ฉะเชิงเทรา - ม็อบแพปลาภาคตะวันออกเคลื่อนไหวต้านองค์การสะพานปลาใกล้ถึงทางสว่าง หลังภาครัฐตั้งโต๊ะเจรจาอย่าศึกหลายรอบ แต่ยังไม่จบ ขณะประธานที่ประชุมแย้มแนวโน้มมีทิศทางที่ดีขึ้นหลังทั้งสองฝ่ายมีท่าทีอ่อนลง พร้อมนัดหมายให้กลับไปทบทวนหาแนวทางนำมายื่นเป็นข้อเสนอ เดินเข้าสู่ประตูทางออกในอีกสองสัปดาห์ข้างหน้า
วันนี้ (25 มี.ค.) เวลา 16.00 น.นายวิศว ศะศิสมิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการศึกษาแก้ไขปัญหา การจัดตั้งตลาดกลางรับซื้อขายสัตว์น้ำบางคล้า เปิดเผยถึงผลการประชุมของคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งดังกล่าว ระหว่างผู้ค้าปลาน้ำจืดภาคตะวันออก ที่มีตลาดแพปลารับซื้อสัตว์น้ำอยู่เดิมในพื้นที่ และตลาดกลางรับซื้อขายสัตว์น้ำบางคล้า ขององค์การสะพานปลาที่จะเปิดให้มีขึ้นแห่งใหม่ว่า ในการประชุมแก้ไขปัญหาครั้งที่ 2 นี้มีผู้มาเข้าร่วมประชุม
ประกอบด้วย นายอุดม กิจไพบูลย์ รองผู้อำนวยการองค์การสะพานปลา นายประสิทธิ์ ภู่หงส์ หัวหน้าฝ่ายบริหาร ประมงจังหวัดฉะเชิงเทรา และตัวแทนกลุ่มแพปลาน้ำจืดภาคตะวันออก นำโดย น.ส.ชัชกมล พวงเจริญ อายุ 33 ปี เลขานุการผู้จัดการศูนย์รวมแพปลาน้ำจืดภาคตะวันออก รวมทั้งผู้สังเกตการณ์ และที่ปรึกษา อีกหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยใช้เวลาในการประชุมนานกว่า 4 ชม.แต่ยังหาข้อสรุป หรือตกลงกันยังไม่ได้ โดยต่างฝ่ายต่างไม่ยินยอมให้แก่กัน
จากการประชุมในครั้งนี้ จึงได้ให้ทั้งสองฝ่ายยอมถอยออกมาคนละหนึ่งก้าว และให้เดินทางกลับไปหารือกันภายในกลุ่ม เพื่อหาทางออก และนำข้อเสนอมายื่นให้แก่กันอีกครั้ง โดยให้นำมาเสนอในที่ประชุม ในวันที่ 8 เม.ย.2551 เวลา 14.00 น.โดยให้แต่ละฝ่าย ยึดแนวทางในการหาทางออกร่วมกันเป็นหลัก หรือเข้ามาร่วมมือกันมากกว่า
จากการประชุมที่ผ่านมาทราบว่าผู้เสียประโยชน์ คือ กลุ่มแพปลาภาคตะวันออก ซึ่งเป็นคนในพื้นที่ และได้เปิดดำเนินการค้าขายปลามาก่อนอยู่เดิมแล้ว ส่วนตลาดกลางซื้อขายสัตว์น้ำองค์การสะพานปลานั้น เป็นฝ่ายที่เพิ่งจะเข้ามาดำเนินการ โดยอีกฝ่ายเกรงว่าจะเข้ามาแย่งตลาด
ครั้งนี้หลังเจรจาอยู่นานหลายชั่วโมง แต่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ จึงได้ให้แนวทางความเป็นไปได้ด้วยการให้ทั้งสองฝ่ายเข้ามาร่วมมือกัน ซึ่งอาจจะให้องค์การสะพานปลาเข้ามาสนับสนุน ส่งเสริม และจัดการตลาด ในจุดแพปลาภาคตะวันออกเก่า ยังบริเวณที่แห่งเดิม คือ ตรงข้ามห้างตะวันออกคอมเพล็กซ์ ต.บางตีนเป็ด อ.เมืองฉะเชิงเทรา หรืออาจจะให้ไปตั้งรวมกันที่ ตลาดกลางสินค้าเกษตร (อ.ต.ก.) ริมถนนสาย 304 อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งหากทั้งสองฝ่ายสามารถร่วมมือกันได้ จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยทั่วไป ทั้งเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาเอง และผู้ซื้อขายปลา รวมทั้งผู้บริโภคอีกด้วย
วันนี้ (25 มี.ค.) เวลา 16.00 น.นายวิศว ศะศิสมิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการศึกษาแก้ไขปัญหา การจัดตั้งตลาดกลางรับซื้อขายสัตว์น้ำบางคล้า เปิดเผยถึงผลการประชุมของคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งดังกล่าว ระหว่างผู้ค้าปลาน้ำจืดภาคตะวันออก ที่มีตลาดแพปลารับซื้อสัตว์น้ำอยู่เดิมในพื้นที่ และตลาดกลางรับซื้อขายสัตว์น้ำบางคล้า ขององค์การสะพานปลาที่จะเปิดให้มีขึ้นแห่งใหม่ว่า ในการประชุมแก้ไขปัญหาครั้งที่ 2 นี้มีผู้มาเข้าร่วมประชุม
ประกอบด้วย นายอุดม กิจไพบูลย์ รองผู้อำนวยการองค์การสะพานปลา นายประสิทธิ์ ภู่หงส์ หัวหน้าฝ่ายบริหาร ประมงจังหวัดฉะเชิงเทรา และตัวแทนกลุ่มแพปลาน้ำจืดภาคตะวันออก นำโดย น.ส.ชัชกมล พวงเจริญ อายุ 33 ปี เลขานุการผู้จัดการศูนย์รวมแพปลาน้ำจืดภาคตะวันออก รวมทั้งผู้สังเกตการณ์ และที่ปรึกษา อีกหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยใช้เวลาในการประชุมนานกว่า 4 ชม.แต่ยังหาข้อสรุป หรือตกลงกันยังไม่ได้ โดยต่างฝ่ายต่างไม่ยินยอมให้แก่กัน
จากการประชุมในครั้งนี้ จึงได้ให้ทั้งสองฝ่ายยอมถอยออกมาคนละหนึ่งก้าว และให้เดินทางกลับไปหารือกันภายในกลุ่ม เพื่อหาทางออก และนำข้อเสนอมายื่นให้แก่กันอีกครั้ง โดยให้นำมาเสนอในที่ประชุม ในวันที่ 8 เม.ย.2551 เวลา 14.00 น.โดยให้แต่ละฝ่าย ยึดแนวทางในการหาทางออกร่วมกันเป็นหลัก หรือเข้ามาร่วมมือกันมากกว่า
จากการประชุมที่ผ่านมาทราบว่าผู้เสียประโยชน์ คือ กลุ่มแพปลาภาคตะวันออก ซึ่งเป็นคนในพื้นที่ และได้เปิดดำเนินการค้าขายปลามาก่อนอยู่เดิมแล้ว ส่วนตลาดกลางซื้อขายสัตว์น้ำองค์การสะพานปลานั้น เป็นฝ่ายที่เพิ่งจะเข้ามาดำเนินการ โดยอีกฝ่ายเกรงว่าจะเข้ามาแย่งตลาด
ครั้งนี้หลังเจรจาอยู่นานหลายชั่วโมง แต่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ จึงได้ให้แนวทางความเป็นไปได้ด้วยการให้ทั้งสองฝ่ายเข้ามาร่วมมือกัน ซึ่งอาจจะให้องค์การสะพานปลาเข้ามาสนับสนุน ส่งเสริม และจัดการตลาด ในจุดแพปลาภาคตะวันออกเก่า ยังบริเวณที่แห่งเดิม คือ ตรงข้ามห้างตะวันออกคอมเพล็กซ์ ต.บางตีนเป็ด อ.เมืองฉะเชิงเทรา หรืออาจจะให้ไปตั้งรวมกันที่ ตลาดกลางสินค้าเกษตร (อ.ต.ก.) ริมถนนสาย 304 อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งหากทั้งสองฝ่ายสามารถร่วมมือกันได้ จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยทั่วไป ทั้งเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาเอง และผู้ซื้อขายปลา รวมทั้งผู้บริโภคอีกด้วย