พิจิตร - นายอำเภอเมืองพิจิตร สั่งสอบโครงการอยู่ดีมีสุข หลังพบกรรมการหมู่บ้านสมคบข้าราชการขอบิลร้านค้าตั้งเบิกเงินกินเปอร์เซ็นต์ แจกเงินสดไม่ต้องรับของ ชาวบ้านสุดจะทนโวยโกงเกือบทั้งจังหวัด
นายสันติ กะลำพัก อายุ 53 ปี ชาวบ้านตำบลปากทาง อยู่บ้านเลขที่ 75 หมู่ที่ 4 ต.ปากทาง อ.เมือง จ.พิจิตร เปิดเผยถึงขบวนการทุจริตในโครงการอยู่ดีมีสุขที่บ้านราชช้างขวัญ หมู่ที่ 4 ว่า กรรมการหมู่บ้านมีการทำเวทีประชาคมกัน ว่า จะทำโครงการเลี้ยงปลาในวงปูน โดยขอรับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลไปจัดซื้อวงปูนขนาดใหญ่ พันธุ์ปลา อาหารปลา จากนั้นจะให้ชาวบ้านเลี้ยงไว้เป็นอาหารเสริมหรือขายตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
ปรากฏว่า ในการดำเนินการกลับทุจริตกันเป็นขบวนการ โดยไม่มีการจัดซื้ออุปกรณ์ใดๆ แต่จะเอาเงินมาแจกชาวบ้านรายละ 500 บาท จากนั้นก็ไปซื้อบิลจากร้านขายวัสดุครุภัณฑ์แล้วให้ชาวบ้านเซ็นชื่อรับของ โดยมีส่วนต่างของราคาสินค้าเกิดขึ้น ก็นำมาแบ่งกัน จึงได้ทำหนังสือร้องเรียนพฤติการณ์ทุจริตโครงการอยู่ดีมีสุขถึง ดร.ปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร และได้มีการสั่งการให้นายอำเภอเมืองพิจิตรตั้งกรรมการลงพื้นที่รวบรวมข้อมูล เพื่อติดตามผู้ทุจริตมาดำเนินคดีต่อไปแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า การร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตในโครงการอยู่ดีมีสุขของผู้นำชุมชนในพื้นที่จังหวัดพิจิตรมีมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอวังทรายพูน ตะพานหิน ซึ่งจากการตรวจสอบขั้นตอนการดำเนินโครงการของอำเภอเมืองพิจิตร พบว่า ส่วนใหญ่จะลอกเลียนแบบโครงการกันมา เช่น โครงการวงปูนเลี้ยงปลา จัดซื้อปุ๋ยชีวภาพที่เป็นโครงการยอดฮิตและทุจริตได้ง่าย แค่ขอบิลจากร้านค้า แบ่งเงินให้ชาวบ้าน ให้ชาวบ้านลงชื่อรับของ ก็ได้เงินส่วนต่างมาแบ่งกันแล้ว ถ้าไม่มีใครร้องเรียน เรื่องก็เงียบหายไป
ประเด็นสำคัญที่ทำให้เกิดการทุจริตในโครงการนี้ อาจเป็นเพราะความหละหลวมในขั้นตอนการอนุมัติจากหน่วยงานที่ดูแลอยู่ เพราะเมื่อจัดเวทีประชาคมได้มติจัดทำโครงการของหมู่บ้านแล้ว เสนอโครงการมาที่อำเภอก็จะได้รับอนุมัติ แต่ในขบวนการจัดซื้อหรือจัดจ้างนั้น กลับใช้วิธีขอซื้อบิลจากบริษัท ห้างร้านหรือผู้รับเหมา โดยไม่มีการจัดซื้อจริงๆ และไม่มีการดำเนินงานตามโครงการที่เสนอ เพียงแต่นำบิลมายื่นอำเภอ เพื่อให้โอนงบประมาณเข้าบัญชีของหมู่บ้านหรือชุมชนเท่านั้น เมื่อได้รับโอนเงินงบประมาณแล้ว บางหมู่บ้านก็แบ่งสันปันส่วนกันในหมู่กรรมการ โดยไม่มีการประเมินผล ติดตามตรวจสอบโครงการความสำเร็จของโครงการใดๆ ทั้งสิ้น
