อุบลราชธานี - อบจ.อุบลราชธานีร่วมหน่วยบรรเทาสาธารณภัย เตรียมพร้อมตลอด 24 ชั่วโมง รับมือน้ำเหนือที่ไหลมารวมก่อนไหลลงแม่น้ำโขง เบื้องต้นมีพื้นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำโขงถูกน้ำท่วมแล้ว 9 ตำบล แต่สถานการณ์ไม่รุนแรงหากเทียบกับปีที่ผ่านมา ด้านอุตุฯ ชี้อีสานยังมีฝนตกต่อเนื่องไปถึงสัปดาห์หน้า
นายพรชัย โควสุรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวถึงการเตรียมรับมือน้ำท่วม ซึ่งเกิดจากน้ำเหนือที่อยู่ด้านบน เช่น จ.นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร ที่ต้องไหลลงมารวม ที่จังหวัดอุบลราชธานี ก่อนไหลออกสู่แม่น้ำโขงว่า อบจ.อุบลราชธานี ได้ประสานขอทราบข้อมูลความเคลื่อนไหวของระดับน้ำ จากจังหวัดที่ตั้งอยู่เหนือน้ำ
ทั้งนี้ เพื่อใช้ประเมินสถานการณ์รับมือปัญหาน้ำท่วมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมประสานหน่วยงานด้านความช่วยเหลือ เตรียมเรือท้องแบน และกำลังเข้าช่วยขนย้ายประชาชนและสิ่งของในพื้นที่ ที่จะถูกน้ำท่วมได้ทันทีตลอด 24 ชั่วโมง
นอกจากนี้ นายพรชัยยังกล่าวถึงการช่วยเหลือประชาชนหลังน้ำลด โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้เตรียมเครื่องจักรกลไว้ใช้ปรับสภาพพื้นที่ ที่ประสบอุทกภัยให้ประชาชนกลับไปใช้ชีวิตอย่างเป็นปกติสุขให้เร็วที่สุด เพื่อเป็นการบรรเทาเยี่ยวยาผลกระทบทางด้านสภาพจิตรใจ
ทั้งนี้ เนื่องจากพื้นที่ของจังหวัดเป็นที่รับน้ำจากอีสานตอนบนและตอนล่าง จึงถูกน้ำท่วมลักษณะท่วมขังเป็นเวลานานหลายวัน และบางครั้งมีระยะเวลายาวนานเป็นเดือนๆ แต่ขณะนี้คือการรับมือลดความเสียหาย ที่จะเกิดจากน้ำท่วมฉับพลันไว้ก่อน
ด้าน นายสุขสันต์ บุญโทแสง หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวถึงพื้นที่น้ำท่วมจากภาวะฝนตก ในจังหวัดติดต่อกันนานหลายวันว่า การสำรวจเบื้องต้นพบความเสียหายของพื้นที่ทางการเกษตร ในอำเภอเขมราฐ จำนวน 9 ตำบล คิดเป็นพื้นที่พืชไร่ 130 ไร่ พื้นที่นา 350 ไร่ พื้นที่สวน 160 ไร่ และบ่อปลา 10 บ่อ ซึ่งเกิดจากน้ำในแม่น้ำโขงมีระดับสูงขึ้น ทำให้น้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่เกษตรกรรมที่ตั้งอยู่ตามที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง และเป็นความเสียหาย ที่ไม่มากนักหากเทียบกับความเสียหายในอดีตที่ผ่านมา
สำหรับระดับน้ำของแม่น้ำมูลที่สะพานเสรีประชาธิปไตย ยังมีระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่งประมาณ 2 เมตรเศษ จึงยังไม่ส่งผลกระทบกับบ้านเรือนประชาชนที่ตั้งอยู่สองฝั่งแม่น้ำ และแนวโน้มสถานการณ์น้ำท่วมในปีนี้คาดว่าไม่รุนแรง เพราะเขื่อนที่ใช้รองรับน้ำขนาดใหญ่ทั้งเขื่อนอุบลรัตน์ และเขื่อนลำปาว ยังสามารถรองรับปริมาณน้ำเหนืออ่างเก็บน้ำได้อีกมาก
ทั้งนี้ จังหวัดได้มีการตั้งศูนย์ป้องกันภัยน้ำท่วมระดับอำเภอ และระดับ อบต. เพื่อเฝ้าระวังและรับสถานการณ์น้ำท่วมไว้ตลอด 24 ชั่วโมงแล้ว
ส่วนศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.อุบลราชธานี รายงานสภาพอากาศในรอบ 7 วันข้างหน้าว่า สำหรับวันนี้ในพื้นที่ยังมีฝนฟ้าคะนองกระจายร้อยละ 60 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดเลย ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ อุณหภูมิต่ำสุด 23 องศา สูงสุด 32 องศา สำหรับสภาพอากาศระหว่างวันที่ 19-21 ก.ย. ยังมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
