ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ – เชียงใหม่กำชับนโยบายรับมืออุทกภัย สั่งห้ามน้ำท่วมเขตเมืองและห้ามมีผู้เสียชีวิต ย้ำพื้นที่เสี่ยง 918 หมู่บ้าน ติดตามสถานการณ์น้ำและอากาศอย่างใกล้ชิด เตรียมพร้อมเผชิญเหตุตลอดเวลา ขณะที่ศูนย์อุทกวิทยาและบริหารน้ำภาคเหนือตอนบน ระบุ ปริมาณน้ำแม่ปิงยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่ยังต้องเฝ้าระวังใกล้ชิด จนกว่าจะหมดฤดูมรสุมช่วงต้นเดือนตุลาคม
นายประจญ ปรัชญ์สกุล หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวถึงการเฝ้าระวัง และเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำท่วม วาตภัย และโคลนถล่มปี 2551 ว่า ขณะจังหวัดได้มีการจัดตั้งศุนย์อำนวยการเฉพาะกิจ ป้องกันและแก้ไขปัญหาแล้ว พร้อมทั้งจัดตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจขึ้น ซึ่งมีการประชุมติดตามสถานการณ์เป็นประจำทุกวัน โดยมีนโยบายสำคัญ 2 ข้อ คือ 1.ต้องป้องกันไม่ให้น้ำท่วมในเขตตัวเมืองเชียงใหม่ และ 2.สำหรับเขตนอกเมือง ต้องลดการสูญเสียด้านทรัพย์สินให้น้อยที่สุด และต้องไม่ให้มีผู้เสียชีวิต
ทั้งนี้ ได้มีการเน้นย้ำกำชับในทุกพื้นที่เสี่ยง ให้เตรียมพร้อมการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยอย่างเต็มที่ โดยติดตามข้อมูลอากาศ ปริมาณน้ำฝน และปริมาณน้ำท่าอย่างใกล้ชิด
ส่วนหมู่บ้านเสี่ยงภัยอุทกภัย ดินโคลนถล่มของจังหวัดเชียงใหม่ จากการปรับปรุงข้อมูลล่าสุดในปี 2551 มีหมู่บ้านเสี่ยงทั้งสิ้น 918 หมู่บ้าน แบ่งเป็น 3 ระดับตามความรุนแรง ได้แก่ สีแดง(รุนแรงมาก) 582 หมู่บ้าน สีเหลือง 329 หมู่บ้าน และสีเขียว 7 หมู่บ้าน ซึ่งได้มีกาติดตั้งเครื่องวัดปริมารน้ำฝนไปแล้ว 203 จุด และไซเรนเตือนภัยแบบมือหมุน 248 จุด มุ่งเน้นพื้นที่สีแดงเป็นหลัก
สำหรับการเผชิญเหตุนั้น ได้มีการแบ่งพื้นที่รับผิดชอบเป็น 3 โซน ประกอบ โซนเหนือ โซนกลาง และโซนใต้ ของจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้สามารถเข้าเผชิญเหตุได้อย่างทันท่วงทีในกรณีที่เกิดเหตุ
ขณะที่นายธาดา สุขะปุณพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์อุทกวิทยา และบริหารน้ำภาคเหนือตอนบน กล่าวถึงปริมาณน้ำในแม่น้ำปิงว่า ขณะนี้น้ำในแม่น้ำปิงมีปริมาณเฉลี่ย 72.03 ลูกบาศก์เมตร/วินาที หรือประมาณ 16% ของความจุลำน้ำ ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับปกติและไม่มีปัญหาน้ำล้นฝั่ง โดยภาวะน้ำปิงล้นฝั่งเข้าท่วมช่วงผ่านตัวเมืองเชียงใหม่ จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อปริมาณน้ำที่ไหลผ่านมีมากกว่า 440 ลูกบาศก์เมตร/วินาที
ด้านอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ทั้งเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลและเขื่อนแม่กวงอุดมธารา ยังคงมีความจุเหลืออีกมากสำหรับรองรับปริมาณน้ำฝน ทั้งนี้ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่หากมีน้ำฝนตกลงมาไม่เกิน 35 มิลลิเมตร ถือว่าปลอดภัย แต่หากมากกว่านั้นต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและหากเกิน 90 มิลลิเมตรก็ต้องมีการแจ้งเตือนทันที
ส่วนลำน้ำแม่แตงที่ไหลลงสู่แม่น้ำปิง ซึ่งเป็นตัวแปรหนึ่งของการเกิดน้ำล้นฝั่งท่วมเมืองเชียงใหม่นั้น ผู้อำนวยการศูนย์อุทกวิทยาและบริหารน้ำภาคเหนือตอนบน กล่าวว่า ได้มีการติดตามสถานการณ์ปริมาณน้ำอยู่ตลอดเวลา ซึ่งยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ ทั้งนี้หากปริมาณน้ำในลำน้ำแม่แตงมีปริมาณเกิน 150 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จึงจะถือว่าอยู่ในระดับที่ต้องมีการแจ้งเตือนภัย ซึ่งน้ำจะใช้เวลาในการไหลประมาณ 16 ชั่วโมงก่อนจะถึงตัวเมืองเชียงใหม่
สำหรับความเสี่ยงของจังหวัดเชียงใหม่ ที่จะเกิดน้ำท่วมฉับพลัน นายธาดา กล่าวว่า เมื่อเปรียบเทียบกับจังหวัดน่าน ที่อยู่ทางด้านตะวันออก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ต้องเผชิญกับพายุก่อน จังหวัดเชียงใหม่ถือว่ามีความเสี่ยงน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม ในส่วนของจังหวัดเชียงใหม่ ยังคงมีความจำเป็นต้องเตรียมความพร้อม และติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องต่อไป จนถึงต้นเดือนตุลาคมที่หมดช่วงของพายุแล้ว
นายประจญ ปรัชญ์สกุล หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวถึงการเฝ้าระวัง และเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำท่วม วาตภัย และโคลนถล่มปี 2551 ว่า ขณะจังหวัดได้มีการจัดตั้งศุนย์อำนวยการเฉพาะกิจ ป้องกันและแก้ไขปัญหาแล้ว พร้อมทั้งจัดตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจขึ้น ซึ่งมีการประชุมติดตามสถานการณ์เป็นประจำทุกวัน โดยมีนโยบายสำคัญ 2 ข้อ คือ 1.ต้องป้องกันไม่ให้น้ำท่วมในเขตตัวเมืองเชียงใหม่ และ 2.สำหรับเขตนอกเมือง ต้องลดการสูญเสียด้านทรัพย์สินให้น้อยที่สุด และต้องไม่ให้มีผู้เสียชีวิต
ทั้งนี้ ได้มีการเน้นย้ำกำชับในทุกพื้นที่เสี่ยง ให้เตรียมพร้อมการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยอย่างเต็มที่ โดยติดตามข้อมูลอากาศ ปริมาณน้ำฝน และปริมาณน้ำท่าอย่างใกล้ชิด
ส่วนหมู่บ้านเสี่ยงภัยอุทกภัย ดินโคลนถล่มของจังหวัดเชียงใหม่ จากการปรับปรุงข้อมูลล่าสุดในปี 2551 มีหมู่บ้านเสี่ยงทั้งสิ้น 918 หมู่บ้าน แบ่งเป็น 3 ระดับตามความรุนแรง ได้แก่ สีแดง(รุนแรงมาก) 582 หมู่บ้าน สีเหลือง 329 หมู่บ้าน และสีเขียว 7 หมู่บ้าน ซึ่งได้มีกาติดตั้งเครื่องวัดปริมารน้ำฝนไปแล้ว 203 จุด และไซเรนเตือนภัยแบบมือหมุน 248 จุด มุ่งเน้นพื้นที่สีแดงเป็นหลัก
สำหรับการเผชิญเหตุนั้น ได้มีการแบ่งพื้นที่รับผิดชอบเป็น 3 โซน ประกอบ โซนเหนือ โซนกลาง และโซนใต้ ของจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้สามารถเข้าเผชิญเหตุได้อย่างทันท่วงทีในกรณีที่เกิดเหตุ
ขณะที่นายธาดา สุขะปุณพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์อุทกวิทยา และบริหารน้ำภาคเหนือตอนบน กล่าวถึงปริมาณน้ำในแม่น้ำปิงว่า ขณะนี้น้ำในแม่น้ำปิงมีปริมาณเฉลี่ย 72.03 ลูกบาศก์เมตร/วินาที หรือประมาณ 16% ของความจุลำน้ำ ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับปกติและไม่มีปัญหาน้ำล้นฝั่ง โดยภาวะน้ำปิงล้นฝั่งเข้าท่วมช่วงผ่านตัวเมืองเชียงใหม่ จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อปริมาณน้ำที่ไหลผ่านมีมากกว่า 440 ลูกบาศก์เมตร/วินาที
ด้านอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ทั้งเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลและเขื่อนแม่กวงอุดมธารา ยังคงมีความจุเหลืออีกมากสำหรับรองรับปริมาณน้ำฝน ทั้งนี้ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่หากมีน้ำฝนตกลงมาไม่เกิน 35 มิลลิเมตร ถือว่าปลอดภัย แต่หากมากกว่านั้นต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและหากเกิน 90 มิลลิเมตรก็ต้องมีการแจ้งเตือนทันที
ส่วนลำน้ำแม่แตงที่ไหลลงสู่แม่น้ำปิง ซึ่งเป็นตัวแปรหนึ่งของการเกิดน้ำล้นฝั่งท่วมเมืองเชียงใหม่นั้น ผู้อำนวยการศูนย์อุทกวิทยาและบริหารน้ำภาคเหนือตอนบน กล่าวว่า ได้มีการติดตามสถานการณ์ปริมาณน้ำอยู่ตลอดเวลา ซึ่งยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ ทั้งนี้หากปริมาณน้ำในลำน้ำแม่แตงมีปริมาณเกิน 150 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จึงจะถือว่าอยู่ในระดับที่ต้องมีการแจ้งเตือนภัย ซึ่งน้ำจะใช้เวลาในการไหลประมาณ 16 ชั่วโมงก่อนจะถึงตัวเมืองเชียงใหม่
สำหรับความเสี่ยงของจังหวัดเชียงใหม่ ที่จะเกิดน้ำท่วมฉับพลัน นายธาดา กล่าวว่า เมื่อเปรียบเทียบกับจังหวัดน่าน ที่อยู่ทางด้านตะวันออก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ต้องเผชิญกับพายุก่อน จังหวัดเชียงใหม่ถือว่ามีความเสี่ยงน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม ในส่วนของจังหวัดเชียงใหม่ ยังคงมีความจำเป็นต้องเตรียมความพร้อม และติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องต่อไป จนถึงต้นเดือนตุลาคมที่หมดช่วงของพายุแล้ว