พะเยา – ยอดค้าชายแดนไทย-ลาว ผ่านชายแดนเมืองกว๊านพุ่ง หลัง Contract Framing 2 ประเทศเห็นผล จนกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นแถบชายแดนภูซางขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่กลุ่มผู้ค้าท้องถิ่นเสนอรัฐเปิดด่านถาวร รับการค้าขยายตัว
นายอนุชาติ สุริยา ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 3 ต.ภูซาง อ.ภูซาง จ.พะเยา จากอดีต 5-10 ปีที่ผ่านมามูลค่าการค้าขายระหว่างชายแดนโดยผ่านจุดผ่อนปรนกิ่วหก บ้านฮวก ต.ภูซาง มีมูลค่าต่อปีประมาณ 80-100 ล้านบาท แต่ต่อมาทางจังหวัดได้มีนโยบายส่งเสริมการผลิตภาคการเกษตรกรรม โดยเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้ประกอบการ เกี่ยวกับสินค้าเกษตรกรรมเข้าไปปฏิสัมพันธ์กับแขวงต่างๆ ใน สปป.ลาว ที่เรียกกันว่าการทำคอนแทร็กฟาร์มมิง เช่น แขวงไชยบุรี แขวงบ่อแก้ว แขวงอุดมไชย และ แขวงหลวงน้ำทา โดยผ่านเข้าออก ณ จุดผ่อนปรนกิ่วหก ส่งผลทำให้เกิดมูลค่าการค้าชายแดนในปัจจุบันมีมูลค่าเดือนละประมาณ 20-30 ล้านบาท หรือเฉลี่ยต่อวันมีมูลค่าสินค้าผ่านเข้าออก ณ จุดผ่อนปรนแห่งนี้ประมาณ 1-2 ล้านบาท
นายอนุชาติ กล่าวต่อว่า สินค้าที่มีการค้าขายผ่านจุดผ่อนปรนแห่งนี้ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทเกษตรกรรม สินค้าประเภทวัสดุก่อสร้าง และผ้าแปรรูป อาทิ ข้าวโพด ถั่วลิสง ไม้แปรรูป ปูนซีเมนต์ ผ้าทอ ผ้าใยกัญชง สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการค้าชายแดนมีจำนวนประมาณ 60-70 ราย แบ่งเป็นผู้ประกอบการในพื้นที่ ต.ภูซาง ประมาณ 40 ราย ผู้ประกอบการนอกพื้นที่ ต.ภูซาง ประมาณ 30 ราย
“ผมจึงอยากให้ภาครัฐและเอกชนเข้ามาร่วมกันผลักดันและส่งเสริมการค้าชายแดนอย่างจริงจัง เพื่อนำไปสู่การยกฐานะของจุดผ่อนปรนกิ่วหกเป็นจุดผ่านแดนถาวรในอนาคตอันรวดเร็ว ที่สำคัญทำให้เกิดการประหยัดทรัพยากรและเวลาสำหรับผู้ประกอบการที่นำสินค้าผ่านแดนแห่งนี้มากกว่า ที่ อ.เชียงของ จ.เชียงราย และ ที่ด่านห้วยโก๋น อ.สองแคว จ.น่าน”
ด้าน นางอาภาศรี นุเว ประธานกลุ่มผู้ผลิตร้านอาภาศรี ต.ภูซาง อ.ภูซาง กล่าวเสริมว่า ตนมีความเห็นด้วยกับกลุ่มผู้ประกอบการในพื้นที่ที่ต้องการเร่งผลักดันให้จุดผ่อนปรนกิ่วหกเป็นจุดผ่านแดนถาวรโดยเร็ว เพราะจะทำให้การควบคุมการค้าชายแดนอย่างเป็นระบบมากขึ้น แนวคิดหนึ่งซึ่งตนคิดว่าจะเป็นสิ่งผลักดันให้จุดผ่อนปรนแห่งนี้เป็นจุดผ่านแดนถาวรอย่างเร็วก็คือ การจัดสัมมนากลุ่มที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับจุดผ่อนปรนแห่งนี้ ทั้งภาครัฐ เช่น กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง จังหวัดพะเยา ประชาชนในพื้นที่ และผู้ประกอบการทุกกลุ่มที่ใช้บริการเข้าออก ณ จุดผ่อนปรนกิ่วหก โดยต้องจัดให้บ่อยครั้งเดือนละครั้ง หรือสองถึงสามเดือนครั้ง เพื่อประชาสัมพันธ์ทำให้เห็นความเคลื่อนไหวและการเติบโตของการค้าชายแดนอย่างต่อเนื่องจะสามารถเป็นจุดผ่านแดนถาวรได้เร็วยิ่งขึ้น
นางสาวเรืองวรรณ บัวนุช ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา กล่าวว่า แนวคิดที่ต้องการผลักดันจุดผ่อนปรนกิ่วหก ต.ภูซาง อ.ภูซาง ให้เป็นจุดผ่านแดนถาวรนั้น เป็นเรื่องที่ตนคิดอยู่ตลอดเวลาเพราะการค้าและการท่องเที่ยวชายแดนจะทำให้เกิดรายได้สู่ประชาชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ฉะนั้นการเตรียมความพร้อมสำหรับการยกฐานะเป็นจุดผ่านแดนถาวรยิ่งต้องทำต่อเนื่อง เมื่อการเตรียมการณ์ทุกอย่างพร้อมสรรพก็รอเพียง สปป.ลาว มีความพร้อมและตกลงด้วยกันจะสามารถประกาศยกฐานะเป็นจุดผ่านแดนถาวรได้ทันที
นายอนุชาติ สุริยา ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 3 ต.ภูซาง อ.ภูซาง จ.พะเยา จากอดีต 5-10 ปีที่ผ่านมามูลค่าการค้าขายระหว่างชายแดนโดยผ่านจุดผ่อนปรนกิ่วหก บ้านฮวก ต.ภูซาง มีมูลค่าต่อปีประมาณ 80-100 ล้านบาท แต่ต่อมาทางจังหวัดได้มีนโยบายส่งเสริมการผลิตภาคการเกษตรกรรม โดยเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้ประกอบการ เกี่ยวกับสินค้าเกษตรกรรมเข้าไปปฏิสัมพันธ์กับแขวงต่างๆ ใน สปป.ลาว ที่เรียกกันว่าการทำคอนแทร็กฟาร์มมิง เช่น แขวงไชยบุรี แขวงบ่อแก้ว แขวงอุดมไชย และ แขวงหลวงน้ำทา โดยผ่านเข้าออก ณ จุดผ่อนปรนกิ่วหก ส่งผลทำให้เกิดมูลค่าการค้าชายแดนในปัจจุบันมีมูลค่าเดือนละประมาณ 20-30 ล้านบาท หรือเฉลี่ยต่อวันมีมูลค่าสินค้าผ่านเข้าออก ณ จุดผ่อนปรนแห่งนี้ประมาณ 1-2 ล้านบาท
นายอนุชาติ กล่าวต่อว่า สินค้าที่มีการค้าขายผ่านจุดผ่อนปรนแห่งนี้ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทเกษตรกรรม สินค้าประเภทวัสดุก่อสร้าง และผ้าแปรรูป อาทิ ข้าวโพด ถั่วลิสง ไม้แปรรูป ปูนซีเมนต์ ผ้าทอ ผ้าใยกัญชง สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการค้าชายแดนมีจำนวนประมาณ 60-70 ราย แบ่งเป็นผู้ประกอบการในพื้นที่ ต.ภูซาง ประมาณ 40 ราย ผู้ประกอบการนอกพื้นที่ ต.ภูซาง ประมาณ 30 ราย
“ผมจึงอยากให้ภาครัฐและเอกชนเข้ามาร่วมกันผลักดันและส่งเสริมการค้าชายแดนอย่างจริงจัง เพื่อนำไปสู่การยกฐานะของจุดผ่อนปรนกิ่วหกเป็นจุดผ่านแดนถาวรในอนาคตอันรวดเร็ว ที่สำคัญทำให้เกิดการประหยัดทรัพยากรและเวลาสำหรับผู้ประกอบการที่นำสินค้าผ่านแดนแห่งนี้มากกว่า ที่ อ.เชียงของ จ.เชียงราย และ ที่ด่านห้วยโก๋น อ.สองแคว จ.น่าน”
ด้าน นางอาภาศรี นุเว ประธานกลุ่มผู้ผลิตร้านอาภาศรี ต.ภูซาง อ.ภูซาง กล่าวเสริมว่า ตนมีความเห็นด้วยกับกลุ่มผู้ประกอบการในพื้นที่ที่ต้องการเร่งผลักดันให้จุดผ่อนปรนกิ่วหกเป็นจุดผ่านแดนถาวรโดยเร็ว เพราะจะทำให้การควบคุมการค้าชายแดนอย่างเป็นระบบมากขึ้น แนวคิดหนึ่งซึ่งตนคิดว่าจะเป็นสิ่งผลักดันให้จุดผ่อนปรนแห่งนี้เป็นจุดผ่านแดนถาวรอย่างเร็วก็คือ การจัดสัมมนากลุ่มที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับจุดผ่อนปรนแห่งนี้ ทั้งภาครัฐ เช่น กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง จังหวัดพะเยา ประชาชนในพื้นที่ และผู้ประกอบการทุกกลุ่มที่ใช้บริการเข้าออก ณ จุดผ่อนปรนกิ่วหก โดยต้องจัดให้บ่อยครั้งเดือนละครั้ง หรือสองถึงสามเดือนครั้ง เพื่อประชาสัมพันธ์ทำให้เห็นความเคลื่อนไหวและการเติบโตของการค้าชายแดนอย่างต่อเนื่องจะสามารถเป็นจุดผ่านแดนถาวรได้เร็วยิ่งขึ้น
นางสาวเรืองวรรณ บัวนุช ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา กล่าวว่า แนวคิดที่ต้องการผลักดันจุดผ่อนปรนกิ่วหก ต.ภูซาง อ.ภูซาง ให้เป็นจุดผ่านแดนถาวรนั้น เป็นเรื่องที่ตนคิดอยู่ตลอดเวลาเพราะการค้าและการท่องเที่ยวชายแดนจะทำให้เกิดรายได้สู่ประชาชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ฉะนั้นการเตรียมความพร้อมสำหรับการยกฐานะเป็นจุดผ่านแดนถาวรยิ่งต้องทำต่อเนื่อง เมื่อการเตรียมการณ์ทุกอย่างพร้อมสรรพก็รอเพียง สปป.ลาว มีความพร้อมและตกลงด้วยกันจะสามารถประกาศยกฐานะเป็นจุดผ่านแดนถาวรได้ทันที