นายสันติ กะลำพัก อายุ 53 ปี ชาวบ้านตำบลปากทาง อยู่บ้านเลขที่ 75 หมู่ที่ 4 ต.ปากทาง อ.เมือง จ.พิจิตร เปิดเผยถึงขบวนการทุจริตในโครงการอยู่ดีมีสุขที่บ้านราชช้างขวัญ หมู่ที่ 4 ว่า กรรมการหมู่บ้านมีการทำเวทีประชาคมกัน ว่า จะทำโครงการเลี้ยงปลาในวงปูน โดยขอรับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลไปจัดซื้อวงปูนขนาดใหญ่ พันธุ์ปลา อาหารปลา จากนั้นจะให้ชาวบ้านเลี้ยงไว้เป็นอาหารเสริมหรือขายตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
ปรากฏว่า ในการดำเนินการกลับทุจริตกันเป็นขบวนการ โดยไม่มีการจัดซื้ออุปกรณ์ใดๆ แต่จะเอาเงินมาแจกชาวบ้านรายละ 500 บาท จากนั้นก็ไปซื้อบิลจากร้านขายวัสดุครุภัณฑ์แล้วให้ชาวบ้านเซ็นชื่อรับของ โดยมีส่วนต่างของราคาสินค้าเกิดขึ้น ก็นำมาแบ่งกัน จึงได้ทำหนังสือร้องเรียนพฤติการณ์ทุจริตโครงการอยู่ดีมีสุขถึง ดร.ปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร และได้มีการสั่งการให้นายอำเภอเมืองพิจิตรตั้งกรรมการลงพื้นที่รวบรวมข้อมูล เพื่อติดตามผู้ทุจริตมาดำเนินคดีต่อไปแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า การร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตในโครงการอยู่ดีมีสุขของผู้นำชุมชนในพื้นที่จังหวัดพิจิตรมีมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอวังทรายพูน ตะพานหิน ซึ่งจากการตรวจสอบขั้นตอนการดำเนินโครงการของอำเภอเมืองพิจิตร พบว่า ส่วนใหญ่จะลอกเลียนแบบโครงการกันมา เช่น โครงการวงปูนเลี้ยงปลา จัดซื้อปุ๋ยชีวภาพที่เป็นโครงการยอดฮิตและทุจริตได้ง่าย แค่ขอบิลจากร้านค้า แบ่งเงินให้ชาวบ้าน ให้ชาวบ้านลงชื่อรับของ ก็ได้เงินส่วนต่างมาแบ่งกันแล้ว ถ้าไม่มีใครร้องเรียน เรื่องก็เงียบหายไป
ประเด็นสำคัญที่ทำให้เกิดการทุจริตในโครงการนี้ อาจเป็นเพราะความหละหลวมในขั้นตอนการอนุมัติจากหน่วยงานที่ดูแลอยู่ เพราะเมื่อจัดเวทีประชาคมได้มติจัดทำโครงการของหมู่บ้านแล้ว เสนอโครงการมาที่อำเภอก็จะได้รับอนุมัติ แต่ในขบวนการจัดซื้อหรือจัดจ้างนั้น กลับใช้วิธีขอซื้อบิลจากบริษัท ห้างร้านหรือผู้รับเหมา โดยไม่มีการจัดซื้อจริงๆ และไม่มีการดำเนินงานตามโครงการที่เสนอ เพียงแต่นำบิลมายื่นอำเภอ เพื่อให้โอนงบประมาณเข้าบัญชีของหมู่บ้านหรือชุมชนเท่านั้น เมื่อได้รับโอนเงินงบประมาณแล้ว บางหมู่บ้านก็แบ่งสันปันส่วนกันในหมู่กรรมการ โดยไม่มีการประเมินผล ติดตามตรวจสอบโครงการความสำเร็จของโครงการใดๆ ทั้งสิ้น