สระแก้ว - จังหวัดสระแก้วรณรงค์ทำความสะอาดและทำลายเชื้อไข้หวัดนกในพื้นที่เสี่ยง ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
นายอำพันธุ์ เวฬุตันติ ปศุสัตว์จังหวัดสระแก้ว กล่าวว่า ในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนของทุกปีจะเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และเกิดภัยธรรมชาติในหลายพื้นที่ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพสัตว์ได้ โดยเฉพาะสัตว์ปีก ประกอบกับมีการอพยพของนกธรรมชาติเป็นจำนวนมาก ทำให้มีความเสี่ยงสูงที่สัตว์ปีกจะป่วยด้วยโรคไข้หวัดนก การฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ ถือเป็นมาตรการสำคัญที่จะป้องกันและกำจัดเชื้อโรคไข้หวัดนกในสิ่งแวดล้อมได้
โดยตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 30 มิถุนายนนี้ เป็นช่วงของการรณรงค์ทำความสะอาดและทำลายเชื้อไข้หวัดนกในพื้นที่เสี่ยง พร้อมกันทั่วทั้งจังหวัด จึงขอเชิญชวนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีก ได้ร่วมกันทำความสะอาดและทำลายเชื้อไข้หวัดนก โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น พื้นที่ที่เคยเกิดโรค พื้นที่ที่พบสัตว์ปีกป่วย-ตายผิดปกติ ฟาร์มสัตว์ปีก สถานที่ฆ่าสัตว์ปีก และแหล่งที่พักอาศัยของนกธรรมชาติ
นายอำพันธุ์ กล่าวว่า ขอให้เกษตรกรปฏิบัติ โดยนำอุปกรณ์เลี้ยงสัตว์ออกนอกโรงเรือน ล้างพื้นผิวภายในโรงเรือนด้วยน้ำสะอาด ล้างคราบสิ่งสกปรกของอุปกรณ์ทุกชนิดด้วยน้ำยาซักล้าง จากนั้นนำอุปกรณ์ไปแช่น้ำยาฆ่าเชื้อ แล้วจึงทำการพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อภายในโรงเรือนทิ้งไว้อย่างน้อย 30 นาที โดยไม่ต้องล้าง เพื่อให้น้ำยาฆ่าเชื้อออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กรณีมีความจำเป็นต้องสัมผัสสัตว์ปีกป่วย-ตาย ขอให้สวมถุงมือหรือถุงพลาสติกด้วยทุกครั้ง และหากพบสัตว์ปีกป่วยหรือตายผิดปกติ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว
นายอำพันธุ์ เวฬุตันติ ปศุสัตว์จังหวัดสระแก้ว กล่าวว่า ในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนของทุกปีจะเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และเกิดภัยธรรมชาติในหลายพื้นที่ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพสัตว์ได้ โดยเฉพาะสัตว์ปีก ประกอบกับมีการอพยพของนกธรรมชาติเป็นจำนวนมาก ทำให้มีความเสี่ยงสูงที่สัตว์ปีกจะป่วยด้วยโรคไข้หวัดนก การฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ ถือเป็นมาตรการสำคัญที่จะป้องกันและกำจัดเชื้อโรคไข้หวัดนกในสิ่งแวดล้อมได้
โดยตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 30 มิถุนายนนี้ เป็นช่วงของการรณรงค์ทำความสะอาดและทำลายเชื้อไข้หวัดนกในพื้นที่เสี่ยง พร้อมกันทั่วทั้งจังหวัด จึงขอเชิญชวนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีก ได้ร่วมกันทำความสะอาดและทำลายเชื้อไข้หวัดนก โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น พื้นที่ที่เคยเกิดโรค พื้นที่ที่พบสัตว์ปีกป่วย-ตายผิดปกติ ฟาร์มสัตว์ปีก สถานที่ฆ่าสัตว์ปีก และแหล่งที่พักอาศัยของนกธรรมชาติ
นายอำพันธุ์ กล่าวว่า ขอให้เกษตรกรปฏิบัติ โดยนำอุปกรณ์เลี้ยงสัตว์ออกนอกโรงเรือน ล้างพื้นผิวภายในโรงเรือนด้วยน้ำสะอาด ล้างคราบสิ่งสกปรกของอุปกรณ์ทุกชนิดด้วยน้ำยาซักล้าง จากนั้นนำอุปกรณ์ไปแช่น้ำยาฆ่าเชื้อ แล้วจึงทำการพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อภายในโรงเรือนทิ้งไว้อย่างน้อย 30 นาที โดยไม่ต้องล้าง เพื่อให้น้ำยาฆ่าเชื้อออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กรณีมีความจำเป็นต้องสัมผัสสัตว์ปีกป่วย-ตาย ขอให้สวมถุงมือหรือถุงพลาสติกด้วยทุกครั้ง และหากพบสัตว์ปีกป่วยหรือตายผิดปกติ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว