มหาสารคาม- สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ทำชาวจังหวัดมหาสารคาม ป่วยโรคทางเดินหายใจแล้วกว่า 2,110 คน ล่าสุด เสียชีวิตแล้ว 2 คน เผย อ.วาปีปทุม พบผู้ป่วยมากที่สุดถึง 432 ราย โรงพยาบาลมหาสารคามแนะวิธีป้องกัน ควรดูแลสุขภาพ ให้แข็งแรง พักผ่อนเพียงพอ รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
จากสภาพอากาศในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยช่วงกลางวันอากาศร้อนอบอ้าว ช่วงเวลากลางคืนสภาพอากาศเย็น ทำให้เด็กเล็กและผู้สูงอายุปรับตัวเข้ากับสภาพภูมิอากาศไม่ทัน เป็นเหตุให้เกิดโรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และปอดบวม ล่าสุด เฉพาะที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมหาสารคาม เพิ่มขึ้นมีผู้ป่วยสูงถึง 2,110 คน ในจำนวนนี้เสียชีวิตแล้ว 2 ราย โดยพบผู้ป่วยมาก 3 ลำดับแรกใน อำเภอวาปีปทุม 432 ราย อำเภอบรบือ 317 ราย และอำเภอยางสีสุราช จำนวน 115 ราย
ทั้งนี้ จากการสอบประวัติผู้ป่วยจะมีอาการครั้นเนื้อครั่นตัว ปวดศีรษะ มีไข้ ปวดกล้ามเนื้อ ไอ จาม น้ำมูกไหล เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ซึ่งหากผู้ปกครองพบบุตรหลานมีอาการดังกล่าวติดต่อกัน 3 วัน ควรต้องรีบนำผู้ป่วยไปพบแพทย์ เพื่อตรวจรักษาที่ถูกต้องต่อไป สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 2 เดือน จะมีอาการไม่ดื่มน้ำ ไม่ดื่มนม มีไข้สูง หายใจหอบ ปากเล็บ มือเท้าเขียว และกระสับกระส่าย จะต้องรีบพาเด็กพบแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยเร็ว เพื่อความปลอดภัย
อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลมหาสารคาม แนะถึงการป้องกันโรคในระบบทางเดินหายใจ ควรดูแลสุขภาพ ให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อร่างกาย ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รักษาร่างกายให้อบอุ่น สวมใส่เสื้อผ้าให้พอเหมาะกับสภาพอากาศ รวมทั้งหลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในสถานที่ชุมชนแออัด เช่น โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า หรือ บนรถโดยสารที่มีผู้โดยสารจำนวนมากๆ
จากสภาพอากาศในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยช่วงกลางวันอากาศร้อนอบอ้าว ช่วงเวลากลางคืนสภาพอากาศเย็น ทำให้เด็กเล็กและผู้สูงอายุปรับตัวเข้ากับสภาพภูมิอากาศไม่ทัน เป็นเหตุให้เกิดโรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และปอดบวม ล่าสุด เฉพาะที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมหาสารคาม เพิ่มขึ้นมีผู้ป่วยสูงถึง 2,110 คน ในจำนวนนี้เสียชีวิตแล้ว 2 ราย โดยพบผู้ป่วยมาก 3 ลำดับแรกใน อำเภอวาปีปทุม 432 ราย อำเภอบรบือ 317 ราย และอำเภอยางสีสุราช จำนวน 115 ราย
ทั้งนี้ จากการสอบประวัติผู้ป่วยจะมีอาการครั้นเนื้อครั่นตัว ปวดศีรษะ มีไข้ ปวดกล้ามเนื้อ ไอ จาม น้ำมูกไหล เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ซึ่งหากผู้ปกครองพบบุตรหลานมีอาการดังกล่าวติดต่อกัน 3 วัน ควรต้องรีบนำผู้ป่วยไปพบแพทย์ เพื่อตรวจรักษาที่ถูกต้องต่อไป สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 2 เดือน จะมีอาการไม่ดื่มน้ำ ไม่ดื่มนม มีไข้สูง หายใจหอบ ปากเล็บ มือเท้าเขียว และกระสับกระส่าย จะต้องรีบพาเด็กพบแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยเร็ว เพื่อความปลอดภัย
อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลมหาสารคาม แนะถึงการป้องกันโรคในระบบทางเดินหายใจ ควรดูแลสุขภาพ ให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อร่างกาย ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รักษาร่างกายให้อบอุ่น สวมใส่เสื้อผ้าให้พอเหมาะกับสภาพอากาศ รวมทั้งหลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในสถานที่ชุมชนแออัด เช่น โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า หรือ บนรถโดยสารที่มีผู้โดยสารจำนวนมากๆ