ฉะเชิงเทรา – สำนักงานสหกรณ์จังหวัดฉะเชิงเทรา เตรียมอบรมเทคนิคการเจรจาเร่งรัดหนี้ให้แก่บุคลากรสหกรณ์ ภายหลังพบมีสหกรณ์การเกษตรในฉะเชิงเทรา 12 แห่ง กำลังมีปัญหาในเรื่องต้นเงินและดอกเบี้ยค้างเพิ่มขึ้น
นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ สหกรณ์จังหวัดฉะเชิงเทรา เปิดเผยว่า จากการที่สหกรณ์การเกษตรมีการบริการด้านสินเชื่อแก่สมาชิกเป็นจำนวนมาก และภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันทำให้สหกรณ์การเกษตรที่ทำธุรกิจด้านสินเชื่อได้รับผลกระทบ ซึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา มีสหกรณ์การเกษตรจำนวน 12 แห่ง มีปัญหาในเรื่องต้นเงินและดอกเบี้ยค้างเพิ่มขึ้น
ทางสำนักงานสหกรณ์จังหวัดฉะเชิงเทรา จึงได้ร่วมมือกับสหกรณ์จัดอบรมเรื่อง เทคนิคการเจรจาเร่งรัดหนี้ ให้แก่ผู้จัดการสหกรณ์ เจ้าหน้าที่สินเชื่อหรือบุคลากรที่ทำหน้าที่ในการติดตามเร่งรัดหนี้ของสหกรณ์การเกษตรจำนวน 24 สหกรณ์ และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ รวมจำนวน 45 คน ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2551 ณ ห้องประชุมสำนักงานสหกรณ์จังหวัดฉะเชิงเทรา
โดยเชิญวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญในการติดตามเร่งรัดหนี้ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานส่งเสริมกิจการสหกรณ์และหน่วยงานเอกชนที่ทำธุรกิจด้านสินเชื่อมาให้ความรู้เพื่อเป็นการส่งเสริมให้บุคลากรเหล่านี้มีองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการดำเนินกิจการด้านสินเชื่อของสหกรณ์การเกษตร คาดว่าผู้เข้ารับการอบรมจะได้เรียนรู้เทคนิคและวิธีการในการติดตามเร่งรัดหนี้ และนำความรู้ไปปรับใช้ในการบริหารจัดการสินเชื่อที่มีปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ สหกรณ์จังหวัดฉะเชิงเทรา เปิดเผยว่า จากการที่สหกรณ์การเกษตรมีการบริการด้านสินเชื่อแก่สมาชิกเป็นจำนวนมาก และภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันทำให้สหกรณ์การเกษตรที่ทำธุรกิจด้านสินเชื่อได้รับผลกระทบ ซึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา มีสหกรณ์การเกษตรจำนวน 12 แห่ง มีปัญหาในเรื่องต้นเงินและดอกเบี้ยค้างเพิ่มขึ้น
ทางสำนักงานสหกรณ์จังหวัดฉะเชิงเทรา จึงได้ร่วมมือกับสหกรณ์จัดอบรมเรื่อง เทคนิคการเจรจาเร่งรัดหนี้ ให้แก่ผู้จัดการสหกรณ์ เจ้าหน้าที่สินเชื่อหรือบุคลากรที่ทำหน้าที่ในการติดตามเร่งรัดหนี้ของสหกรณ์การเกษตรจำนวน 24 สหกรณ์ และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ รวมจำนวน 45 คน ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2551 ณ ห้องประชุมสำนักงานสหกรณ์จังหวัดฉะเชิงเทรา
โดยเชิญวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญในการติดตามเร่งรัดหนี้ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานส่งเสริมกิจการสหกรณ์และหน่วยงานเอกชนที่ทำธุรกิจด้านสินเชื่อมาให้ความรู้เพื่อเป็นการส่งเสริมให้บุคลากรเหล่านี้มีองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการดำเนินกิจการด้านสินเชื่อของสหกรณ์การเกษตร คาดว่าผู้เข้ารับการอบรมจะได้เรียนรู้เทคนิคและวิธีการในการติดตามเร่งรัดหนี้ และนำความรู้ไปปรับใช้ในการบริหารจัดการสินเชื่อที่มีปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