-2558 (Power Development Plan : PDP 2004) โดยคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ กฟผ.ดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2549 เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นของทั้งภาคครัวเรือน ภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมในแถบภาคตะวันออก ตลอดจนเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงในระบบไฟฟ้าให้กับประเทศอีกด้วย
โรงไฟฟ้าบางปะกง ชุดที่ 5 เป็นโรงไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ มีความเหมาะสมทั้งในด้านสถานที่ตั้งและการเลือกใช้เชื้อเพลิง โดยเป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง และมีที่ตั้งอยู่ใกล้ศูนย์กลางการใช้ไฟฟ้า ทั้งภาคครัวเรือน และภาคอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก ทำให้ลดความสูญเสีย และลดการลงทุนในด้านระบบการส่งไฟฟ้า นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับมาตรฐานด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม ทำให้สามารถมั่นใจได้ว่าจะเป็นโรงไฟฟ้าสะอาด ไม่สร้างปัญหาด้านมลภาวะและสิ่งแวดล้อมให้กับชุมชน
นายสมบัติ ศานติจารี กล่าวว่า โรงไฟฟ้าบางปะกง ชุดที่ 5 เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมขนาดกำลังผลิตประมาณ 760 เมกะวัตต์ ประกอบด้วย เครื่องผลิตไฟฟ้ากังหันแก๊ส จำนวน 2 เครื่อง เครื่องผลิตไฟฟ้ากังหันไอน้ำจำนวน 1 เครื่อง ใช้ก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอ่าวไทยเป็นเชื้อเพลิงหลัก ในอัตราการใช้ก๊าซสูงสุดประมาณ 120 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ใช้เงินลงทุนประมาณ 16,760 ล้านบาท (หนึ่งหมื่นหกพันเจ็ดร้อยหกสิบล้านบาท)
โดยตลอดระยะเวลาของการดำเนินงานก่อสร้างโรงไฟฟ้า กฟผ.ได้ให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้าใจและการยอมรับ รวมทั้งการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชน และการรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย
นอกจากนี้ เมื่อโรงไฟฟ้าบางปะกง ชุดที่ 5 ได้เข้าระบบไฟฟ้าเชิงพาณิชย์แล้ว ชุมชนจะได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิต และการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ในรูปแบบของกองทุนพัฒนาชุมชนพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าในอัตรา 1 สตางค์ต่อหน่วยคิดเป็นเงินประมาณ 30-50 ล้านบาทต่อปี ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้เกิดการพัฒนาชุมชนเป็นไปอย่างต่อเนื่องต่อไป
วันนี้ (30 ม.ค.) นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีขนานเครื่องโรงไฟฟ้าบางปะกงชุดที่ 5 เข้าสู่ระบบการจ่ายไฟฟ้า โดยมีนายพรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงาน และประธานกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) นายสมบัติ ศานติจารี ผู้ว่าการ กฟผ.ให้การต้อนรับและมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชนที่เกี่ยวข้อง สื่อมวลชน ตลอดจนชุมชนบริเวณรอบโรงไฟฟ้าบางปะกง ร่วมเป็นสักขีพยานในงานพิธี
นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล กล่าวว่า โรงไฟฟ้าบางปะกงชุดที่ 5 เป็นโครงการที่บรรจุอยู่ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2547-2558 (Power Development Plan : PDP 2004) โดยคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ กฟผ.ดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2549 เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นของทั้งภาคครัวเรือน ภาคเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมในแถบภาคตะวันออก ตลอดจนเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงในระบบไฟฟ้าให้กับประเทศอีกด้วย
โรงไฟฟ้าบางปะกง ชุดที่ 5 เป็นโรงไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ มีความเหมาะสมทั้งในด้านสถานที่ตั้งและการเลือกใช้เชื้อเพลิง โดยเป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง และมีที่ตั้งอยู่ใกล้ศูนย์กลางการใช้ไฟฟ้า ทั้งภาคครัวเรือน และภาคอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก ทำให้ลดความสูญเสีย และลดการลงทุนในด้านระบบการส่งไฟฟ้า นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับมาตรฐานด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม ทำให้สามารถมั่นใจได้ว่าจะเป็นโรงไฟฟ้าสะอาด ไม่สร้างปัญหาด้านมลภาวะและสิ่งแวดล้อมให้กับชุมชน
นายสมบัติ ศานติจารี กล่าวว่า โรงไฟฟ้าบางปะกง ชุดที่ 5 เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมขนาดกำลังผลิตประมาณ 760 เมกะวัตต์ ประกอบด้วย เครื่องผลิตไฟฟ้ากังหันแก๊ส จำนวน 2 เครื่อง เครื่องผลิตไฟฟ้ากังหันไอน้ำจำนวน 1 เครื่อง ใช้ก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอ่าวไทยเป็นเชื้อเพลิงหลัก ในอัตราการใช้ก๊าซสูงสุดประมาณ 120 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ใช้เงินลงทุนประมาณ 16,760 ล้านบาท (หนึ่งหมื่นหกพันเจ็ดร้อยหกสิบล้านบาท)
โดยตลอดระยะเวลาของการดำเนินงานก่อสร้างโรงไฟฟ้า กฟผ.ได้ให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้าใจและการยอมรับ รวมทั้งการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชน และการรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย
นอกจากนี้ เมื่อโรงไฟฟ้าบางปะกง ชุดที่ 5 ได้เข้าระบบไฟฟ้าเชิงพาณิชย์แล้ว ชุมชนจะได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิต และการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ในรูปแบบของกองทุนพัฒนาชุมชนพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าในอัตรา 1 สตางค์ต่อหน่วยคิดเป็นเงินประมาณ 30-50 ล้านบาทต่อปี ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้เกิดการพัฒนาชุมชนเป็นไปอย่างต่อเนื่องต่อไป