พิษณุโลก - ป่าไม้สนธิกำลังตรวจยึดไม้สักทอง 10 ท่อน อายุ 40 ปี ถูกโค่นล้ม ระหว่างที่ผู้รับเหมาขยายถนนบนที่ของการรถไฟฯ แถมขุดรากไม้ตากแดดตากฝนโชว์ รอขนย้ายพร้อมท่อนซุงสัก
วันนี้ (1 ก.ค.) สายตรวจปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ภาคเหนือ (ป่าไม้ภาคเหนือ) หน่วยป้องกันรักษาป่าพิษณุโลกที่ 2 (วัดโบสถ์) ชุดเคลื่อนที่เร็วที่ 2 สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 4 (ตาก) และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดพิษณุโลก สนธิกำลังตรวจยึดไม้สักทองจำนวน 10 ต้น อายุประมาณ 40 ปี ที่ถูกโค่นลงบริเวณสายพิษณุโลก-เต็งหนาม หมู่ที่ 6 ต.หัวรอ อ.เมือง จ.พิษณุโลก
สภาพที่เกิดเหตุ พบต้นสักทองจำนวน 10 ต้น ถูกโค่นในบริเวณ 2 จุด เป็นที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย หลังจากที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลกสนับสนุนงบประมาณให้ผู้รับเหมารายหนึ่ง ทำการขยายถนน และขอใช้พื้นที่จากการรถไฟไฟที่มีอยู่เดิมให้กว้างขึ้น แต่ที่ผ่านมาผู้รับเหมาทำการก่อสร้างทางดังกล่าว ได้ทำการโค่นล้มไม้สัก โดยไม่ได้ขออนุญาตการกรมป่าไม้ ซึ่งจุดที่ไม้สักทองล้มอยู่ห่างกันประมาณ 1 กิโลเมตร จุดแรกอยู่บริเวณ หมู่ที่ 6 ต.หัวรอ ใกล้ถนนเลียบทางรถไฟกำลังสร้างทางมีไม้สักถูกโค่นจำนวน 5 ต้นห่างออกไปอยู่ที่หมู่ 11 ต.หัวรอ ใกล้สถานีรถไฟเต็งหนาม มีไม้สักทองถูกโค่น 5 ต้นที่ได้ตัดเป็นท่อนๆ เพื่อรอการขนย้าย นอกจากนี้ ยังมีรากไม้สักถูกขุดขึ้นมาและชักรากขึ้นมาเพื่อตากแดดตากฝน
นายนันทพงษ์ คำปิน หัวหน้าสายตรวจป่าไม้ภาคเหนือ เปิดเผยว่า ตรวจสอบแล้วไม่พบว่ามีการขออนุญาตโค่นต้นสักทองกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้แต่อย่างใด คำนวณจากอายุวงปี คาดว่า ต้นสักมีอายุประมาณ 40 ปี เป็นไม้ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติในเขตที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย เมื่อมาพบการกระทำดังกล่าวจึงทำการตรวจยึดและแจ้งต่อ พ.ต.ท พิสุทธิ์ คล้ายแสง สารวัตรเวร สภ.เมืองพิษณุโลก เพื่อสอบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดดังกล่าวมารับโทษ
เบื้องต้นมีความผิดตามมาตราที่ 11 ทำไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต และมาตรา 69 มีไม้สักหวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครอง ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ซึ่งมีมูลค่าความเสียหาย จำนวน 12.21 ลูกบาศ์กเมตร คิดเป็นเงิน 170,040 บาท
ทั้งนี้ ไม้สักเป็นทรัพย์สินของหลวงหรือการรถไฟฯ เมื่อมีการขยายถนน จะต้องมีการขออนุญาตจากกรมป่าไม้ เนื่องจากสักต้นใหญ่ แต่ผู้รับเหมาอ้างหรือละเลย หรือมีเจตนาครอบครองเอง ไม่อาจทราบได้ แต่ถ้าขออนุญาตต้นไม้สักจะเป็นทรัพย์สินของหลวงหรือการรถไฟ ซึ่งการโค่นไม้สักขนาดใหญ่อายุ 40 ปีนั้นมีมูลค่าสูง เจ้าหน้าที่ป่าไม้หรือหน่วยงานอื่นพยายามช่วยกันปลูกป่าตามพระราชเสาวนีย์ แต่ถูกโค่นอย่างง่ายๆ กลางเมืองพิษณุโลก
