ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ -นักอนุรักษ์ ระบุ เปิดอุทยานแห่งชาติ ให้เอกชนลงทุนเพื่อการท่องเที่ยวแล้วเข้าบริหารจัดการเป็นสิ่งไม่เหมาะสม หวั่นขัดจุดประสงค์หลักการก่อตั้งอุทยานฯ เพื่อมุ่งอนุรักษ์คงสภาพระบบนิเวศที่สมบูรณ์ เตรียมระดมเครือข่ายนักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชนและผู้ประกอบการทั่วประเทศยื่นหนังสือนายกฯ วอนยกเลิกนโยบาย ด้านหัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์เชื่อ หากดำเนินการจริงต้องมีการกำหนดเงื่อนไขรอบคอบไม่ให้เกิดผลกระทบ
วันนี้ (28 ส.ค.)ที่บ้านธารแก้ว มหาวิทยาลัยพายัพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ภาคีคนฮักเจียงใหม่ ร่วมกับเครือข่ายคุ้มครองสัตว์ป่าไทย จัดการเสวนาในหัวข้อเรื่อง “การเปิดให้เอกชนเข้าไปลงทุนเพื่อการท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติเหมาะสมหรือไม่?อย่างไร?”เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หลังจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีนโยบาย และแนวความคิดที่จะเปิดโอกาสให้เอกชนสามารถเข้าไปลงทุนทำธุรกิจทางด้านการท่องเที่ยว ในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติ 10 แห่งทั่วประเทศได้
นายนิคม พุทธา ตัวแทนเครือข่ายคุ้มครองสัตว์ป่าไทย แสดงความเห็นต่อนโยบายและแนวความคิดดังกล่าวของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมว่า การจะให้เอกชนเข้าไปลงทุนพัฒนาพื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติ เพื่อทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นการสร้างโรงแรมที่พักหรือร้านค้าต่างๆ แล้วเข้าบริหารนั้น เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม
ทั้งนี้ เพราะคงจะเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องหากจะนำอุทยานแห่งชาติ ที่เป็นสมบัติของคนทั้งชาติไปให้เอกชนแสวงหาผลประโยชน์ และเกรงว่าจะเป็นการจำกัดการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติให้อยู่เพียงเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีฐานะเท่านั้น หากเอกชนเป็นผู้บริหารจัดการทั้งหมด
ขณะเดียวกัน เห็นว่า จุดประสงค์หลัก ที่ทำให้มีการก่อตั้งอุทยานแห่งชาติขึ้นมา เพื่ออนุรักษ์คุ้มครองระบบนิเวศให้คงสภาพความอุดมสมบูรณ์ และเพื่อศึกษาค้นคว้าวิจัย โดยมีผลพลอยได้เป็นการพักผ่อนหย่อนใจสำหรับประชาชนและนักท่องเที่ยว ซึ่งในภาวะปัจจุบันที่พื้นที่ป่าไม้และนิเวศที่สมบูรณ์ในประเทศไทย ยังคงถูกบุกรุกทำลายอยู่อย่างต่อเนื่อง อุทยานแห่งชาติรวมทั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า จึงเปรียบเสมือนเป็นความหวังเดียวในการรักษาพื้นที่ป่าและระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์เอาไว้ให้ได้
ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นและไม่สมควรที่จะให้เอกชนเข้าไปลงทุนเพื่อการท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ เพราะมีความเป็นไปได้ ที่อาจจะทำให้พื้นที่อุทยานแห่งชาติสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ไป
ทั้งนี้ นายนิคม เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางกลุ่มนักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชนทางด้านการอนุรักษ์ ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและชุมชน ที่มีเครือข่ายทั่วประเทศ เตรียมที่จะทำการหารือร่วมกันเพื่อเคลื่อนไหวแสดงท่าทีต่อเรื่องดังกล่าว โดยเบื้องต้นคาดว่าคงจะมีการทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้มีการยกเลิกนโยบาย ที่จะเปิดโอกาสให้เอกชนเข้าไปลงทุนเพื่อการท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติโดยเด็ดขาด
ด้านนายจงคล้าย วรพงศธร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ในเวลานี้นโยบายดังกล่าวยังอยู่ระหว่างกำหนดเงื่อนไข ข้อกำหนดและรายละเอียดต่างๆ ในการที่จะให้เอกชนเข้าไปลงทุนได้ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบหรือเกิดผลกระทบน้อยที่สุดกับอุทยานแห่งชาติในทุกด้านรวมทั้งประชาชนและนักท่องเที่ยวทั่วไป
ทั้งนี้ ยืนยันว่า หากให้เอกชนเข้าไปลงทุนในอุทยานแห่งชาติ ก็จะให้เข้าไปในพื้นที่สำหรับการให้บริการซึ่งมีการกำหนดไว้อยู่แล้ว โดยจะไม่มีการเปิดพื้นที่ใหม่ให้เกิดความเสียหายต่อความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ป่า และระบบนิเวศอย่างเด็ดขาด
สำหรับการที่ต้องให้เอกชนเข้ามาลงทุนด้านการท่องเที่ยว ในอุทยานแห่งชาติ นายจงคล้าย กล่าวว่า เนื่องมาจากการท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ ปัจจุบันมีการขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็วตามความนิยมของนักท่องเที่ยว ทำให้ต้องมีการแบ่งกำลังเจ้าหน้าที่ของอุทยานมาทำงานทางด้านการบริการมากขึ้น ซึ่งทำให้ศักยภาพในการทำงานหลักทางด้านการอนุรักษ์และค้นคว้าจัยลดน้อยลงไป จึงมีแนวคิดที่จะให้เอกชนเข้ามาบริหารจัดการในเรื่องนี้ เพราะมีความชำนาญมากกว่าและเจ้าหน้าที่จะได้ไปทำหน้าที่หลัก ที่รับผิดชอบให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
นายจงคล้าย ย้ำว่า แม้จะให้เอกชนเข้ามาบริหาร แต่จะไม่ลืมว่าจุดประสงค์หลักของการก่อตั้งอุทยานชาติว่าอนุรักษ์สภาพความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า และระบบนิเวศอย่างแน่นอน
นอกจากนี้ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ชี้แจงกรณีที่มีการระบุว่าอุทยานแห่งชาติ 10 แห่ง ประกอบด้วย เขาใหญ่ ดอยอินทนนท์ ห้วยน้ำดัง หมู่เกาะสิมิลัน หมู่เกาะสุรินทร์ ภูกระดึง ดอยสุเทพ-ปุย แก่งกระจาน เอราวัณ และดอยผ้าห่มปก กำลังจะให้เอกชนเข้าไปลงทุนว่า น่าจะเป็นความเข้าใจผิด เพราะจนถึงเวลานี้ยังไม่มีการกำหนดแต่อย่างใด ว่าจะมีการนำร่องให้เอกชนเข้าไปลงทุนได้ที่อุทยานแห่งชาติแห่งใด
สำหรับ อุทยานแห่งชาติทั้ง 10 แห่งดังกล่าวนั้น เป็น 10 อุทยานแห่งชาติ ที่เพิ่งมีการกำหนดควบคุมจำนวนนักท่องเที่ยวไม่ให้เกินขีดความสามารถในการรองรับของพื้นที่เมื่อวันที่ 1 ก.ค.51 ที่ผ่านมา จึงเข้าใจว่าอาจจะมีความเป็นไปได้ที่มีการนำทั้งสองเรื่องมารวมกันแล้วทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
วันนี้ (28 ส.ค.)ที่บ้านธารแก้ว มหาวิทยาลัยพายัพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ภาคีคนฮักเจียงใหม่ ร่วมกับเครือข่ายคุ้มครองสัตว์ป่าไทย จัดการเสวนาในหัวข้อเรื่อง “การเปิดให้เอกชนเข้าไปลงทุนเพื่อการท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติเหมาะสมหรือไม่?อย่างไร?”เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หลังจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีนโยบาย และแนวความคิดที่จะเปิดโอกาสให้เอกชนสามารถเข้าไปลงทุนทำธุรกิจทางด้านการท่องเที่ยว ในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติ 10 แห่งทั่วประเทศได้
นายนิคม พุทธา ตัวแทนเครือข่ายคุ้มครองสัตว์ป่าไทย แสดงความเห็นต่อนโยบายและแนวความคิดดังกล่าวของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมว่า การจะให้เอกชนเข้าไปลงทุนพัฒนาพื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติ เพื่อทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นการสร้างโรงแรมที่พักหรือร้านค้าต่างๆ แล้วเข้าบริหารนั้น เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม
ทั้งนี้ เพราะคงจะเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องหากจะนำอุทยานแห่งชาติ ที่เป็นสมบัติของคนทั้งชาติไปให้เอกชนแสวงหาผลประโยชน์ และเกรงว่าจะเป็นการจำกัดการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติให้อยู่เพียงเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีฐานะเท่านั้น หากเอกชนเป็นผู้บริหารจัดการทั้งหมด
ขณะเดียวกัน เห็นว่า จุดประสงค์หลัก ที่ทำให้มีการก่อตั้งอุทยานแห่งชาติขึ้นมา เพื่ออนุรักษ์คุ้มครองระบบนิเวศให้คงสภาพความอุดมสมบูรณ์ และเพื่อศึกษาค้นคว้าวิจัย โดยมีผลพลอยได้เป็นการพักผ่อนหย่อนใจสำหรับประชาชนและนักท่องเที่ยว ซึ่งในภาวะปัจจุบันที่พื้นที่ป่าไม้และนิเวศที่สมบูรณ์ในประเทศไทย ยังคงถูกบุกรุกทำลายอยู่อย่างต่อเนื่อง อุทยานแห่งชาติรวมทั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า จึงเปรียบเสมือนเป็นความหวังเดียวในการรักษาพื้นที่ป่าและระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์เอาไว้ให้ได้
ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นและไม่สมควรที่จะให้เอกชนเข้าไปลงทุนเพื่อการท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ เพราะมีความเป็นไปได้ ที่อาจจะทำให้พื้นที่อุทยานแห่งชาติสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ไป
ทั้งนี้ นายนิคม เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางกลุ่มนักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชนทางด้านการอนุรักษ์ ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและชุมชน ที่มีเครือข่ายทั่วประเทศ เตรียมที่จะทำการหารือร่วมกันเพื่อเคลื่อนไหวแสดงท่าทีต่อเรื่องดังกล่าว โดยเบื้องต้นคาดว่าคงจะมีการทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้มีการยกเลิกนโยบาย ที่จะเปิดโอกาสให้เอกชนเข้าไปลงทุนเพื่อการท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติโดยเด็ดขาด
ด้านนายจงคล้าย วรพงศธร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ในเวลานี้นโยบายดังกล่าวยังอยู่ระหว่างกำหนดเงื่อนไข ข้อกำหนดและรายละเอียดต่างๆ ในการที่จะให้เอกชนเข้าไปลงทุนได้ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบหรือเกิดผลกระทบน้อยที่สุดกับอุทยานแห่งชาติในทุกด้านรวมทั้งประชาชนและนักท่องเที่ยวทั่วไป
ทั้งนี้ ยืนยันว่า หากให้เอกชนเข้าไปลงทุนในอุทยานแห่งชาติ ก็จะให้เข้าไปในพื้นที่สำหรับการให้บริการซึ่งมีการกำหนดไว้อยู่แล้ว โดยจะไม่มีการเปิดพื้นที่ใหม่ให้เกิดความเสียหายต่อความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ป่า และระบบนิเวศอย่างเด็ดขาด
สำหรับการที่ต้องให้เอกชนเข้ามาลงทุนด้านการท่องเที่ยว ในอุทยานแห่งชาติ นายจงคล้าย กล่าวว่า เนื่องมาจากการท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ ปัจจุบันมีการขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็วตามความนิยมของนักท่องเที่ยว ทำให้ต้องมีการแบ่งกำลังเจ้าหน้าที่ของอุทยานมาทำงานทางด้านการบริการมากขึ้น ซึ่งทำให้ศักยภาพในการทำงานหลักทางด้านการอนุรักษ์และค้นคว้าจัยลดน้อยลงไป จึงมีแนวคิดที่จะให้เอกชนเข้ามาบริหารจัดการในเรื่องนี้ เพราะมีความชำนาญมากกว่าและเจ้าหน้าที่จะได้ไปทำหน้าที่หลัก ที่รับผิดชอบให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
นายจงคล้าย ย้ำว่า แม้จะให้เอกชนเข้ามาบริหาร แต่จะไม่ลืมว่าจุดประสงค์หลักของการก่อตั้งอุทยานชาติว่าอนุรักษ์สภาพความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า และระบบนิเวศอย่างแน่นอน
นอกจากนี้ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ชี้แจงกรณีที่มีการระบุว่าอุทยานแห่งชาติ 10 แห่ง ประกอบด้วย เขาใหญ่ ดอยอินทนนท์ ห้วยน้ำดัง หมู่เกาะสิมิลัน หมู่เกาะสุรินทร์ ภูกระดึง ดอยสุเทพ-ปุย แก่งกระจาน เอราวัณ และดอยผ้าห่มปก กำลังจะให้เอกชนเข้าไปลงทุนว่า น่าจะเป็นความเข้าใจผิด เพราะจนถึงเวลานี้ยังไม่มีการกำหนดแต่อย่างใด ว่าจะมีการนำร่องให้เอกชนเข้าไปลงทุนได้ที่อุทยานแห่งชาติแห่งใด
สำหรับ อุทยานแห่งชาติทั้ง 10 แห่งดังกล่าวนั้น เป็น 10 อุทยานแห่งชาติ ที่เพิ่งมีการกำหนดควบคุมจำนวนนักท่องเที่ยวไม่ให้เกินขีดความสามารถในการรองรับของพื้นที่เมื่อวันที่ 1 ก.ค.51 ที่ผ่านมา จึงเข้าใจว่าอาจจะมีความเป็นไปได้ที่มีการนำทั้งสองเรื่องมารวมกันแล้วทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน