xs
xsm
sm
md
lg

ระดมสมองเกษตรกรอีสานดันร่าง พ.ร.บ.เกษตรกรฯ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


อุดรธานี - เกษตรกรและสหกรณ์อุดรธานีถกแกนนำเกษตรกรจังหวัดพิจารณา (ร่าง) พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติ และระดมความคิดเห็นจากภาคส่วนการเกษตร เพื่อนำข้อสรุปไปพิจารณากลั่นกรองอีกครั้งในการเพิ่มเติมร่าง พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ.2551 ให้สมบูรณ์

วันนี้ (5 มี.ค.) นายสุพจน์ เลาวัณย์ศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานเปิดการประชุมคณะทำงานศึกษาหลักการสำคัญที่ควรกำหนดให้มีใน พ.ร.บ.สภาเกษตรกรแห่งชาติ โดยนายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานคณะทำงานศึกษาหลักการสำคัญที่ควรกำหนดให้มีในพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ คณะทำงาน หัวหน้าส่วนราชการผู้แทนองค์กรเกษตรกรในแต่ละอาชีพ ปราชญ์ชาวบ้านด้านการเกษตร ร่วมการประชุม

ทั้งนี้ ด้วยสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยคณะทำงานการเกษตร อาหารและสหกรณ์ รับทราบว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินการจัดทำร่าง พ.ร.บ.สภาการเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาประกาศใช้พ.ร.บ.ดังกล่าว

จึงประสานรับทราบข้อมูลจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อดำเนินการศึกษา พ.ร.บ.และจัดให้มีการร่วมหารือกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องด้านการเกษตรกรของประเทศทั้งจากภาครัฐและเอกชน ตลอดจนนักวิชาการ และเกษตรกร เพื่อนำข้อมูลมาประมวลจัดทำความเห็นและข้อเสนอแนะ เรื่อง พ.ร.บ.สภาการเกษตรแห่งชาติ เสนอต่อคณะรัฐมนตรี

โดยมีสาระสำคัญประกอบด้วย คำจัดกัดความของคำที่สำคัญที่เกี่ยวกับการเกษตร อำนาจหน้าที่ของสภาการเกษตรแห่งชาติ โครงสร้างองค์ประกอบของสภาการเกษตรแห่งชาติ โครงสร้างองค์ประกอบของสภาเกษตรจังหวัด คณะกรรมการผลิตภัณฑ์เกษตรกรรม

สำนักงานสภาการเกษตรแห่งชาติ งบประมาณ บทเฉพาะกาล ความเห็นและข้อเสนอแนะจ่อ รางพระราชบัญญัติสภาการเกษตรแห่งชาติ พ.ศ. ฉบับที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 พ.ค.2550

จากการศึกษาเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.สภาการเกษตรแห่งชาติ โดยสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพบว่ามีองค์กรและหน่วยงานต่างๆ ได้ดำเนินการเพื่อเสนอให้รัฐประกาศใช้พ.ร.บ.สภาการเกษตรแห่งชาติมาอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่มีร่างพ.ร.บ.สภาการเกษตรแห่งชาติฉบับใดที่สามารถถูกผลักดับให้ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา เพื่อมีผลบังคับใช้ได้

จากปัญหาสำคัญ 2 ประการคือองค์ประกอบและโครงสร้างของสภาการเกษตรแห่งชาติมีสัดส่วนสมาชิกที่มาจากภาคส่วนต่างๆ ไม่เหมาะสมทำให้ไม่เป็นที่ยอมรับจากองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และขาดการประชาปรึกษาระดมความคิดเห็น โดยการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรทั้งระบบ
กำลังโหลดความคิดเห็น