วันนี้ (1 ก.ค.) สายตรวจปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ภาคเหนือ (ป่าไม้ภาคเหนือ) หน่วยป้องกันรักษาป่าพิษณุโลกที่ 2 (วัดโบสถ์) ชุดเคลื่อนที่เร็วที่ 2 สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 4 (ตาก) และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดพิษณุโลก สนธิกำลังตรวจยึดไม้สักทองจำนวน 10 ต้น อายุประมาณ 40 ปี ที่ถูกโค่นลงบริเวณสายพิษณุโลก-เต็งหนาม หมู่ที่ 6 ต.หัวรอ อ.เมือง จ.พิษณุโลก
สภาพที่เกิดเหตุ พบต้นสักทองจำนวน 10 ต้น ถูกโค่นในบริเวณ 2 จุด เป็นที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย หลังจากที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลกสนับสนุนงบประมาณให้ผู้รับเหมารายหนึ่ง ทำการขยายถนน และขอใช้พื้นที่จากการรถไฟไฟที่มีอยู่เดิมให้กว้างขึ้น แต่ที่ผ่านมาผู้รับเหมาทำการก่อสร้างทางดังกล่าว ได้ทำการโค่นล้มไม้สัก โดยไม่ได้ขออนุญาตการกรมป่าไม้ ซึ่งจุดที่ไม้สักทองล้มอยู่ห่างกันประมาณ 1 กิโลเมตร จุดแรกอยู่บริเวณ หมู่ที่ 6 ต.หัวรอ ใกล้ถนนเลียบทางรถไฟกำลังสร้างทางมีไม้สักถูกโค่นจำนวน 5 ต้นห่างออกไปอยู่ที่หมู่ 11 ต.หัวรอ ใกล้สถานีรถไฟเต็งหนาม มีไม้สักทองถูกโค่น 5 ต้นที่ได้ตัดเป็นท่อนๆ เพื่อรอการขนย้าย นอกจากนี้ ยังมีรากไม้สักถูกขุดขึ้นมาและชักรากขึ้นมาเพื่อตากแดดตากฝน
นายนันทพงษ์ คำปิน หัวหน้าสายตรวจป่าไม้ภาคเหนือ เปิดเผยว่า ตรวจสอบแล้วไม่พบว่ามีการขออนุญาตโค่นต้นสักทองกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้แต่อย่างใด คำนวณจากอายุวงปี คาดว่า ต้นสักมีอายุประมาณ 40 ปี เป็นไม้ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติในเขตที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย เมื่อมาพบการกระทำดังกล่าวจึงทำการตรวจยึดและแจ้งต่อ พ.ต.ท พิสุทธิ์ คล้ายแสง สารวัตรเวร สภ.เมืองพิษณุโลก เพื่อสอบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดดังกล่าวมารับโทษ
เบื้องต้นมีความผิดตามมาตราที่ 11 ทำไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต และมาตรา 69 มีไม้สักหวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครอง ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ซึ่งมีมูลค่าความเสียหาย จำนวน 12.21 ลูกบาศ์กเมตร คิดเป็นเงิน 170,040 บาท
ทั้งนี้ ไม้สักเป็นทรัพย์สินของหลวงหรือการรถไฟฯ เมื่อมีการขยายถนน จะต้องมีการขออนุญาตจากกรมป่าไม้ เนื่องจากสักต้นใหญ่ แต่ผู้รับเหมาอ้างหรือละเลย หรือมีเจตนาครอบครองเอง ไม่อาจทราบได้ แต่ถ้าขออนุญาตต้นไม้สักจะเป็นทรัพย์สินของหลวงหรือการรถไฟ ซึ่งการโค่นไม้สักขนาดใหญ่อายุ 40 ปีนั้นมีมูลค่าสูง เจ้าหน้าที่ป่าไม้หรือหน่วยงานอื่นพยายามช่วยกันปลูกป่าตามพระราชเสาวนีย์ แต่ถูกโค่นอย่างง่ายๆ กลางเมืองพิษณุโลก