มหาสารคาม - สมาคมชาวไร่อ้อยมหาสารคาม และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เร่งให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย ที่กำลังประสบปัญหาราคาอ้อยตกต่ำ และต้นทุนค่าขนส่งเพิ่มสูงจากความผันผวนของราคาน้ำมัน
รายงานข่าวแจ้งว่า ผู้แทนสำนักงานไร่อ้อยและน้ำตาลทราย สมาคมชาวไร่อ้อย เขต 7 ราชบุรี สมาคมชาวไร่อ้อยจังหวัดมหาสารคาม โรงงานน้ำตาลมหาวัง และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์มหาสารคาม ได้เรียกสมาชิกชาวไร่อ้อยในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคามและใกล้เคียง เข้าร่วมหารือเกี่ยวกับปัญหาการปลูกอ้อยที่เกษตรกรกำลังประสบปัญหาที่บริเวณโรงน้ำตาลมหาวัง ตำบลแก้งแก อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
ทั้งนี้ เพื่อหามาตรการแก้ปัญหาสมาชิกชาวไร่อ้อยไม่มีแหล่งขายอ้อย รวมถึงแก้ไขปัญหาด้านราคาอ้อยที่เกษตรกรจำหน่ายได้ไม่เป็นไปตามราคาของทางราชการประกาศ และที่สำคัญต้นทุนค่าขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้นจากความผันผวนของราคาน้ำมัน ส่งผลให้เกษตรกรประสบปัญหาการขาดทุนอย่างหนัก
อย่างไรก็ตาม ทางออกเบื้องต้นสมาคมชาวไร่อ้อยเขต 7 ราชบุรีจะเปิดจุดรับซื้ออ้อยจากเกษตรกร ส่งมอบให้โรงงานน้ำตาลมหาวังทำการหีบอ้อยและผลิตเป็นน้ำตาลทราย ก่อนนำไปจำนำกับ ธ.ก.ส.จากนั้นเกษตรกรจะไปขึ้นเงินกับ ธ.ก.ส.ตามราคาประกาศของทางราชการตันละ 600 บาท บวกค่าความหวานและโรงงานอีก 38 สตางค์
ขณะที่อีกส่วนหนึ่งเกษตรกรจะได้รับเงินค่าชดเชยจากรัฐบาล 62 สตางค์ต่อตัน และ 20 สตางค์ สำหรับอ้อยตัดสดเมื่อถึงฤดูปิดหีบซึ่งจะช่วยลดปัญหาการขาดทุนของเกษตรกรได้ในเบื้องต้น
รายงานข่าวแจ้งว่า ผู้แทนสำนักงานไร่อ้อยและน้ำตาลทราย สมาคมชาวไร่อ้อย เขต 7 ราชบุรี สมาคมชาวไร่อ้อยจังหวัดมหาสารคาม โรงงานน้ำตาลมหาวัง และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์มหาสารคาม ได้เรียกสมาชิกชาวไร่อ้อยในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคามและใกล้เคียง เข้าร่วมหารือเกี่ยวกับปัญหาการปลูกอ้อยที่เกษตรกรกำลังประสบปัญหาที่บริเวณโรงน้ำตาลมหาวัง ตำบลแก้งแก อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
ทั้งนี้ เพื่อหามาตรการแก้ปัญหาสมาชิกชาวไร่อ้อยไม่มีแหล่งขายอ้อย รวมถึงแก้ไขปัญหาด้านราคาอ้อยที่เกษตรกรจำหน่ายได้ไม่เป็นไปตามราคาของทางราชการประกาศ และที่สำคัญต้นทุนค่าขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้นจากความผันผวนของราคาน้ำมัน ส่งผลให้เกษตรกรประสบปัญหาการขาดทุนอย่างหนัก
อย่างไรก็ตาม ทางออกเบื้องต้นสมาคมชาวไร่อ้อยเขต 7 ราชบุรีจะเปิดจุดรับซื้ออ้อยจากเกษตรกร ส่งมอบให้โรงงานน้ำตาลมหาวังทำการหีบอ้อยและผลิตเป็นน้ำตาลทราย ก่อนนำไปจำนำกับ ธ.ก.ส.จากนั้นเกษตรกรจะไปขึ้นเงินกับ ธ.ก.ส.ตามราคาประกาศของทางราชการตันละ 600 บาท บวกค่าความหวานและโรงงานอีก 38 สตางค์
ขณะที่อีกส่วนหนึ่งเกษตรกรจะได้รับเงินค่าชดเชยจากรัฐบาล 62 สตางค์ต่อตัน และ 20 สตางค์ สำหรับอ้อยตัดสดเมื่อถึงฤดูปิดหีบซึ่งจะช่วยลดปัญหาการขาดทุนของเกษตรกรได้ในเบื้องต้น