เลย - ชาวผาน้อย อ.วังสะพุง ร้องกรรมการสิทธิฯ ถูกรัฐกั้นฝาย นาข้าวจมน้ำนาน 18 ปี สุดช้ำหน่วยงานรัฐไม่เคยเหลียวแล
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการที่ชาวบ้านโนนวังแท่น ตำบลผาน้อย อ.วังสะพุง จ.เลย ได้ทำหนังสือร้องเรียนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อขอความช่วยเหลือหลังได้รับความเดือดร้อนจากโครงการก่อสร้างฝายกั้นลำห้วยปวน ทำให้น้ำท่วมที่นานกว่า 18 ปี โดยไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาเยียวยา
เมื่อเวลา 08.30 น.วันนี้ (9 ต.ค.) ชาวบ้านหมู่บ้านดังกล่าวได้ออกมาเรียกร้องผ่านผู้สื่อข่าว โดยนายสุรศักดิ์ วิแสง แกนนำและชาวบ้าน กล่าวว่า เมื่อปี 2534 สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท ได้มีการก่อสร้างฝายห้วยน้ำปวน บริเวณบ้านวังแท่น ต.ผาน้อย เป็นเหตุให้น้ำได้ท่วมที่ทำกินของราษฎรหมู่ 4 หมู่ 15 และหมู่ 19 ได้รับความเดือดร้อนจำนวน 50 หลังคาเรือน จำนวนราษฎรกว่า 250 คน นอกจากนี้ยังมีบ่อปลา 12 บ่อ และที่นาจมอยู่ใต้น้ำอีกกว่า 300 ไร่ ตลอดระยะเวลากว่า 18 ปี ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนได้ร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ยังไม่มีอะไรคืบหน้า
แม้กระทั่งค่าชดเชยยังไม่เคยได้ ส่งผลให้หลายครอบครัวต้องอพยพย้ายถิ่นฐานไปทำงานรับจ้างในเมืองอุตสาหรรม เพื่อซื้อข้าวประทังชีวิต บางคนถึงกับต้องตรอมใจตาย เพราะเป็นห่วงที่นา ที่เคยทำกินมาตั้งแต่บรรพบุรุษต้องจมอยู่ใต้น้ำ
ดังนั้น พวกตนจึงได้ขอพึ่งพาให้กรรมการสิทธิฯ ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงมาดูแล ด้วยการลดระดับน้ำลงให้พอทำนาได้บ้าง ซึ่งขณะนี้หลายครอบครัวต้องใช้ความพยายามลงทุนปักดำนาเป็นครั้งที่ 3 เพราะถูกน้ำท่วมตายหมด และหากเป็นไปได้ อยากขอให้ทางรัฐเงินค่าชดเชยให้บ้าง
แหล่งข่าวซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สำนักงานทางหลวงชนบท หรือ รพช.เดิมรายหนึ่ง เปิดเผยว่า ฝายห้วยปวนสร้างขึ้นเมื่อปี 2534 โดย รพช. ก่อนการก่อสร้างมีการสอบถามความเห็นชาวบ้าน ส่วนใหญ่ยินยอม ขณะนั้นยังไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวการชดเชยค่าเสียหาย เป็นความต้องการของชาวบ้านเอง
รพช.ได้ถ่ายโอนความรับผิดชอบให้กรมทรัพยากรน้ำไปดูแลแล้ว การบรรเทาความเดือดร้อนที่น่าจะเป็นไปได้ คือ เปิดประตูระบายน้ำ โดยผ่านความยินยอมของประชาชนที่อยู่ใต้สันเขื่อนด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการที่ชาวบ้านโนนวังแท่น ตำบลผาน้อย อ.วังสะพุง จ.เลย ได้ทำหนังสือร้องเรียนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อขอความช่วยเหลือหลังได้รับความเดือดร้อนจากโครงการก่อสร้างฝายกั้นลำห้วยปวน ทำให้น้ำท่วมที่นานกว่า 18 ปี โดยไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาเยียวยา
เมื่อเวลา 08.30 น.วันนี้ (9 ต.ค.) ชาวบ้านหมู่บ้านดังกล่าวได้ออกมาเรียกร้องผ่านผู้สื่อข่าว โดยนายสุรศักดิ์ วิแสง แกนนำและชาวบ้าน กล่าวว่า เมื่อปี 2534 สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท ได้มีการก่อสร้างฝายห้วยน้ำปวน บริเวณบ้านวังแท่น ต.ผาน้อย เป็นเหตุให้น้ำได้ท่วมที่ทำกินของราษฎรหมู่ 4 หมู่ 15 และหมู่ 19 ได้รับความเดือดร้อนจำนวน 50 หลังคาเรือน จำนวนราษฎรกว่า 250 คน นอกจากนี้ยังมีบ่อปลา 12 บ่อ และที่นาจมอยู่ใต้น้ำอีกกว่า 300 ไร่ ตลอดระยะเวลากว่า 18 ปี ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนได้ร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ยังไม่มีอะไรคืบหน้า
แม้กระทั่งค่าชดเชยยังไม่เคยได้ ส่งผลให้หลายครอบครัวต้องอพยพย้ายถิ่นฐานไปทำงานรับจ้างในเมืองอุตสาหรรม เพื่อซื้อข้าวประทังชีวิต บางคนถึงกับต้องตรอมใจตาย เพราะเป็นห่วงที่นา ที่เคยทำกินมาตั้งแต่บรรพบุรุษต้องจมอยู่ใต้น้ำ
ดังนั้น พวกตนจึงได้ขอพึ่งพาให้กรรมการสิทธิฯ ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงมาดูแล ด้วยการลดระดับน้ำลงให้พอทำนาได้บ้าง ซึ่งขณะนี้หลายครอบครัวต้องใช้ความพยายามลงทุนปักดำนาเป็นครั้งที่ 3 เพราะถูกน้ำท่วมตายหมด และหากเป็นไปได้ อยากขอให้ทางรัฐเงินค่าชดเชยให้บ้าง
แหล่งข่าวซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สำนักงานทางหลวงชนบท หรือ รพช.เดิมรายหนึ่ง เปิดเผยว่า ฝายห้วยปวนสร้างขึ้นเมื่อปี 2534 โดย รพช. ก่อนการก่อสร้างมีการสอบถามความเห็นชาวบ้าน ส่วนใหญ่ยินยอม ขณะนั้นยังไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวการชดเชยค่าเสียหาย เป็นความต้องการของชาวบ้านเอง
รพช.ได้ถ่ายโอนความรับผิดชอบให้กรมทรัพยากรน้ำไปดูแลแล้ว การบรรเทาความเดือดร้อนที่น่าจะเป็นไปได้ คือ เปิดประตูระบายน้ำ โดยผ่านความยินยอมของประชาชนที่อยู่ใต้สันเขื่อนด้วย