อุดรธานี-สาธารณสุข จ.อุดรธานี ติวเข้มบุคลากรด้านสาธารณสุข รับมือการระบาดเชื้อไข้หวัดใหญ่/ไข้หวัดนัก เผยพบการระบาดครั้งใหญ่มาแล้วถึง 3 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตหลายล้านคน ลั่นหากเตรียมพร้อมรับดี จะมีผู้ป่วยประมาณ 6.5 ล้านคน เสียชีวิต 65,000 คน แต่หากเตรียมการไม่มีอาจมีผู้ป่วยถึง 26 ล้านคน เสียชีวิตกว่า 260,000 คน หรือมากกว่า
วันนี้ (15 พ.ค.) ที่ห้องประชุมโรงแรมบ้านเชียง อ.เมือง จ.อุดรธานี นายสัญชัย ปิยะพงษ์กุล นายแพทย์สาธารณสุข จ.อุดรธานี เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการการซ้อมแผนเตรียมความพร้อมรับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่/ไข้หวัดนก จ.อุดรธานี ปี 2551 ให้กับหน่วยงานทุกภาคส่วนในระดับจังหวัด จำนวน 160 คน
นายสัญชัย กล่าวว่า โรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดต่อเชื้อไวรัส ที่เกิดขึ้นเป็นประจำในประเทศทั่วโลก โดยเกิดการระบาดใหญ่เป็นระยะทุกๆ 10-30 ปี ทำให้ประชาชนเจ็บป่วยและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก โดยครั้งแรกเมื่อปี 2461-2462 มีผู้เสียชีวิตมากถึง 20-40 ล้านคน จากเชื้อไวรัสไขหวัดใหญ่ชนิดเอ สายพันธุ์ H1 N1
ครั้งที่ 2 เมื่อปี 2500-2501 มีผู้เสียชีวิต 1-2 ล้านคน จากเชื้อไวรัสไขหวัดใหญ่ชนิดเอ สายพันธุ์ H2 N2 ครั้งที่ 3 ในปี 2511 มีผู้เสียชีวิต 1 ล้านคนจากเชื้อไวรัสไขหวัดใหญ่ชนิดเอ สายพันธุ์ H3 N2
การระบาดครั้งที่ 2 และ 3 นั้น เกิดจากเชื้อไวรัสที่เกิดการผสมข้ามสายพันธุ์ ระหว่างเชื้อไวรัสในสัตว์ปีกและในคน ภาวะปัจจุบันหากเกิดการระบาดใหญ่ เชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่มีโอกาสแพร่กระจายไปทั่วโลกได้ในเวลาอันรวดเร็ว ทำให้ประชาชนเกิดเจ็บป่วยและเสียชีวิตจำนวนมาก ในประเทศไทยคาดการณ์ ถ้ามีการเตรียมการพร้อมรับเป็นอย่างดี จะมีผู้ป่วยประมาณ 6.5 ล้านคน เสียชีวิต 65,000 คนกรณีไม่มีการเตรียมพร้อมจะมีผู้ป่วยประมาณ 26 ล้านคน เสียชีวิต 260,000 คน หรือมากกว่าจำนวนที่คาดการณ์
รวมทั้งเกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม จิตวิทยา และความมั่นคงของประเทศอย่างมาก เชื้อที่เป็นสาเหตุของการระบาดแต่ละครั้ง เชื่อว่าเป็นเชื้อที่กลายพันธุ์มาจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในสัตว์ เช่น เชื้อไข้หวัดนก เป็นต้น ในปี 2547 ประเทศไทยพบการระบาดของโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5 N1 ในสัตว์ปีกทั้งยังติดมาสู่คน ซึ่งเป็นสภาวะที่มีความเสี่ยงต่อการพัฒนาไปสู่ระยะการระบาดใหญ่ได้
กระทรวงสาธารณสุขจึงร่วมกับหน่วยงานต่างๆ จัดทำแผนยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขและเตรียมความพร้อมรับปัญหาโรคไข้หวัดนก และการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ ฉบับที่ 2 ใช้เป็นกรอบความร่วมมือดำเนินงานหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน ในการรับมือกับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่
นายสัญชัย กล่าวอีกว่า เนื่องจากไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าถึงการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ได้ อีกทั้งยังอยู่ระหว่างการพัฒนาขีดความสามารถการพึ่งตนเองด้านยาต้านไวรัสและวัคซีน รวมทั้งยังขาดกลไกที่ชัดเจนในการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงควรมีการเตรียมความพร้อมโดยการซ้อมแผนรับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่จากหน่วยงานทุกภาคส่วนในระดับจังหวัด
