น่าน – อ่างเก็บน้ำทั่วเมืองน่านแห้งขอดทุกขณะ เผย 4 อ่างขนาดกลางเหลือน้ำ 55.43% -21 อ่างในโครงการพระราชดำริ มีน้ำแค่ 40.10% ขณะที่อ่างชลประทานขนาดเล็กอีก 28 แห่งมีเพียง 66.75%ของความจุเท่านั้น ระบุอ่างห้วยหวะภูเพียงมีน้ำน้อยสุดแค่ 11%เท่านั้น ขณะที่น้ำน่านลดระดับลงต่อเนื่อง
นายศักดิ์ชัย ด่านบุญเรือน หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำ โครงการชลประทานน่าน ได้เปิดเผยถึงการออกสำรวจพื้นที่แหล่งน้ำต่าง ๆ พบว่า ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำโครงการชลประทานขนาดกลาง 4 แห่ง คือ อ่างฯห้วยแฮด อ.ภูเพียง, อ่างฯน้ำแหง อ.นาน้อย, อ่างฯน้ำพง อ.สันติสข, อ่างฯน้ำฮิ อ.เวียงสา ทั้งหมดมีปริมาณน้ำความจุลดลงเหลือ 55.43 เปอร์เซ็นของความจุอ่าง
นอกจากนี้ยังพบอีกว่า อ่างเก็บน้ำในโครงการตามพระราชดำริ อีก 21 แห่งมีปริมาณลดลงเหลือ 40.10 เปอร์เซ็นต์ของความจุอ่าง และอ่างเก็บน้ำโครงการชลประทานขนาดเล็ก อีก 28 แห่งมีน้ำลดลงเหลือ 66.75 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
เขาบอกว่า อ่างที่มีปริมาณน้ำในอ่างเหลือน้อยที่สุด คือ อ่างเก็บน้ำห้วยหวะ อ.ภูเพียง ซึ่งเหลือแค่ 11 เปอร์เซ็นต์ของความจุ เนื่องจากทางโครงการชลประทานได้ขุดลอกขึ้นมาให้เกษตรกรใช้ ซึ่งทางโครงการชลประทานได้แจ้งให้ประชาชนทราบก่อนล่วงหน้าแล้ว ว่า ปริมาณน้ำในอ่างฯ ของปี 2551 ลดลงกว่าปี 2550 ประมาณ 10 เปอร์เซ็น ส่วนปริมาณน้ำที่ผ่านในแม่น้ำน่านมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 13.30 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
อย่างไรก็ตาม โครงการชลประทานน่านยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยปานกลางไม่แห้งจัด และจากการที่ปริมาณน้ำในอ่างลดลง ทางโครงการฯเชื่อว่าไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่การเกษตรของประชาชนในเขตชลประทาน ซึ่งพื้นที่การเกษตรขนาดกลางที่โครงการฯรับผิดชอบในฤดูแล้งนี้ มีทั้งหมด 6,219 ไร่ เนื่องจากได้ประชุมกับชาวบ้าน เพื่อจัดระบบบริหารการจัดการน้ำไว้แล้วและเกษตรกรไม่ทำการเพาะปลูกในช่วงนี้ จึงทำให้ไม่พบปัญหาใดๆ
ขณะนี้โครงการชลประทานน่านได้ให้ความช่วยเหลือด้วยเครื่องสูบน้ำที่ใช้น้ำมันจำนวน 11 เครื่อง สำรองไว้อีก 3 เครื่อง และใช้รถสูบน้ำขนาดบรรจุ 6,000 ลิตร จำนวน 2 คัน ไว้ใช้แจกจ่ายให้กับชาวบ้านในแต่ละพื้นที่ ซึ่งได้ให้ความช่วยเหลือไปแล้ว 3,766 ไร่
นอกจากนี้ โครงการชลประทานน่านได้มีการรณรงค์ให้เกษตรกรหันมาปลูกพืชไร่ หรือปลูกพืชผักสวนครัวแทน และยังมีการจัดประชุมเกษตรกร ก่อนเริ่มต้นฤดูแล้งซึ่งอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-เดือนธันวาคม ปลายปีที่ผ่านมา เพื่อให้เกษตรกรในเขตชลประทานเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาภัยแล้ง ซึ่งส่วนใหญ่ชาวบ้านจะขาดแคลนน้ำในการอุปโภคบริโภคมากกว่าน้ำที่ใช้ในพื้นที่การเกษตร จึงต้องมีการขยายแหล่งน้ำสะอาดไปในแต่ละตำบลเพิ่มมากขึ้นทุกปี
นายศักดิ์ชัย ด่านบุญเรือน หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำ โครงการชลประทานน่าน ได้เปิดเผยถึงการออกสำรวจพื้นที่แหล่งน้ำต่าง ๆ พบว่า ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำโครงการชลประทานขนาดกลาง 4 แห่ง คือ อ่างฯห้วยแฮด อ.ภูเพียง, อ่างฯน้ำแหง อ.นาน้อย, อ่างฯน้ำพง อ.สันติสข, อ่างฯน้ำฮิ อ.เวียงสา ทั้งหมดมีปริมาณน้ำความจุลดลงเหลือ 55.43 เปอร์เซ็นของความจุอ่าง
นอกจากนี้ยังพบอีกว่า อ่างเก็บน้ำในโครงการตามพระราชดำริ อีก 21 แห่งมีปริมาณลดลงเหลือ 40.10 เปอร์เซ็นต์ของความจุอ่าง และอ่างเก็บน้ำโครงการชลประทานขนาดเล็ก อีก 28 แห่งมีน้ำลดลงเหลือ 66.75 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
เขาบอกว่า อ่างที่มีปริมาณน้ำในอ่างเหลือน้อยที่สุด คือ อ่างเก็บน้ำห้วยหวะ อ.ภูเพียง ซึ่งเหลือแค่ 11 เปอร์เซ็นต์ของความจุ เนื่องจากทางโครงการชลประทานได้ขุดลอกขึ้นมาให้เกษตรกรใช้ ซึ่งทางโครงการชลประทานได้แจ้งให้ประชาชนทราบก่อนล่วงหน้าแล้ว ว่า ปริมาณน้ำในอ่างฯ ของปี 2551 ลดลงกว่าปี 2550 ประมาณ 10 เปอร์เซ็น ส่วนปริมาณน้ำที่ผ่านในแม่น้ำน่านมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 13.30 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
อย่างไรก็ตาม โครงการชลประทานน่านยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยปานกลางไม่แห้งจัด และจากการที่ปริมาณน้ำในอ่างลดลง ทางโครงการฯเชื่อว่าไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่การเกษตรของประชาชนในเขตชลประทาน ซึ่งพื้นที่การเกษตรขนาดกลางที่โครงการฯรับผิดชอบในฤดูแล้งนี้ มีทั้งหมด 6,219 ไร่ เนื่องจากได้ประชุมกับชาวบ้าน เพื่อจัดระบบบริหารการจัดการน้ำไว้แล้วและเกษตรกรไม่ทำการเพาะปลูกในช่วงนี้ จึงทำให้ไม่พบปัญหาใดๆ
ขณะนี้โครงการชลประทานน่านได้ให้ความช่วยเหลือด้วยเครื่องสูบน้ำที่ใช้น้ำมันจำนวน 11 เครื่อง สำรองไว้อีก 3 เครื่อง และใช้รถสูบน้ำขนาดบรรจุ 6,000 ลิตร จำนวน 2 คัน ไว้ใช้แจกจ่ายให้กับชาวบ้านในแต่ละพื้นที่ ซึ่งได้ให้ความช่วยเหลือไปแล้ว 3,766 ไร่
นอกจากนี้ โครงการชลประทานน่านได้มีการรณรงค์ให้เกษตรกรหันมาปลูกพืชไร่ หรือปลูกพืชผักสวนครัวแทน และยังมีการจัดประชุมเกษตรกร ก่อนเริ่มต้นฤดูแล้งซึ่งอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-เดือนธันวาคม ปลายปีที่ผ่านมา เพื่อให้เกษตรกรในเขตชลประทานเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาภัยแล้ง ซึ่งส่วนใหญ่ชาวบ้านจะขาดแคลนน้ำในการอุปโภคบริโภคมากกว่าน้ำที่ใช้ในพื้นที่การเกษตร จึงต้องมีการขยายแหล่งน้ำสะอาดไปในแต่ละตำบลเพิ่มมากขึ้นทุกปี