กาฬสินธุ์-จังหวัดกาฬสินธุ์เร่งส่งเสริมให้เกษตรกรเพิ่มมูลค่าการเพาะปลูกมันสำปะหลัง และอ้อยที่จะทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นถึง 100% หวังนำส่วนต่างส่งเข้าโรงงานผลิตเป็นพลังงานทดแทน
นายเดชา ตันติยวรงค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า ปัจจุบันแนวทางการจัดหาพืชพลังงานทดแทน เป็นเป้าหมายหลักของการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ พืชไร่ของกลุ่มเกษตรกรจะมีการเพาะปลูกมันสำปะหลังมากถึง 300,000 ไร่ ส่วนอ้อยจะมีพื้นที่เพาะปลูกจำนวน 140,000 ไร่ ในแนวทางการพัฒนาเนื่องจาก พืชไร่ทั้ง 2 ชนิดไม่สามารถที่จะเพิ่มพื้นที่ได้ ในยุทธศาสตร์จังหวัด จึงเน้นไปที่การเพิ่มมูลค่าจากพื้นที่การเพาะปลูก
ภายหลังจากที่ได้ทำการส่งเสริมพบว่า เกษตรกรไร่มันสำปะหลังของลูกค้า ธ.ก.ส.สามารถทำการเพาะปลูกมันสำปะหลังได้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น จากเดิมจะได้ประมาณ 2.8 ตัน แต่ในขณะนี้ สามารถเพาะปลูกได้ผลผลิตจำนวน 10 ตันต่อไร่ ขณะที่การปลูกอ้อย ก็ได้ผลผลิตเพิ่มเติมจากเดิม 8 ตันต่อไร่ ขณะนี้สามารถทำการเพาะปลูกได้ถึง 12 ตันต่อไร่ ซึ่งก็จะทำให้ผลผลิตดังกล่าวสามารถส่งเข้าไปป้อนโรงงานได้อย่างสมบูรณ์
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความต้องการด้านพลังงานมีสูง โดยเฉพาะปัญหาน้ำมันเชื้อเพลิงในด้านเอทานอลที่เป็นพืชทางเลือก ก็ได้ดำเนินการส่งเสริมตามแผนงานในปี 2552 ในพืชทุกชนิดที่สามารถนำไปผลิตเป็นพลังงานได้ แต่เนื่องจากพลังงานมีราคาแพงก็จะมีการรณรงค์ให้ประชาชนหันมาร่วมกันประหยัดพลังงานต่อไป
นายเดชา ตันติยวรงค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า ปัจจุบันแนวทางการจัดหาพืชพลังงานทดแทน เป็นเป้าหมายหลักของการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ พืชไร่ของกลุ่มเกษตรกรจะมีการเพาะปลูกมันสำปะหลังมากถึง 300,000 ไร่ ส่วนอ้อยจะมีพื้นที่เพาะปลูกจำนวน 140,000 ไร่ ในแนวทางการพัฒนาเนื่องจาก พืชไร่ทั้ง 2 ชนิดไม่สามารถที่จะเพิ่มพื้นที่ได้ ในยุทธศาสตร์จังหวัด จึงเน้นไปที่การเพิ่มมูลค่าจากพื้นที่การเพาะปลูก
ภายหลังจากที่ได้ทำการส่งเสริมพบว่า เกษตรกรไร่มันสำปะหลังของลูกค้า ธ.ก.ส.สามารถทำการเพาะปลูกมันสำปะหลังได้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น จากเดิมจะได้ประมาณ 2.8 ตัน แต่ในขณะนี้ สามารถเพาะปลูกได้ผลผลิตจำนวน 10 ตันต่อไร่ ขณะที่การปลูกอ้อย ก็ได้ผลผลิตเพิ่มเติมจากเดิม 8 ตันต่อไร่ ขณะนี้สามารถทำการเพาะปลูกได้ถึง 12 ตันต่อไร่ ซึ่งก็จะทำให้ผลผลิตดังกล่าวสามารถส่งเข้าไปป้อนโรงงานได้อย่างสมบูรณ์
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความต้องการด้านพลังงานมีสูง โดยเฉพาะปัญหาน้ำมันเชื้อเพลิงในด้านเอทานอลที่เป็นพืชทางเลือก ก็ได้ดำเนินการส่งเสริมตามแผนงานในปี 2552 ในพืชทุกชนิดที่สามารถนำไปผลิตเป็นพลังงานได้ แต่เนื่องจากพลังงานมีราคาแพงก็จะมีการรณรงค์ให้ประชาชนหันมาร่วมกันประหยัดพลังงานต่อไป