ตาก-โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง ส.ว.ตาก ชาวบ้านบางส่วนยังไม่รู้จักหน้าผู้สมัคร แนะ กกต.เร่งโหมโรงประชาสัมพันธ์ด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดตากว่า บรรยากาศการหาเสียงเลือกตั้ง ส.ว.ตากเป็นไปด้วยความเงียบเหงา เนื่องจากมีการเลือกตั้งสภาเทศบาลเมืองตาก เลือกตั้ง อบต.เลือกตั้งและ ส.อบจ.ตาก ทำให้ประชาชนเกิดความสับสนในการออกมาใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ส.ว.
นอกจากนี้ การประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นภาครัฐและเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการขึ้นป้ายเชิญชวนน้อยมาก ต่างจากการเลือกตั้งท้องถิ่นที่มีการขึ้นป้ายหาเสียงกันอย่างครึกโคม จึงทำให้บดบังป้ายประชาสัมพันธ์ผู้สมัคร ส.ว.
โดยจังหวัดตากมีผู้สมัคร ส.ว.5 คน ได้แก่
หมายเลข 1 พ.ต.ท.จำลอง โสมาศรี อายุ 61 ปี การศึกษาปริญญาโท รัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง
หมายเลข 2 นายวีระ จุฑาคุปต์ อายุ 52 ปี การศึกษาปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต ม.รามคำแหง
หมายเลข 3 นายชรินทร์ หาญสืบสาย อายุ 64 ปี การศึกษาปริญญาโท บริหารธุรกิจ ม.วิสคอนซิล สหรัฐอเมริกา
หมายเลข 4 นายฉัตรชัย สร้อยสังวาลย์ อายุ 64 ปี การศึกษาปริญญาตรี รัฐศาสตรบัณฑิต ม.ธรรมศาสตร์
หมายเลข 5 นายจักรี เพ็ญนิเวศน์สุข อายุ 64 ปี การศึกษาปริญญาโท บริหารการศึกษา ม.นเรศวร
พ.ต.ท.สุรพล สืบอ่ำ รอง ผกก.สภ.สามเงา กล่าวว่า จะไปใช้สิทธิในการเลือกตั้ง ส.ว.ครั้งนี้ แต่การประชาสัมพันธ์ของ กกต.น้อยมาก ควรโหมประชาสัมพันธ์ให้มากกว่านี้ เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ทราบว่ามีการเลือกตั้ง ส.ว.
นายประพฤติ ศรีสุนทร อายุ 51 ปี ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลเมืองตาก กล่าวว่า ผู้สมัครส่วนใหญ่เป็นข้าราชการเกษียณอายุแล้ว บางคนไม่ใช่ข้าราชการในพื้นที่มาลงสมัคร ไม่รู้จัก โดย ส.ว.ที่เคยเป็นตัวเต็งต่างก็ลงไม่ได้เนื่องจากติดข้อกฎหมาย
ในขณะที่นางมะลิ เครือกลัด อายุ 35 ปี ชาวบ้านบ้านสระตลุง หมู่ที่ 1 ต.ตลุกกลางทุ่ง อ.เมือง จ.ตาก บอกว่ารู้วันเลือกตั้งจากสื่อโทรทัศน์ว่าจะมีการเลือกตั้งในวันที่ 2 มีนาคมนี้ ทุกคนจะไปใช้สิทธิโดยไม่สละสิทธิ แต่ปัญหาอยู่ที่ไม่รู้จักตัวผู้สมัคร ไม่มีการลงพื้นที่แนะนำตัว และไม่รู้ว่า ส.ว.คืออะไร มีหน้าที่ทำอะไร รู้แต่รัฐบาลกำหนดให้มี ส.ว.และต้องออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งเท่านั้น
ด้าน ว่าที่ร้อยตรีสุรพันธ์ เสาร์เรือน ประธาน กกต.จ.ตาก กล่าวว่า จังหวัดตาก มีผู้สมีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง ส.ว.กว่า 300,000 คน การรณรงค์ได้ร่วมกับทาองค์การบริหารส่วนตำบลทุกแห่งให้ช่วยประชาสัมพันธ์และเชิญชวนประชาชนให้ออกมาใช้สิทธิกันให้มากโดยได้ขึ้นป้ายรณรงค์ทุกพื้นที่เพื่อให้ประชาชนรู้ถึงวันเลือกตั้ง
อย่างไรก็ตาม บรรยากาศในการหาเสียงบรรดาผู้สมัครต่างก็ต้องลงพื้นที่ ขึ้นภูเขาไปหาเสียงกับชาวเขาเผ่าต่างๆ ที่มีมากถึง 6 เผ่า ต่างหน้าดำคร่ำเครียดเพราะพูดภาษากันไม่รู้เรื่อง ต้องใช้ล่ามแปล ส่วนผู้สมัครหลายคนคนที่อาศัยนักการเมืองระดับชาติเป็นฐานเสียงให้ เพื่อช่วงชิงความได้เปรียบ แต่ก็เป็นไปอย่างลับๆ
ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดตากว่า บรรยากาศการหาเสียงเลือกตั้ง ส.ว.ตากเป็นไปด้วยความเงียบเหงา เนื่องจากมีการเลือกตั้งสภาเทศบาลเมืองตาก เลือกตั้ง อบต.เลือกตั้งและ ส.อบจ.ตาก ทำให้ประชาชนเกิดความสับสนในการออกมาใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ส.ว.