ทั้งนี้ เพื่อระดมความรู้ ประสบการณ์ และความคิดเห็น ปรับปรุงกลไกและการประสานงานระหว่างหน่วยงานส่วนต่างๆ ให้มีความพร้อมหากเกิดเหตุการณ์ระบาดของโรคขึ้นจริง ก็จะสามารถลดการเจ็บป่วยและเสียชีวิตของประชาชนและผลกระทบต่างๆ ที่จะตามมาได้
วันนี้ (15 พ.ค.) ที่ห้องประชุมโรงแรมบ้านเชียง อ.เมือง จ.อุดรธานี นายสัญชัย ปิยะพงษ์กุล นายแพทย์สาธารณสุข จ.อุดรธานี เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการการซ้อมแผนเตรียมความพร้อมรับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่/ไข้หวัดนก จ.อุดรธานี ปี 2551 ให้กับหน่วยงานทุกภาคส่วนในระดับจังหวัด จำนวน 160 คน
นายสัญชัย กล่าวว่า โรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดต่อเชื้อไวรัส ที่เกิดขึ้นเป็นประจำในประเทศทั่วโลก โดยเกิดการระบาดใหญ่เป็นระยะทุกๆ 10-30 ปี ทำให้ประชาชนเจ็บป่วยและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก โดยครั้งแรกเมื่อปี 2461-2462 มีผู้เสียชีวิตมากถึง 20-40 ล้านคน จากเชื้อไวรัสไขหวัดใหญ่ชนิดเอ สายพันธุ์ H1 N1
ครั้งที่ 2 เมื่อปี 2500-2501 มีผู้เสียชีวิต 1-2 ล้านคน จากเชื้อไวรัสไขหวัดใหญ่ชนิดเอ สายพันธุ์ H2 N2 ครั้งที่ 3 ในปี 2511 มีผู้เสียชีวิต 1 ล้านคนจากเชื้อไวรัสไขหวัดใหญ่ชนิดเอ สายพันธุ์ H3 N2
การระบาดครั้งที่ 2 และ 3 นั้น เกิดจากเชื้อไวรัสที่เกิดการผสมข้ามสายพันธุ์ ระหว่างเชื้อไวรัสในสัตว์ปีกและในคน ภาวะปัจจุบันหากเกิดการระบาดใหญ่ เชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่มีโอกาสแพร่กระจายไปทั่วโลกได้ในเวลาอันรวดเร็ว ทำให้ประชาชนเกิดเจ็บป่วยและเสียชีวิตจำนวนมาก ในประเทศไทยคาดการณ์ ถ้ามีการเตรียมการพร้อมรับเป็นอย่างดี จะมีผู้ป่วยประมาณ 6.5 ล้านคน เสียชีวิต 65,000 คนกรณีไม่มีการเตรียมพร้อมจะมีผู้ป่วยประมาณ 26 ล้านคน เสียชีวิต 260,000 คน หรือมากกว่าจำนวนที่คาดการณ์
รวมทั้งเกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม จิตวิทยา และความมั่นคงของประเทศอย่างมาก เชื้อที่เป็นสาเหตุของการระบาดแต่ละครั้ง เชื่อว่าเป็นเชื้อที่กลายพันธุ์มาจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในสัตว์ เช่น เชื้อไข้หวัดนก เป็นต้น ในปี 2547 ประเทศไทยพบการระบาดของโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5 N1 ในสัตว์ปีกทั้งยังติดมาสู่คน ซึ่งเป็นสภาวะที่มีความเสี่ยงต่อการพัฒนาไปสู่ระยะการระบาดใหญ่ได้
กระทรวงสาธารณสุขจึงร่วมกับหน่วยงานต่างๆ จัดทำแผนยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขและเตรียมความพร้อมรับปัญหาโรคไข้หวัดนก และการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ ฉบับที่ 2 ใช้เป็นกรอบความร่วมมือดำเนินงานหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน ในการรับมือกับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่
นายสัญชัย กล่าวอีกว่า เนื่องจากไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าถึงการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ได้ อีกทั้งยังอยู่ระหว่างการพัฒนาขีดความสามารถการพึ่งตนเองด้านยาต้านไวรัสและวัคซีน รวมทั้งยังขาดกลไกที่ชัดเจนในการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงควรมีการเตรียมความพร้อมโดยการซ้อมแผนรับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่จากหน่วยงานทุกภาคส่วนในระดับจังหวัด
ทั้งนี้ เพื่อระดมความรู้ ประสบการณ์ และความคิดเห็น ปรับปรุงกลไกและการประสานงานระหว่างหน่วยงานส่วนต่างๆ ให้มีความพร้อมหากเกิดเหตุการณ์ระบาดของโรคขึ้นจริง ก็จะสามารถลดการเจ็บป่วยและเสียชีวิตของประชาชนและผลกระทบต่างๆ ที่จะตามมาได้