มหาสารคาม - ปศุสัตว์จังหวัดมหาสารคาม เฝ้าระวังการระบาดของโรคสัตว์เลี้ยงในช่วงฝนตกชุก หวังสกัดการแพร่ระบาดก่อนเกินควบคุม
นายธเนศ ถวิลหวัง ปศุสัตว์จังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า ระยะนี้หลายพื้นที่ในจังหวัดมหาสารคามมีฝนตกชุกและเป็นช่วงรอยต่อที่เข้าสู่ฤดูฝน สิ่งที่น่าห่วงในการเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรคือโรคที่มาพร้อมกับฝน ในโค และกระบือมักจะพบการระบาด ของโรคปากและเท้าป่วย และโรคคอบวม ซึ่งหากเกิดขึ้นในสัตว์ จะทำให้สัตว์ตายได้มากกว่าร้อยละ 70
ซึ่งจังหวัดมหาสารคามมีจำนวนโค -กระบือที่ต้องเฝ้าระวังและป้องกันโรคดังกล่าว ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรค รวมแล้วกว่า 250,000 ตัว ขณะที่สัตว์ปีกทั้งเป็ดและไก่ซึ่งเลี้ยงแบบฟาร์ม ขังคอก และปล่อย มีจำนวน กว่า 2 ล้านตัว ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ตรวจสอบและเฝ้าระวังไข้หวัดนก เนื่องจากปีนี้ฝนมาเร็วและตกชุกกว่าทุกปี หลายพื้นที่มีน้ำท่วมขังทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้หวัดนกได้มากกกว่าพื้นที่อื่นรวมถึงในพื้นที่ที่มีนกธรรมชาติอาศัยอยู่มาก
อย่างไรก็ตามหากพื้นที่ใดพบสัตว์ปีกล้มตายผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ ให้แจ้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครเกษตร หรือเจ้าหน้าที่ทราบเพื่อเข้าทำการตรวจสอบต่อไป
ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสุกรในช่วงนี้ก็ไม่ควรประมาท ให้รูจักการป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยในสุกร ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรค หากมีปัญหาให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์เพื่อให้คำแนะนำต่อไป
นายธเนศ ถวิลหวัง ปศุสัตว์จังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า ระยะนี้หลายพื้นที่ในจังหวัดมหาสารคามมีฝนตกชุกและเป็นช่วงรอยต่อที่เข้าสู่ฤดูฝน สิ่งที่น่าห่วงในการเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรคือโรคที่มาพร้อมกับฝน ในโค และกระบือมักจะพบการระบาด ของโรคปากและเท้าป่วย และโรคคอบวม ซึ่งหากเกิดขึ้นในสัตว์ จะทำให้สัตว์ตายได้มากกว่าร้อยละ 70
ซึ่งจังหวัดมหาสารคามมีจำนวนโค -กระบือที่ต้องเฝ้าระวังและป้องกันโรคดังกล่าว ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรค รวมแล้วกว่า 250,000 ตัว ขณะที่สัตว์ปีกทั้งเป็ดและไก่ซึ่งเลี้ยงแบบฟาร์ม ขังคอก และปล่อย มีจำนวน กว่า 2 ล้านตัว ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ตรวจสอบและเฝ้าระวังไข้หวัดนก เนื่องจากปีนี้ฝนมาเร็วและตกชุกกว่าทุกปี หลายพื้นที่มีน้ำท่วมขังทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้หวัดนกได้มากกกว่าพื้นที่อื่นรวมถึงในพื้นที่ที่มีนกธรรมชาติอาศัยอยู่มาก
อย่างไรก็ตามหากพื้นที่ใดพบสัตว์ปีกล้มตายผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ ให้แจ้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครเกษตร หรือเจ้าหน้าที่ทราบเพื่อเข้าทำการตรวจสอบต่อไป
ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสุกรในช่วงนี้ก็ไม่ควรประมาท ให้รูจักการป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยในสุกร ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรค หากมีปัญหาให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์เพื่อให้คำแนะนำต่อไป