เลย - สำรวจพบกว่า 300 หมู่บ้านในจังหวัดเลยเป็นพื้นที่เสี่ยงเกิดภัยดินถล่ม โดยเฉพาะหมู่บ้านในพื้นที่ภูเขาสูง เตือนเฝ้าระวัง 24 ชม.หวั่นเกิดโศกนาฏกรรมซ้ำ
นายสุเทพ มณีโชติ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเลย เปิดเผยว่า ในช่วงฤดูฝนที่กำลังมาถึงนี้ จังหวัดเลยได้สำรวจพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มพบว่ามีจำนวน 326 หมู่บ้าน จาก 13 อำเภอ ถือว่ามากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศเต็มไปด้วยป่าเขา โดยมีพื้นที่เสี่ยงภัยระดับ 3 จากสูงสุด 5 ระดับ อยู่ตามบริเวณริมแม่น้ำเลย ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่อำเมืองเลย และอำเภอวังสะพุง
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ร่วมกับกรมทรัพยากรธรณีได้ออกสำรวจพื้นที่เสี่ยงภัย พร้อมเข้าไปฝึกอบรมประชาชนจัดตั้งเป็นเครือข่ายแจ้งเหตุธรณีภัยพิบัติ เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยเน้นหมู่บ้านในพื้นที่ภูเขาสูง เช่น อำเภอนาแห้ว ด่านซ้าย ภูเรือ ปากคม เชียงคาน และอำเภอเมืองเลย ขณะเดียวกันได้ซ้อมแผนเตือนภัยและอพยพประชาชน
พร้อมทั้งแจกจ่ายเครื่องวัดปริมาณน้ำฝนให้ทุกหมู่บ้าน เพื่อสามารถแจ้งเตือนอพยพหลบภัยได้ทันท่วงทีเมื่อเห็นว่า มีปริมาณน้ำฝนตกมากผิดปกติ นอกจากนี้ยังได้ทยอยติดตั้งเครื่องสัญญาณเตือนภัย โดยเริ่มจากต้นน้ำพุง อำเภอด่านซ้าย เนื่องจากปีที่ผ่านมาน้ำป่าห้วยน้ำพุงได้ไหลทะลักลงไปพัดบ้านเรือนประชาชน จนมีผู้เสียชีวิตจำนวน 3 ราย
ทั้งนี้ มั่นใจว่าจะมาตรการเฝ้าระวังที่ดำเนินการติดต่อกันต่อเนื่องมากโดยตลอดจะสามารถลดการสูญเสียที่เกิดจากภัยธรรมชาติในปีนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นายสุเทพ มณีโชติ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเลย เปิดเผยว่า ในช่วงฤดูฝนที่กำลังมาถึงนี้ จังหวัดเลยได้สำรวจพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มพบว่ามีจำนวน 326 หมู่บ้าน จาก 13 อำเภอ ถือว่ามากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศเต็มไปด้วยป่าเขา โดยมีพื้นที่เสี่ยงภัยระดับ 3 จากสูงสุด 5 ระดับ อยู่ตามบริเวณริมแม่น้ำเลย ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่อำเมืองเลย และอำเภอวังสะพุง
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ร่วมกับกรมทรัพยากรธรณีได้ออกสำรวจพื้นที่เสี่ยงภัย พร้อมเข้าไปฝึกอบรมประชาชนจัดตั้งเป็นเครือข่ายแจ้งเหตุธรณีภัยพิบัติ เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยเน้นหมู่บ้านในพื้นที่ภูเขาสูง เช่น อำเภอนาแห้ว ด่านซ้าย ภูเรือ ปากคม เชียงคาน และอำเภอเมืองเลย ขณะเดียวกันได้ซ้อมแผนเตือนภัยและอพยพประชาชน
พร้อมทั้งแจกจ่ายเครื่องวัดปริมาณน้ำฝนให้ทุกหมู่บ้าน เพื่อสามารถแจ้งเตือนอพยพหลบภัยได้ทันท่วงทีเมื่อเห็นว่า มีปริมาณน้ำฝนตกมากผิดปกติ นอกจากนี้ยังได้ทยอยติดตั้งเครื่องสัญญาณเตือนภัย โดยเริ่มจากต้นน้ำพุง อำเภอด่านซ้าย เนื่องจากปีที่ผ่านมาน้ำป่าห้วยน้ำพุงได้ไหลทะลักลงไปพัดบ้านเรือนประชาชน จนมีผู้เสียชีวิตจำนวน 3 ราย
ทั้งนี้ มั่นใจว่าจะมาตรการเฝ้าระวังที่ดำเนินการติดต่อกันต่อเนื่องมากโดยตลอดจะสามารถลดการสูญเสียที่เกิดจากภัยธรรมชาติในปีนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