พะเยา – หน้าแล้งมาเยือน หน.วนอุทยานภูลังกา เมืองกว๊านพะเยาหวั่นป่าหายหากไฟโหม จับมือหน่วยต้นน้ำใกล้เคียงเร่งทำแนวกันไฟ 30 กม. พร้อมจัดเวรยามเฝ้าระวังไฟ 24 ชั่วโมงตลอดแล้ง
นายสมชาติ พวงพะยอม หัวหน้าวนอุทยานภูลังกา ต.ผาช้างน้อย อ.ปง จ.พะเยา กล่าวว่า เนื่องจากขณะนี้เป็นฤดูแล้ง สภาพอากาศโดยทั่วไปช่วงเช้ามีหมอกควันเบาบางปกคลุม ทำให้มีความชื้นในระดับต่ำ ส่วนบนพื้นที่สูง เช่น ดอยภูลังกา ความเขียวขจีของป่าไม้ยังคงมีอยู่ทั่วไปแต่ไม่มากเหมือนในฤดูฝน และฤดูหนาว
ดังนั้น ตนจึงต้องเร่งหามาตรการรักษาความชุ่มชื้นให้ผืนป่าที่สำคัญที่สุด คือ การรักษาสภาพป่าและเฝ้าระวังไม่ให้เปิดไฟป่าทำลายป่าไม้และต้นไม้ในพื้นที่โดยเด็ดขาด ซึ่งในพื้นที่ป่าใกล้เคียงกับภูลังกาทางส่วนราชการมีนโยบายจะส่งเสริมการปลูกป่า ตรงนี้คงต้องสำรวจพื้นที่ก่อนว่าจะสามารถทำได้มากน้อยเพียงไร ตนเห็นด้วยเพราะการปลูกป่าเป็นสิ่งที่ดีช่วยลดภาวะโลกร้อน แต่ต้องขอสำรวจความเหมาะสมของพื้นที่ก่อนดำเนินการ
หัวหน้าวนอุทยานภูลังกา กล่าวต่อว่า ส่วนมาตรการการเฝ้าระวังไฟป่า ไม่ให้ทำลายต้นไม้และสภาพป่าของภูลังกา คือ
1.วนอุทยานภูลังการ่วมกับหน่วยจัดการต้นน้ำงิม ซึ่งเป็นพื้นที่ติดต่อกันได้ดำเนินการจัดทำแนวกันไฟขนาดกว้าง 8 เมตร ยาวประมาณ 30 กิโลเมตร เป็นแนวกันไม่ให้ไฟป่าโหมทำลายป่าในพื้นที่เป้าหมาย โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจำนวนหนึ่งจากกรมอุทยาน สัตว์ป่าและพรรณพืช กระทรวงทรัพยกรธรรมชาติ
2.จัดเวรยามลาดตระเวร เพื่อสำรวจพื้นที่และป้องกันไฟป่าจำนวนวันละ 4 คน ตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ดำเนินการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2551 ที่ผ่านมา ลาดตระเวนเฝ้าระวังถึงเดือนพฤษภาคม 2551 หรือจนกว่าจะผ่านพ้นฤดูแล้ง
นายสมชาติ กล่าวอีกว่า การเกิดไฟป่าในปัจจุบันเป็นไปได้สองทาง คือ เกิดจากฝีมือคนและเกิดจากภัยธรรมชาติ อนึ่งนักท่องเที่ยวที่มาเยือนภูลังกา ทางเราได้มีคำแนะนำและร้องขอความร่วมมือจากนักท่องเที่ยวร่วมกันรักษาป่า โดยไม่ทิ้งขยะใดๆ หรือทิ้งเศษวัสดุเชื้อเพลิงตลอดจนถึงการสูบบุหรี่แล้วทิ้งก้นบุหรี่ทั่วไปกลางป่า
“ตรงนี้ขอร้องและเข้มงวดมาก เพราะสภาพป่าที่ขาดความชุ่มชื้นในฤดูแล้งทำให้ติดไฟได้ง่าย ส่วนเหตุที่เกิดจากภัยธรรมชาติ คือ ต้นไม้เริ่มแห้งหากเสียดสีกันบ่อยครั้งจะทำให้เกิดความร้อนเป็นเหตุหนึ่งของการเกิดไฟป่า จึงระมัดระวังทุกทางเป็นพิเศษ”
นายสมชาติ พวงพะยอม หัวหน้าวนอุทยานภูลังกา ต.ผาช้างน้อย อ.ปง จ.พะเยา กล่าวว่า เนื่องจากขณะนี้เป็นฤดูแล้ง สภาพอากาศโดยทั่วไปช่วงเช้ามีหมอกควันเบาบางปกคลุม ทำให้มีความชื้นในระดับต่ำ ส่วนบนพื้นที่สูง เช่น ดอยภูลังกา ความเขียวขจีของป่าไม้ยังคงมีอยู่ทั่วไปแต่ไม่มากเหมือนในฤดูฝน และฤดูหนาว
ดังนั้น ตนจึงต้องเร่งหามาตรการรักษาความชุ่มชื้นให้ผืนป่าที่สำคัญที่สุด คือ การรักษาสภาพป่าและเฝ้าระวังไม่ให้เปิดไฟป่าทำลายป่าไม้และต้นไม้ในพื้นที่โดยเด็ดขาด ซึ่งในพื้นที่ป่าใกล้เคียงกับภูลังกาทางส่วนราชการมีนโยบายจะส่งเสริมการปลูกป่า ตรงนี้คงต้องสำรวจพื้นที่ก่อนว่าจะสามารถทำได้มากน้อยเพียงไร ตนเห็นด้วยเพราะการปลูกป่าเป็นสิ่งที่ดีช่วยลดภาวะโลกร้อน แต่ต้องขอสำรวจความเหมาะสมของพื้นที่ก่อนดำเนินการ
หัวหน้าวนอุทยานภูลังกา กล่าวต่อว่า ส่วนมาตรการการเฝ้าระวังไฟป่า ไม่ให้ทำลายต้นไม้และสภาพป่าของภูลังกา คือ
1.วนอุทยานภูลังการ่วมกับหน่วยจัดการต้นน้ำงิม ซึ่งเป็นพื้นที่ติดต่อกันได้ดำเนินการจัดทำแนวกันไฟขนาดกว้าง 8 เมตร ยาวประมาณ 30 กิโลเมตร เป็นแนวกันไม่ให้ไฟป่าโหมทำลายป่าในพื้นที่เป้าหมาย โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจำนวนหนึ่งจากกรมอุทยาน สัตว์ป่าและพรรณพืช กระทรวงทรัพยกรธรรมชาติ
2.จัดเวรยามลาดตระเวร เพื่อสำรวจพื้นที่และป้องกันไฟป่าจำนวนวันละ 4 คน ตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ดำเนินการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2551 ที่ผ่านมา ลาดตระเวนเฝ้าระวังถึงเดือนพฤษภาคม 2551 หรือจนกว่าจะผ่านพ้นฤดูแล้ง
นายสมชาติ กล่าวอีกว่า การเกิดไฟป่าในปัจจุบันเป็นไปได้สองทาง คือ เกิดจากฝีมือคนและเกิดจากภัยธรรมชาติ อนึ่งนักท่องเที่ยวที่มาเยือนภูลังกา ทางเราได้มีคำแนะนำและร้องขอความร่วมมือจากนักท่องเที่ยวร่วมกันรักษาป่า โดยไม่ทิ้งขยะใดๆ หรือทิ้งเศษวัสดุเชื้อเพลิงตลอดจนถึงการสูบบุหรี่แล้วทิ้งก้นบุหรี่ทั่วไปกลางป่า
“ตรงนี้ขอร้องและเข้มงวดมาก เพราะสภาพป่าที่ขาดความชุ่มชื้นในฤดูแล้งทำให้ติดไฟได้ง่าย ส่วนเหตุที่เกิดจากภัยธรรมชาติ คือ ต้นไม้เริ่มแห้งหากเสียดสีกันบ่อยครั้งจะทำให้เกิดความร้อนเป็นเหตุหนึ่งของการเกิดไฟป่า จึงระมัดระวังทุกทางเป็นพิเศษ”