นอกจากนี้ ระหว่างวันที่ 22-25 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไปร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ลมแปรปรวนความเร็ว 10-30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
นายพรชัย โควสุรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวถึงการเตรียมรับมือน้ำท่วม ซึ่งเกิดจากน้ำเหนือที่อยู่ด้านบน เช่น จ.นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร ที่ต้องไหลลงมารวม ที่จังหวัดอุบลราชธานี ก่อนไหลออกสู่แม่น้ำโขงว่า อบจ.อุบลราชธานี ได้ประสานขอทราบข้อมูลความเคลื่อนไหวของระดับน้ำ จากจังหวัดที่ตั้งอยู่เหนือน้ำ
ทั้งนี้ เพื่อใช้ประเมินสถานการณ์รับมือปัญหาน้ำท่วมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมประสานหน่วยงานด้านความช่วยเหลือ เตรียมเรือท้องแบน และกำลังเข้าช่วยขนย้ายประชาชนและสิ่งของในพื้นที่ ที่จะถูกน้ำท่วมได้ทันทีตลอด 24 ชั่วโมง
นอกจากนี้ นายพรชัยยังกล่าวถึงการช่วยเหลือประชาชนหลังน้ำลด โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้เตรียมเครื่องจักรกลไว้ใช้ปรับสภาพพื้นที่ ที่ประสบอุทกภัยให้ประชาชนกลับไปใช้ชีวิตอย่างเป็นปกติสุขให้เร็วที่สุด เพื่อเป็นการบรรเทาเยี่ยวยาผลกระทบทางด้านสภาพจิตรใจ
ทั้งนี้ เนื่องจากพื้นที่ของจังหวัดเป็นที่รับน้ำจากอีสานตอนบนและตอนล่าง จึงถูกน้ำท่วมลักษณะท่วมขังเป็นเวลานานหลายวัน และบางครั้งมีระยะเวลายาวนานเป็นเดือนๆ แต่ขณะนี้คือการรับมือลดความเสียหาย ที่จะเกิดจากน้ำท่วมฉับพลันไว้ก่อน
ด้าน นายสุขสันต์ บุญโทแสง หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวถึงพื้นที่น้ำท่วมจากภาวะฝนตก ในจังหวัดติดต่อกันนานหลายวันว่า การสำรวจเบื้องต้นพบความเสียหายของพื้นที่ทางการเกษตร ในอำเภอเขมราฐ จำนวน 9 ตำบล คิดเป็นพื้นที่พืชไร่ 130 ไร่ พื้นที่นา 350 ไร่ พื้นที่สวน 160 ไร่ และบ่อปลา 10 บ่อ ซึ่งเกิดจากน้ำในแม่น้ำโขงมีระดับสูงขึ้น ทำให้น้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่เกษตรกรรมที่ตั้งอยู่ตามที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง และเป็นความเสียหาย ที่ไม่มากนักหากเทียบกับความเสียหายในอดีตที่ผ่านมา
สำหรับระดับน้ำของแม่น้ำมูลที่สะพานเสรีประชาธิปไตย ยังมีระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่งประมาณ 2 เมตรเศษ จึงยังไม่ส่งผลกระทบกับบ้านเรือนประชาชนที่ตั้งอยู่สองฝั่งแม่น้ำ และแนวโน้มสถานการณ์น้ำท่วมในปีนี้คาดว่าไม่รุนแรง เพราะเขื่อนที่ใช้รองรับน้ำขนาดใหญ่ทั้งเขื่อนอุบลรัตน์ และเขื่อนลำปาว ยังสามารถรองรับปริมาณน้ำเหนืออ่างเก็บน้ำได้อีกมาก
ทั้งนี้ จังหวัดได้มีการตั้งศูนย์ป้องกันภัยน้ำท่วมระดับอำเภอ และระดับ อบต. เพื่อเฝ้าระวังและรับสถานการณ์น้ำท่วมไว้ตลอด 24 ชั่วโมงแล้ว
ส่วนศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.อุบลราชธานี รายงานสภาพอากาศในรอบ 7 วันข้างหน้าว่า สำหรับวันนี้ในพื้นที่ยังมีฝนฟ้าคะนองกระจายร้อยละ 60 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดเลย ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ อุณหภูมิต่ำสุด 23 องศา สูงสุด 32 องศา สำหรับสภาพอากาศระหว่างวันที่ 19-21 ก.ย. ยังมีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
นอกจากนี้ ระหว่างวันที่ 22-25 ก.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไปร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ลมแปรปรวนความเร็ว 10-30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง