จันทบุรี - คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา จัดการสัมมนาระดมความคิดเห็นการแก้ปัญหาราคาผลไม้ตกต่ำและล้นตลาด เพื่อนำเสนอต่อรัฐบาล พร้อมรับฟัง 4 มาตรการหลักของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ฯ
เมื่อเร็วๆ นี้ คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา ได้นำผู้แทนภาคเกษตร ผู้แทนภาครัฐ เอกชน จากส่วนกลางและในพื้นที่ภาคตะวันนออกที่เกี่ยวข้องกับปัญหาผลไม้ เข้าร่วมการสัมมนาเพื่อศึกษาและรับฟังความคิดเห็น เรื่อง “ทางรอดผลไม้ภาคตะวันออก” ซึ่งจัดขึ้นที่โรงแรมมณีจันทร์ รีสอร์ท จังหวัดจันทบุรี เพื่อศึกษา และระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาของผลไม้ โดยเฉพาะปัญหาราคาผลไม้ตกต่ำ และผลไม้ล้นตลาด ก่อนที่จะนำข้อมูลไปสรุปเป็นข้อเสนอแนะเกี่ยวกับยุทธศาสตร์แก้วิกฤตการณ์ผลไม้ให้กับรัฐบาลต่อไป เนื่องจากพบว่าแนวทางการแก้ปัญหาผลไม้ของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมา ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะการแก้ไขปัญหาระยะสั้นเฉพาะหน้าเท่านั้น
นายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงปัญหาราคาผลไม้ตกต่ำที่ส่งผลกระทบต่อเกษตรนับล้านคนว่า มีสาเหตุหลักมาจากความสามารถในการกระจายผลผลิตในช่วงที่มีการกระจุกตัวยังไม่ดีพอ และการแปรรูปเชิงพาณิชย์ยังมีปริมาณน้อย รวมถึงภาคเอกชนขาดการสนับสนุนต่อเนื่องจากภาครัฐ ดังนั้น การแก้ปัญหาที่ผ่านมาจึงเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและขาดความเป็นเอกภาพ
สำหรับนโยบายในการแก้ไขปัญหาราคาผลไม้ตกต่ำระยะ 4 ปี พ.ศ.2551-2554 เพื่อสร้างโอกาสและผลักดันผลไม้ไทยสู่ตลาดโลก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ฯ ได้วางมาตรการหลักไว้ 4 ข้อ คือ การพัฒนาระบบการผลิตและการจัดการผลไม้ เช่น การลดพื้นที่ปลูก หรือการเพิ่มประสิทธิภาพผลไม้บางชนิด
มาตรการที่ 2 คือ การพัฒนาและขยายระบบลอจิสติกส์ หรือระบบขนส่งผลไม้ทั้งในตลาดภายในและต่างประเทศ มาตรการที่ 3 การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ด้วยการสนับสนุนการแปรรูป การออกแบบบรรจุภัณฑ์ และการวิจัยที่เกี่ยวข้อง และมาตรการที่ 4 พัฒนาระบบตลาดผลไม้ เช่น การส่งเสริมการกระจายผลผลิตผ่านโดยผ่านองค์กรภาครัฐและเอกชน และการเจรจาเพื่อป้องกันการกีดกันทางการค้า
เมื่อเร็วๆ นี้ คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ วุฒิสภา ได้นำผู้แทนภาคเกษตร ผู้แทนภาครัฐ เอกชน จากส่วนกลางและในพื้นที่ภาคตะวันนออกที่เกี่ยวข้องกับปัญหาผลไม้ เข้าร่วมการสัมมนาเพื่อศึกษาและรับฟังความคิดเห็น เรื่อง “ทางรอดผลไม้ภาคตะวันออก” ซึ่งจัดขึ้นที่โรงแรมมณีจันทร์ รีสอร์ท จังหวัดจันทบุรี เพื่อศึกษา และระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาของผลไม้ โดยเฉพาะปัญหาราคาผลไม้ตกต่ำ และผลไม้ล้นตลาด ก่อนที่จะนำข้อมูลไปสรุปเป็นข้อเสนอแนะเกี่ยวกับยุทธศาสตร์แก้วิกฤตการณ์ผลไม้ให้กับรัฐบาลต่อไป เนื่องจากพบว่าแนวทางการแก้ปัญหาผลไม้ของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมา ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะการแก้ไขปัญหาระยะสั้นเฉพาะหน้าเท่านั้น
นายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงปัญหาราคาผลไม้ตกต่ำที่ส่งผลกระทบต่อเกษตรนับล้านคนว่า มีสาเหตุหลักมาจากความสามารถในการกระจายผลผลิตในช่วงที่มีการกระจุกตัวยังไม่ดีพอ และการแปรรูปเชิงพาณิชย์ยังมีปริมาณน้อย รวมถึงภาคเอกชนขาดการสนับสนุนต่อเนื่องจากภาครัฐ ดังนั้น การแก้ปัญหาที่ผ่านมาจึงเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและขาดความเป็นเอกภาพ
สำหรับนโยบายในการแก้ไขปัญหาราคาผลไม้ตกต่ำระยะ 4 ปี พ.ศ.2551-2554 เพื่อสร้างโอกาสและผลักดันผลไม้ไทยสู่ตลาดโลก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ฯ ได้วางมาตรการหลักไว้ 4 ข้อ คือ การพัฒนาระบบการผลิตและการจัดการผลไม้ เช่น การลดพื้นที่ปลูก หรือการเพิ่มประสิทธิภาพผลไม้บางชนิด
มาตรการที่ 2 คือ การพัฒนาและขยายระบบลอจิสติกส์ หรือระบบขนส่งผลไม้ทั้งในตลาดภายในและต่างประเทศ มาตรการที่ 3 การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ด้วยการสนับสนุนการแปรรูป การออกแบบบรรจุภัณฑ์ และการวิจัยที่เกี่ยวข้อง และมาตรการที่ 4 พัฒนาระบบตลาดผลไม้ เช่น การส่งเสริมการกระจายผลผลิตผ่านโดยผ่านองค์กรภาครัฐและเอกชน และการเจรจาเพื่อป้องกันการกีดกันทางการค้า