พะเยา - เครือข่ายป่าฯ ดิ้นเสนอรัฐสร้างมาตรฐานให้ประชาชนร่วมจัดการป่า เผย พ.ร.บ.ป่าชุมชน มอบสิทธิ์จัดการป่าไม่เท่าเทียมกัน หลังจ้องเปิดทางให้เฉพาะเครือข่ายในป่าสงวนฯ แต่ปิดกั้นป่าอนุรักษ์ จี้รัฐบาลเร่งหามาตรการให้ลงตัว
นายเตชะพัฒน์ มะโนวงศ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายป่าชุมชนจังหวัดพะเยา กล่าวว่า กรณีการสนับสนุนหรือคัดค้านร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป่าชุมชน ตอนนี้คงต้องชะลอไปชั่วคราว เนื่องจากกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ส่วนดีของร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชนฉบับนี้ คือ การเปิดกว้างให้ประชาชนที่เป็นกลุ่มเครือข่ายป่าชุมชนในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมป่าไม้ สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมบริหารจัดการพื้นที่ได้
แต่ก็มีส่วนเสีย คือ ไม่อนุญาตให้ประชาชนที่เป็นกลุ่มเครือข่ายป่าชุมชนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมอุทยาน สัตว์ป่าและพรรณพืช เข้าไปดำเนินการใดๆ ได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าเกิดความแตกต่างในสองมาตรฐานดังกล่าวทำให้ประชาชนเครือข่ายป่าฯ ที่ต้องการจะดูแลพื้นที่ป่าในเขตป่าอนุรักษ์ไม่ยอมให้ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ผ่าน
นายเตชะพัฒน์ กล่าวต่อว่า ดังนั้นทางเครือข่ายป่าฯ จึงมาวิเคราะห์สถานการณ์และหาข้อสรุปร่วมกันเพราะหากให้ร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชนฉบับนี้ผ่านไปได้จะทำให้ประชาชนที่ต้องการดูแลพื้นที่ป่าอนุรักษ์ไม่สามารถดำเนินการร่วมบริหารจัดการป่าไม้ได้ดังที่ต้องการ
“ทั้งที่ตามหลักการ ถ้าจะให้ประชาชนเครือข่ายป่าชุมชนฯ ดูแลพื้นที่ป่าจะต้องสามารถดูแลทั้งป่าสงวนแห่งชาติและป่าอนุรักษ์อย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งเรื่องนี้รัฐบาลจะต้องสร้างมาตรฐานให้ได้ ไม่ควรจำกัดสิทธิของประชาชนเพียงเท่านี้ และที่สำคัญเครือข่ายป่าชุมชนฯ จะไม่ทิ้งกันและกัน เครือข่ายป่าชุมชนฯ ที่ได้สิทธิดูแลป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติจะไม่ทิ้งกลุ่มที่ไม่ได้สิทธิดูแลป่าในเขตป่าอนุรักษ์อย่างเด็ดขาด”
นายเตชะพัฒน์ มะโนวงศ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายป่าชุมชนจังหวัดพะเยา กล่าวว่า กรณีการสนับสนุนหรือคัดค้านร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป่าชุมชน ตอนนี้คงต้องชะลอไปชั่วคราว เนื่องจากกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ส่วนดีของร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชนฉบับนี้ คือ การเปิดกว้างให้ประชาชนที่เป็นกลุ่มเครือข่ายป่าชุมชนในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมป่าไม้ สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมบริหารจัดการพื้นที่ได้
แต่ก็มีส่วนเสีย คือ ไม่อนุญาตให้ประชาชนที่เป็นกลุ่มเครือข่ายป่าชุมชนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมอุทยาน สัตว์ป่าและพรรณพืช เข้าไปดำเนินการใดๆ ได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าเกิดความแตกต่างในสองมาตรฐานดังกล่าวทำให้ประชาชนเครือข่ายป่าฯ ที่ต้องการจะดูแลพื้นที่ป่าในเขตป่าอนุรักษ์ไม่ยอมให้ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ผ่าน
นายเตชะพัฒน์ กล่าวต่อว่า ดังนั้นทางเครือข่ายป่าฯ จึงมาวิเคราะห์สถานการณ์และหาข้อสรุปร่วมกันเพราะหากให้ร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชนฉบับนี้ผ่านไปได้จะทำให้ประชาชนที่ต้องการดูแลพื้นที่ป่าอนุรักษ์ไม่สามารถดำเนินการร่วมบริหารจัดการป่าไม้ได้ดังที่ต้องการ
“ทั้งที่ตามหลักการ ถ้าจะให้ประชาชนเครือข่ายป่าชุมชนฯ ดูแลพื้นที่ป่าจะต้องสามารถดูแลทั้งป่าสงวนแห่งชาติและป่าอนุรักษ์อย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งเรื่องนี้รัฐบาลจะต้องสร้างมาตรฐานให้ได้ ไม่ควรจำกัดสิทธิของประชาชนเพียงเท่านี้ และที่สำคัญเครือข่ายป่าชุมชนฯ จะไม่ทิ้งกันและกัน เครือข่ายป่าชุมชนฯ ที่ได้สิทธิดูแลป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติจะไม่ทิ้งกลุ่มที่ไม่ได้สิทธิดูแลป่าในเขตป่าอนุรักษ์อย่างเด็ดขาด”