สระแก้ว - จังหวัดสระแก้วกำหนดยุทธศาสตร์ การพัฒนาระบบ Logistics (2550-2552) ให้เป็นศูนย์กลางรองรับและกระจายสินค้าสู่อินโดจีน และจังหวัดใกล้เคียง พร้อมเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน และเป็นแหล่งกระจายสินค้า
แหล่งข่าวจากสำนักงานจังหวัดสระแก้ว เผยว่า ทางจังหวัดได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดให้เป็นศูนย์กลางรองรับและกระจายสินค้าสู่อินโดจีน และจังหวัดใกล้เคียง โดยจังหวัดสระแก้วเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน แหล่งกระจายสินค้าเป็นแหล่งเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนด้านการท่องเที่ยว วัฒนธรรมการศึกษากับกลุ่มประเทศอินโดจีน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ปี 2550-2552 มีแนวทางการพัฒนาดังนี้ คือ
1.โครงการการก่อสร้างถนน Logistics โดยศึกษาความเหมาะสมและสำรวจแนวสายทางที่เหมาะสมทั้งทางด้านการเงิน เศรษฐศาสตร์ สิ่งแวดล้อม และวิศวกรรม อาจพิจารณาร่วมกับการศึกษาการจัดตั้งศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้ากลาง เพื่อให้เกิดการสอดประสานในด้านประโยชน์การใช้สอยที่สูงสุดและออกแบบรายละเอียดทางด้าน วิศวกรรม ดำเนินการก่อสร้างถนนลาดยาง AC (4 ช่องทางจราจร) ระยะทางประมาณ 14.000 กิโลเมตร
2.การยกระดับมาตรฐาน และ ความปลอดภัยของโครงข่ายถนนในจังหวัดสระแก้ว รวบรวมข้อมูลสถานภาพความปลอดภัยของถนนหลักในโครงข่าย เช่น รูปแบบของถนน ข้อมูลการจราจร อุบัติเหตุ และสภาพความพร้อมของผิวทาง จำนวน 44 เส้นทางระยะทาง 632 กิโลเมตร พร้อมทั้งวิเคราะห์และนำเสนอแนวทางการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยทางถนน โดยดำเนินการปรับปรุงโครงข่ายถนนเพื่อรองรับการขนส่งสินค้า และ เพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชน
3.โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 317 สายสระแก้ว-อ.วังน้ำเย็น งบค่าก่อสร้าง ทั้งสิ้น 800 ล้านบาท เริ่มงบประมาณปี 2548 จำนวน 160 ล้านบาท ปี 2549 งบประมาณ 320 ล้านบาท และผูกพันในปีงบประมาณ 2550 จำนวน 320 ล้านบาท
ปัจจุบัน กรมทางหลวงได้ดำเนินการสำรวจเก็บข้อมูลเพื่อทำการออกแบบ ตั้งแต่ กม.
89+3000 ซึ่งเป็นจุดแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดสระแก้วกับจังหวัดจันทบุรี แต่ในปีงบประมาณ 2548 ไม่ได้รับงบประมาณตามแผนพัฒนาของกรมทางหลวง
4.ทางหลวงหมายเลข 33 สายอำเภอกบินทร์บุรี-สระแก้ว งบค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 750 ล้านบาท เริ่มงบประมาณ ปี 2549 จำนวน 150 ล้านบาท และผูกพันในปีงบประมาณ 2550 จำนวน 600 ล้านบาท โครงการนี้มีพื้นที่ดำเนินการในเขตจังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดสระแก้วหากจังหวัดได้รับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานดังกล่าวแล้ว นอกจากจะเป็นการลดต้นทุนการขนส่งแล้วยังเป็นการเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันตามยุทธศาสตร์ของชาติอีกทางหนึ่งด้วย
นอกจากยุทธศาสตร์จังหวัดสระแก้วที่มุ่งเน้นการพัฒนาระบบโลจิสติกส์แล้วนั้น กระทรวงมหาดไทยได้ออกประกาศเมื่อ ลงวันที่ 29 ตุลาคม 2546 และวันที่ 6 พฤศจิกายน 2546 ที่ผ่านมา ขยายเวลาเปิดปิดด่านถาวรบ้านคลองลึก ตำบลท่าข้าม อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ตรงข้ามกับปอยเปต อำเภอโอจโรว จังหวัดบันเตียเมียนเจย จากเวลา 07.30-17.00 น.เป็นเวลา 07.00-20.00 น.
รวมทั้งได้ขยายขอบเขตของผู้ถือบัตรผ่านแดนให้ผู้ที่ถือบัตรผ่านแดนสัญชาติกัมพูชา สามารถเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทยถึงจังหวัดสระแก้วและจังหวัดปราจีนบุรี และผู้ถือบัตรผ่านแดนสัญชาติไทยสามารถเดินทางเข้าไปในราชอาณาจักรกัมพูชาถึงจังหวัดบันเตียเมียนเจยและจังหวัดเสียมราฐได้
แหล่งข่าวจากสำนักงานจังหวัดสระแก้ว เผยว่า ทางจังหวัดได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดให้เป็นศูนย์กลางรองรับและกระจายสินค้าสู่อินโดจีน และจังหวัดใกล้เคียง โดยจังหวัดสระแก้วเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน แหล่งกระจายสินค้าเป็นแหล่งเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนด้านการท่องเที่ยว วัฒนธรรมการศึกษากับกลุ่มประเทศอินโดจีน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ปี 2550-2552 มีแนวทางการพัฒนาดังนี้ คือ
1.โครงการการก่อสร้างถนน Logistics โดยศึกษาความเหมาะสมและสำรวจแนวสายทางที่เหมาะสมทั้งทางด้านการเงิน เศรษฐศาสตร์ สิ่งแวดล้อม และวิศวกรรม อาจพิจารณาร่วมกับการศึกษาการจัดตั้งศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้ากลาง เพื่อให้เกิดการสอดประสานในด้านประโยชน์การใช้สอยที่สูงสุดและออกแบบรายละเอียดทางด้าน วิศวกรรม ดำเนินการก่อสร้างถนนลาดยาง AC (4 ช่องทางจราจร) ระยะทางประมาณ 14.000 กิโลเมตร
2.การยกระดับมาตรฐาน และ ความปลอดภัยของโครงข่ายถนนในจังหวัดสระแก้ว รวบรวมข้อมูลสถานภาพความปลอดภัยของถนนหลักในโครงข่าย เช่น รูปแบบของถนน ข้อมูลการจราจร อุบัติเหตุ และสภาพความพร้อมของผิวทาง จำนวน 44 เส้นทางระยะทาง 632 กิโลเมตร พร้อมทั้งวิเคราะห์และนำเสนอแนวทางการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยทางถนน โดยดำเนินการปรับปรุงโครงข่ายถนนเพื่อรองรับการขนส่งสินค้า และ เพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชน
3.โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 317 สายสระแก้ว-อ.วังน้ำเย็น งบค่าก่อสร้าง ทั้งสิ้น 800 ล้านบาท เริ่มงบประมาณปี 2548 จำนวน 160 ล้านบาท ปี 2549 งบประมาณ 320 ล้านบาท และผูกพันในปีงบประมาณ 2550 จำนวน 320 ล้านบาท
ปัจจุบัน กรมทางหลวงได้ดำเนินการสำรวจเก็บข้อมูลเพื่อทำการออกแบบ ตั้งแต่ กม.
89+3000 ซึ่งเป็นจุดแบ่งเขตจังหวัดระหว่างจังหวัดสระแก้วกับจังหวัดจันทบุรี แต่ในปีงบประมาณ 2548 ไม่ได้รับงบประมาณตามแผนพัฒนาของกรมทางหลวง
4.ทางหลวงหมายเลข 33 สายอำเภอกบินทร์บุรี-สระแก้ว งบค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 750 ล้านบาท เริ่มงบประมาณ ปี 2549 จำนวน 150 ล้านบาท และผูกพันในปีงบประมาณ 2550 จำนวน 600 ล้านบาท โครงการนี้มีพื้นที่ดำเนินการในเขตจังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดสระแก้วหากจังหวัดได้รับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานดังกล่าวแล้ว นอกจากจะเป็นการลดต้นทุนการขนส่งแล้วยังเป็นการเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันตามยุทธศาสตร์ของชาติอีกทางหนึ่งด้วย
นอกจากยุทธศาสตร์จังหวัดสระแก้วที่มุ่งเน้นการพัฒนาระบบโลจิสติกส์แล้วนั้น กระทรวงมหาดไทยได้ออกประกาศเมื่อ ลงวันที่ 29 ตุลาคม 2546 และวันที่ 6 พฤศจิกายน 2546 ที่ผ่านมา ขยายเวลาเปิดปิดด่านถาวรบ้านคลองลึก ตำบลท่าข้าม อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ตรงข้ามกับปอยเปต อำเภอโอจโรว จังหวัดบันเตียเมียนเจย จากเวลา 07.30-17.00 น.เป็นเวลา 07.00-20.00 น.
รวมทั้งได้ขยายขอบเขตของผู้ถือบัตรผ่านแดนให้ผู้ที่ถือบัตรผ่านแดนสัญชาติกัมพูชา สามารถเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทยถึงจังหวัดสระแก้วและจังหวัดปราจีนบุรี และผู้ถือบัตรผ่านแดนสัญชาติไทยสามารถเดินทางเข้าไปในราชอาณาจักรกัมพูชาถึงจังหวัดบันเตียเมียนเจยและจังหวัดเสียมราฐได้