หนองคาย- กลุ่มผู้เลี้ยงปลากระชังหนองคายเดือดร้อนหนักหลังปลากระชังที่เลี้ยงไว้ใน 3 ตำบล ลอยตายเกลื่อน ขณะที่ประมงส่งปลาตรวจหาสาเหตุการตายพบเกิดจากติดเชื้อแบคทีเรีย ทางการเตรียมประกาศให้เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติโรคระบาด
เมื่อเวลา 10.00 น.วันนี้ (6 มิ.ย.) ที่หอประชุมที่ว่าการอำเภอเมืองหนองคาย กลุ่มผู้เลี้ยงปลานิลกระชังในแม่น้ำโขง จาก ตำบลหาดคำ, ตำบลหินโงม และ ตำบลบ้านเดื่อ ประมาณ 100 คน ได้เข้าพบ นายคเนศ ศรีจันทร์ ปลัดอาวุโส ปฏิบัติราชการแทนนายอำเภอเมืองหนองคาย เพื่อขอรับการช่วยเหลือจากทางราชการหลังจากที่ปลากระชังที่เลี้ยงไว้ตายโดยไม่ทราบสาเหตุ
นายด่อน ชินพาด อายุ 60 ปี อยู่บ้านเลขที่ 196 หมู่ 8 ต.หินโงม อ.เมืองหนองคาย ประธานกลุ่มผู้เลี้ยงปลากระชัง ต.หินโงม กล่าวว่า เมื่อวันที่ 15 พ.ค.ที่ผ่านมา ปลากระชังของชาวบ้านที่เลี้ยงไว้ลอยตายเกลื่อนกระชัง สอบถามไปยังชาวบ้านในตำบลหาดคำ และตำบลบ้านเดื่อที่อยู่ใกล้เคียงกันทราบว่าเกิดปัญหาปลาตายเช่นเดียวกัน จึงได้แจ้งให้ทางการทราบ
เบื้องต้นประมงจังหวัดหนองคายได้เข้าทำการตรวจสอบและเก็บตัวอย่างปลาที่ตายไปตรวจพิสูจน์ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จาก ธ.ก.ส.สาขาหนองคายก็ไปดูเช่นเดียวกันเนื่องจากส่วนใหญ่ชาวบ้านจะเป็นหนี้ ธ.ก.ส.เมื่อปลากระชังตายเช่นนี้ทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ ธ.ก.ส.ได้ตามกำหนด
ส่วนปลาที่ตายส่วนหนึ่งชาวบ้านได้นำไปทำปลาร้า ส่วนหนึ่งนำไปทำลายทิ้ง ขณะนี้ชาวบ้านต้องขาดทุนอย่างน้อยรายละ 1 แสนบาท
นายคเนศ ศรีจันทร์ ปลัดอาวุโส กล่าวว่า ภายหลังจากที่ได้รับทราบเหตุการณ์จากชาวบ้านแล้ว ครั้งแรกยังไม่สามารถให้การช่วยเหลือชาวบ้านได้อย่างทันทีได้เนื่องจากติดขัดในเรื่องหลักเกณฑ์การช่วยเหลือ จึงให้ชาวบ้านที่ประสบเหตุสำรวจความเสียหายรายงานเข้ามา ปรากฏว่า ในพื้นที่ตำบลหาดคำ มีชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน 14 ราย ปลากระชังตาย 110 กระชัง ตำบลหินโงม 30 ราย จำนวน 68 กระชัง และตำบลบ้านเดื่อ 37 ราย 435 กระชัง โดยแต่ละกระชังจะเลี้ยงปลาประมาณ 2,500 ตัว รวมชาวบ้าน 81 ราย 613 กระชัง
จากนั้นเมื่อวันที่ 2 มิ.ย.ที่ผ่านมา ทางอำเภอได้รับรายงานผลการตรวจพิสูจน์ปลาที่ตายจากสถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำจืด ว่า ปลานิลที่ตายมีอาการตกเลือด ครีบกร่อน เกล็ดหลุด เหงือกซีด ท้องบวมน้ำ และมีเมือกตามลำตัว ลำไส้บวม ซึ่งมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ส่งผลให้เนื้อเยื่อบริเวณที่แบคทีเรียฝังตัวอยู่เกิดการอักเสบและตายในที่สุด โดยได้แนะนำว่าปลานิลที่ตายนั้นสามารถรับประทานได้แต่ต้องปรุงให้สุกเสียก่อน
สาเหตุสำคัญอาจมาจากสภาพน้ำในแม่น้ำโขงเนื่องจากขณะนี้ฝนเริ่มตกลงมาอย่างหนักและต่อเนื่อง โดยน้ำฝนอาจชะล้างสิ่งสกปรกหรือการปล่อยน้ำเสียลงตามท่อระบายน้ำลงสู่น้ำโขงทำให้น้ำเสียไหลลงน้ำโขงและส่งผลกระทบต่อปลาที่เลี้ยงในกระชังของชาวบ้าน
ในครั้งนี้ได้แจ้งให้ชาวบ้านทราบถึงกระบวนการขั้นตอนช่วยเหลือของรัฐ โดยเบื้องต้นได้ประกาศให้บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ภัยพิบัติโรคระบาด เพื่อสามารถให้ความช่วยเหลือได้ ซึ่งจะต้องพิจารณาสัดส่วนความช่วยเหลือชาวบ้านแต่ละราย หลักเกณฑ์กำหนดว่าให้ความช่วยเหลือเงินชดเชยได้คิดเป็นรายละ 150 บาทต่อตารางเมตร แต่ต้องไม่เกินรายละ 80 ตารางเมตร และจะได้นำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการให้การช่วยเหลือในลำดับต่อไป
เมื่อเวลา 10.00 น.วันนี้ (6 มิ.ย.) ที่หอประชุมที่ว่าการอำเภอเมืองหนองคาย กลุ่มผู้เลี้ยงปลานิลกระชังในแม่น้ำโขง จาก ตำบลหาดคำ, ตำบลหินโงม และ ตำบลบ้านเดื่อ ประมาณ 100 คน ได้เข้าพบ นายคเนศ ศรีจันทร์ ปลัดอาวุโส ปฏิบัติราชการแทนนายอำเภอเมืองหนองคาย เพื่อขอรับการช่วยเหลือจากทางราชการหลังจากที่ปลากระชังที่เลี้ยงไว้ตายโดยไม่ทราบสาเหตุ
นายด่อน ชินพาด อายุ 60 ปี อยู่บ้านเลขที่ 196 หมู่ 8 ต.หินโงม อ.เมืองหนองคาย ประธานกลุ่มผู้เลี้ยงปลากระชัง ต.หินโงม กล่าวว่า เมื่อวันที่ 15 พ.ค.ที่ผ่านมา ปลากระชังของชาวบ้านที่เลี้ยงไว้ลอยตายเกลื่อนกระชัง สอบถามไปยังชาวบ้านในตำบลหาดคำ และตำบลบ้านเดื่อที่อยู่ใกล้เคียงกันทราบว่าเกิดปัญหาปลาตายเช่นเดียวกัน จึงได้แจ้งให้ทางการทราบ
เบื้องต้นประมงจังหวัดหนองคายได้เข้าทำการตรวจสอบและเก็บตัวอย่างปลาที่ตายไปตรวจพิสูจน์ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จาก ธ.ก.ส.สาขาหนองคายก็ไปดูเช่นเดียวกันเนื่องจากส่วนใหญ่ชาวบ้านจะเป็นหนี้ ธ.ก.ส.เมื่อปลากระชังตายเช่นนี้ทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ ธ.ก.ส.ได้ตามกำหนด
ส่วนปลาที่ตายส่วนหนึ่งชาวบ้านได้นำไปทำปลาร้า ส่วนหนึ่งนำไปทำลายทิ้ง ขณะนี้ชาวบ้านต้องขาดทุนอย่างน้อยรายละ 1 แสนบาท
นายคเนศ ศรีจันทร์ ปลัดอาวุโส กล่าวว่า ภายหลังจากที่ได้รับทราบเหตุการณ์จากชาวบ้านแล้ว ครั้งแรกยังไม่สามารถให้การช่วยเหลือชาวบ้านได้อย่างทันทีได้เนื่องจากติดขัดในเรื่องหลักเกณฑ์การช่วยเหลือ จึงให้ชาวบ้านที่ประสบเหตุสำรวจความเสียหายรายงานเข้ามา ปรากฏว่า ในพื้นที่ตำบลหาดคำ มีชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน 14 ราย ปลากระชังตาย 110 กระชัง ตำบลหินโงม 30 ราย จำนวน 68 กระชัง และตำบลบ้านเดื่อ 37 ราย 435 กระชัง โดยแต่ละกระชังจะเลี้ยงปลาประมาณ 2,500 ตัว รวมชาวบ้าน 81 ราย 613 กระชัง
จากนั้นเมื่อวันที่ 2 มิ.ย.ที่ผ่านมา ทางอำเภอได้รับรายงานผลการตรวจพิสูจน์ปลาที่ตายจากสถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำจืด ว่า ปลานิลที่ตายมีอาการตกเลือด ครีบกร่อน เกล็ดหลุด เหงือกซีด ท้องบวมน้ำ และมีเมือกตามลำตัว ลำไส้บวม ซึ่งมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ส่งผลให้เนื้อเยื่อบริเวณที่แบคทีเรียฝังตัวอยู่เกิดการอักเสบและตายในที่สุด โดยได้แนะนำว่าปลานิลที่ตายนั้นสามารถรับประทานได้แต่ต้องปรุงให้สุกเสียก่อน
สาเหตุสำคัญอาจมาจากสภาพน้ำในแม่น้ำโขงเนื่องจากขณะนี้ฝนเริ่มตกลงมาอย่างหนักและต่อเนื่อง โดยน้ำฝนอาจชะล้างสิ่งสกปรกหรือการปล่อยน้ำเสียลงตามท่อระบายน้ำลงสู่น้ำโขงทำให้น้ำเสียไหลลงน้ำโขงและส่งผลกระทบต่อปลาที่เลี้ยงในกระชังของชาวบ้าน
ในครั้งนี้ได้แจ้งให้ชาวบ้านทราบถึงกระบวนการขั้นตอนช่วยเหลือของรัฐ โดยเบื้องต้นได้ประกาศให้บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ภัยพิบัติโรคระบาด เพื่อสามารถให้ความช่วยเหลือได้ ซึ่งจะต้องพิจารณาสัดส่วนความช่วยเหลือชาวบ้านแต่ละราย หลักเกณฑ์กำหนดว่าให้ความช่วยเหลือเงินชดเชยได้คิดเป็นรายละ 150 บาทต่อตารางเมตร แต่ต้องไม่เกินรายละ 80 ตารางเมตร และจะได้นำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการให้การช่วยเหลือในลำดับต่อไป