ตราด - กฟภ.ทุ่มงบ 500 ล้านบาท ติดตั้งสายเคเบิลไฟฟ้าสายที่ 2 ลงเกาะช้างเหตุธุรกิจโต เตรียมสร้างสำนักงานแห่งใหม่บนเกาะช้าง เผยสามารถขายไปเกาะอื่นหากพร้อม
นายอดิศร เกียรติโชควิวัฒน์ ผู้ว่าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เผยว่า ในระหว่างวันที่ 6-7 มิถุนายน 2551 ได้พาคณะผู้บริหารเดินทางไปตรวจสถานที่วางสายเคเบิล ไฟฟ้า สายที่ 2 จากฝั่ง ต.บางปิด อ.แหลมงอบ ลอดใต้ทะเลสู่บ้านอ่าวสัปรด ต.เกาะช้าง อ.เกาะช้าง จ.ตราด เพื่อเตรียมการวางสายเคเบิลไฟฟ้าใต้น้ำ หลังจากได้ทำแผนการขยายไฟฟ้าไปยัง อ.เกาะช้าง
เนื่องจากปัจจุบันเกาะช้าง มีความเติบโตทางธุรกิจสูงและมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงขึ้นเป็น 1-2 เท่าตัว ในปัจจุบัน ส่งผลให้คุณภาพการจ่าย ๆ ไฟฟ้าจากสถานีจ่ายไฟฟ้าที่ อ.เกาะช้าง ยังได้ทำการวางสายเคเบิลไฟฟ้าใต้น้ำสายที่ 1 มีปัญหาในเรื่องคุณภาพใน ช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง ที่ผ่านมาทางการไฟฟ้าจังหวัดและ กฟภ. ได้มีการประชุมและวางแผนในการพัฒนา ศักยภาพของการจ่ายไฟฟ้าในพื้นที่ จ.ตราดไว้นานแล้ว อีกทั้งยังได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้มาแล้ว ซึ่งได้ผลสรุป เพื่อดำเนินการในปี 2552 นี้
“เกาะช้างเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสำคัญยิ่งของ จ.ตราด และมีการเติบโตทางธุรกิจสูงมากในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา เพราะมีการลงทุนก่อสร้างโรงแรม,รีสอร์ท ขนาดใหญ่ และธุรกิจเกี่ยวข้องมากมาย ซึ่ง กฟภ. ต้อง การพัฒนาไฟฟ้าบนเกาะช้างให้มีความมั่นคง และเตรียมการรองรับความเติบโตที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทาง กฟภ. จึงได้เตรียมการลงทุนวางสายเคเบิลไฟฟ้าใต้น้ำเป็นจุดที่ 2 อีกจำนวน 115 กิโลวัตต์ ที่ อ.เกาะช้าง จากฝั่ง อ.แหลมงอบ มายัง อ.เกาะช้าง ระยะทางยาวประมาณ 5-7 กิโลเมตร ซึ่งสถานที่วางสายเคเบิลไฟฟ้าใต้น้ำทั้งจุดที่ ลงที่ อ.แหลมงอบ และจุดที่ขึ้นที่ อ.เกาะช้าง ได้รับอนุญาตเรียบร้อยแล้ว”
นายอดิศร กล่าวอีกว่า สถานที่และที่ดินที่จะใช้ในการสร้างสถานีจ่ายไฟฟ้า มีความเหมาะสมมากและ ราคาที่ดินก็ไม่สูง ดังนั้นภายในเดือนตุลาคม 2552 การวางสายเคเบิลไฟฟ้าใต้น้ำจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ พร้อมจัดหา สถานที่สร้างสำนักงานและสถานีจ่ายไฟฟ้าย่อยบนเกาะช้าง
ทั้งนี้ จะลงทุนทั้งหมด 500 กว่าล้านบาท โดยที่ดิน ได้เจรจากับผู้ขายได้ในราคา 10 กว่าล้านบาท ซึ่งถือว่าราคาเหมาะสม ขณะเดียวกันทาง กฟภ. มีโครงการที่จะ ขยายไฟฟ้าไปยังเกาะอื่น ๆ เช่น เกาะกูด หรือเกาะหมาก ที่มีความเติบโตทางธุรกิจท่องเที่ยวเช่นเดียวกับเกาะช้างโดย การสร้างสายเคเบิลไฟฟ้าใต้น้ำแต่ต้องมีการศึกษาถึงความเป็นไปได้ในเชิงธุรกิจ ว่าจะลงทุนเท่าไร และ สามารถดำเนินการได้เมื่อใด และคุ้มกับการลงทุนทางธุรกิจหรือไม่
นายอดิศร เกียรติโชควิวัฒน์ ผู้ว่าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เผยว่า ในระหว่างวันที่ 6-7 มิถุนายน 2551 ได้พาคณะผู้บริหารเดินทางไปตรวจสถานที่วางสายเคเบิล ไฟฟ้า สายที่ 2 จากฝั่ง ต.บางปิด อ.แหลมงอบ ลอดใต้ทะเลสู่บ้านอ่าวสัปรด ต.เกาะช้าง อ.เกาะช้าง จ.ตราด เพื่อเตรียมการวางสายเคเบิลไฟฟ้าใต้น้ำ หลังจากได้ทำแผนการขยายไฟฟ้าไปยัง อ.เกาะช้าง
เนื่องจากปัจจุบันเกาะช้าง มีความเติบโตทางธุรกิจสูงและมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงขึ้นเป็น 1-2 เท่าตัว ในปัจจุบัน ส่งผลให้คุณภาพการจ่าย ๆ ไฟฟ้าจากสถานีจ่ายไฟฟ้าที่ อ.เกาะช้าง ยังได้ทำการวางสายเคเบิลไฟฟ้าใต้น้ำสายที่ 1 มีปัญหาในเรื่องคุณภาพใน ช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง ที่ผ่านมาทางการไฟฟ้าจังหวัดและ กฟภ. ได้มีการประชุมและวางแผนในการพัฒนา ศักยภาพของการจ่ายไฟฟ้าในพื้นที่ จ.ตราดไว้นานแล้ว อีกทั้งยังได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้มาแล้ว ซึ่งได้ผลสรุป เพื่อดำเนินการในปี 2552 นี้
“เกาะช้างเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสำคัญยิ่งของ จ.ตราด และมีการเติบโตทางธุรกิจสูงมากในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา เพราะมีการลงทุนก่อสร้างโรงแรม,รีสอร์ท ขนาดใหญ่ และธุรกิจเกี่ยวข้องมากมาย ซึ่ง กฟภ. ต้อง การพัฒนาไฟฟ้าบนเกาะช้างให้มีความมั่นคง และเตรียมการรองรับความเติบโตที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทาง กฟภ. จึงได้เตรียมการลงทุนวางสายเคเบิลไฟฟ้าใต้น้ำเป็นจุดที่ 2 อีกจำนวน 115 กิโลวัตต์ ที่ อ.เกาะช้าง จากฝั่ง อ.แหลมงอบ มายัง อ.เกาะช้าง ระยะทางยาวประมาณ 5-7 กิโลเมตร ซึ่งสถานที่วางสายเคเบิลไฟฟ้าใต้น้ำทั้งจุดที่ ลงที่ อ.แหลมงอบ และจุดที่ขึ้นที่ อ.เกาะช้าง ได้รับอนุญาตเรียบร้อยแล้ว”
นายอดิศร กล่าวอีกว่า สถานที่และที่ดินที่จะใช้ในการสร้างสถานีจ่ายไฟฟ้า มีความเหมาะสมมากและ ราคาที่ดินก็ไม่สูง ดังนั้นภายในเดือนตุลาคม 2552 การวางสายเคเบิลไฟฟ้าใต้น้ำจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ พร้อมจัดหา สถานที่สร้างสำนักงานและสถานีจ่ายไฟฟ้าย่อยบนเกาะช้าง
ทั้งนี้ จะลงทุนทั้งหมด 500 กว่าล้านบาท โดยที่ดิน ได้เจรจากับผู้ขายได้ในราคา 10 กว่าล้านบาท ซึ่งถือว่าราคาเหมาะสม ขณะเดียวกันทาง กฟภ. มีโครงการที่จะ ขยายไฟฟ้าไปยังเกาะอื่น ๆ เช่น เกาะกูด หรือเกาะหมาก ที่มีความเติบโตทางธุรกิจท่องเที่ยวเช่นเดียวกับเกาะช้างโดย การสร้างสายเคเบิลไฟฟ้าใต้น้ำแต่ต้องมีการศึกษาถึงความเป็นไปได้ในเชิงธุรกิจ ว่าจะลงทุนเท่าไร และ สามารถดำเนินการได้เมื่อใด และคุ้มกับการลงทุนทางธุรกิจหรือไม่