นอกจากนี้ การประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นภาครัฐและเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการขึ้นป้ายเชิญชวนน้อยมาก ต่างจากการเลือกตั้งท้องถิ่นที่มีการขึ้นป้ายหาเสียงกันอย่างครึกโคม จึงทำให้บดบังป้ายประชาสัมพันธ์ผู้สมัคร ส.ว.
โดยจังหวัดตากมีผู้สมัคร ส.ว.5 คน ได้แก่
หมายเลข 1 พ.ต.ท.จำลอง โสมาศรี อายุ 61 ปี การศึกษาปริญญาโท รัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง
หมายเลข 2 นายวีระ จุฑาคุปต์ อายุ 52 ปี การศึกษาปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต ม.รามคำแหง
หมายเลข 3 นายชรินทร์ หาญสืบสาย อายุ 64 ปี การศึกษาปริญญาโท บริหารธุรกิจ ม.วิสคอนซิล สหรัฐอเมริกา
หมายเลข 4 นายฉัตรชัย สร้อยสังวาลย์ อายุ 64 ปี การศึกษาปริญญาตรี รัฐศาสตรบัณฑิต ม.ธรรมศาสตร์
หมายเลข 5 นายจักรี เพ็ญนิเวศน์สุข อายุ 64 ปี การศึกษาปริญญาโท บริหารการศึกษา ม.นเรศวร
พ.ต.ท.สุรพล สืบอ่ำ รอง ผกก.สภ.สามเงา กล่าวว่า จะไปใช้สิทธิในการเลือกตั้ง ส.ว.ครั้งนี้ แต่การประชาสัมพันธ์ของ กกต.น้อยมาก ควรโหมประชาสัมพันธ์ให้มากกว่านี้ เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ทราบว่ามีการเลือกตั้ง ส.ว.
นายประพฤติ ศรีสุนทร อายุ 51 ปี ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลเมืองตาก กล่าวว่า ผู้สมัครส่วนใหญ่เป็นข้าราชการเกษียณอายุแล้ว บางคนไม่ใช่ข้าราชการในพื้นที่มาลงสมัคร ไม่รู้จัก โดย ส.ว.ที่เคยเป็นตัวเต็งต่างก็ลงไม่ได้เนื่องจากติดข้อกฎหมาย
ในขณะที่นางมะลิ เครือกลัด อายุ 35 ปี ชาวบ้านบ้านสระตลุง หมู่ที่ 1 ต.ตลุกกลางทุ่ง อ.เมือง จ.ตาก บอกว่ารู้วันเลือกตั้งจากสื่อโทรทัศน์ว่าจะมีการเลือกตั้งในวันที่ 2 มีนาคมนี้ ทุกคนจะไปใช้สิทธิโดยไม่สละสิทธิ แต่ปัญหาอยู่ที่ไม่รู้จักตัวผู้สมัคร ไม่มีการลงพื้นที่แนะนำตัว และไม่รู้ว่า ส.ว.คืออะไร มีหน้าที่ทำอะไร รู้แต่รัฐบาลกำหนดให้มี ส.ว.และต้องออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งเท่านั้น
ด้าน ว่าที่ร้อยตรีสุรพันธ์ เสาร์เรือน ประธาน กกต.จ.ตาก กล่าวว่า จังหวัดตาก มีผู้สมีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง ส.ว.กว่า 300,000 คน การรณรงค์ได้ร่วมกับทาองค์การบริหารส่วนตำบลทุกแห่งให้ช่วยประชาสัมพันธ์และเชิญชวนประชาชนให้ออกมาใช้สิทธิกันให้มากโดยได้ขึ้นป้ายรณรงค์ทุกพื้นที่เพื่อให้ประชาชนรู้ถึงวันเลือกตั้ง
อย่างไรก็ตาม บรรยากาศในการหาเสียงบรรดาผู้สมัครต่างก็ต้องลงพื้นที่ ขึ้นภูเขาไปหาเสียงกับชาวเขาเผ่าต่างๆ ที่มีมากถึง 6 เผ่า ต่างหน้าดำคร่ำเครียดเพราะพูดภาษากันไม่รู้เรื่อง ต้องใช้ล่ามแปล ส่วนผู้สมัครหลายคนคนที่อาศัยนักการเมืองระดับชาติเป็นฐานเสียงให้ เพื่อช่วงชิงความได้เปรียบ แต่ก็เป็นไปอย่างลับๆ