มหาสารคาม - ชาวพยัฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม หวั่นประเพณีบุญเบิกฟ้าเลือนหายเพราะคนรุ่นใหม่ ร่วมจัดงานประเพณีบุญเบิกฟ้ายิ่งใหญ่ ทำพิธีสู่ขวัญปุ๋ย สู่ขวัญพระแม่โพสพ เตรียมความพร้อมที่ดินให้อุดมสมบูรณ์ ก่อนทำการเพาะปลูกประจำปี
วันนี้ (9 ก.พ.) กลุ่มชาวบ้านในเขตตำบลเมืองเตา อำเภอพยัฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ได้ร่วมร่วมกันจัดกิจกรรมฟื้นฟูประเพณีโบราณที่มีมาแต่ดั้งเดิม คือประเพณีบุญเบิกฟ้า ซึ่งพื้นที่ตำบลเมืองเตา อยู่ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย
ตามตำนานความเชื่อว่า ในวันขึ้น 3 ค่ำเดือน 3 ของทุกปี โดยปีนี้ตรงกับวันที่ 9 ก.พ.ถือเป็นวันที่ฟ้าจะไขประตูฝนให้ตกลงสู่โลกมนุษย์ ฟ้าร้องทิศใดใน 8 ทิศ จะมีคำทำนายฟ้าฝน ความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหาร ชาวไร่ชาวนาจะประกอบพิธีสู่ขวัญปุ๋ย สู่ขวัญพระแม่โพสพ ก่อนจะขนปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักไปใส่ในไร่นา เพื่อเตรียมความพร้อมและเตรียมความอุดมสมบูรณ์ให้ดินในฤดูกาลเพาะปลูกต่อไป ดังเช่นชาวนาในเขตพื้นที่ตำบลเมืองเตาได้ร่วมกันสืบทอดในครั้งนี้
ทั้งนี้ ประเพณีบุญเบิกฟ้า มีแนวโน้มจะเลือนหายไปจากวิถีชีวิตชาวนาอีสาน ปัจจุบันส่วนใหญ่จะหันไปพึ่งเทคโนโลยีและปัจจัยการผลิตสมัยใหม่ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและก่อให้เกิดปัญหาโลกร้อน ชาวตำบลเมือง จึงได้ร่วมกันสืบสานประเพณีบุญเบิกฟ้าขึ้นมาในครั้งนี้
วันนี้ (9 ก.พ.) กลุ่มชาวบ้านในเขตตำบลเมืองเตา อำเภอพยัฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ได้ร่วมร่วมกันจัดกิจกรรมฟื้นฟูประเพณีโบราณที่มีมาแต่ดั้งเดิม คือประเพณีบุญเบิกฟ้า ซึ่งพื้นที่ตำบลเมืองเตา อยู่ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย
ตามตำนานความเชื่อว่า ในวันขึ้น 3 ค่ำเดือน 3 ของทุกปี โดยปีนี้ตรงกับวันที่ 9 ก.พ.ถือเป็นวันที่ฟ้าจะไขประตูฝนให้ตกลงสู่โลกมนุษย์ ฟ้าร้องทิศใดใน 8 ทิศ จะมีคำทำนายฟ้าฝน ความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหาร ชาวไร่ชาวนาจะประกอบพิธีสู่ขวัญปุ๋ย สู่ขวัญพระแม่โพสพ ก่อนจะขนปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักไปใส่ในไร่นา เพื่อเตรียมความพร้อมและเตรียมความอุดมสมบูรณ์ให้ดินในฤดูกาลเพาะปลูกต่อไป ดังเช่นชาวนาในเขตพื้นที่ตำบลเมืองเตาได้ร่วมกันสืบทอดในครั้งนี้
ทั้งนี้ ประเพณีบุญเบิกฟ้า มีแนวโน้มจะเลือนหายไปจากวิถีชีวิตชาวนาอีสาน ปัจจุบันส่วนใหญ่จะหันไปพึ่งเทคโนโลยีและปัจจัยการผลิตสมัยใหม่ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและก่อให้เกิดปัญหาโลกร้อน ชาวตำบลเมือง จึงได้ร่วมกันสืบสานประเพณีบุญเบิกฟ้าขึ้นมาในครั้งนี้